Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อึดใจหนึ่ง, อึดใจ, หนึ่ง , then หนง, หนึ่ง, อดจหนง, อึดใจ, อึดใจหนึ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อึดใจหนึ่ง, 3542 found, display 1-50
  1. หนึ่ง : น. ตัวเลขตัวแรกของจำนวนนับ; จำนวนเดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เช่น หนึ่งในดวงใจ. ว. เดี่ยว; เป็นเอก, เป็นเลิศ, เช่น เพื่อน ๆ ยกให้เขาเป็น หนึ่งในรุ่น.
  2. อึดใจ : น. เวลาชั่วกลั้นลมหายใจไว้คราวหนึ่ง.
  3. ...ใด...หนึ่ง : ว. ใครก็ได้, อะไรก็ได้, เช่น คนใดคนหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
  4. หนึ่งไม่มีสอง : ว. เป็นเลิศอยู่คนเดียว.
  5. ดวด ๑ : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง เดินแต้มตามเบี้ยที่ทอดได้ไปตามตาตาราง. (ปาก) ก. ดื่มทีเดียวหมด (มักใช้แก่เหล้า). ว. เดี่ยว, หนึ่ง; (ปาก) ทีเดียว.
  6. หลิ่ว : ว. เดี่ยว, หนึ่ง, เช่น นกเขาหลิ่ว คือ นกเขาขันเสียงเดียว.
  7. อ้าย ๑ : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย. (สามดวง); โดยปริยาย อนุโลมเรียกพี่ชายคนโตว่า พี่อ้าย. ว. ต้น, หนึ่ง, ในคำว่า เดือนอ้าย.
  8. กระติ๊ด ๒, กระติ๊ดเดียว, กระติ๊ดหนึ่ง : (ปาก) ว. เล็กน้อย, เล็กนิดเดียว, เช่น เสื้อตัวนี้ติดกระดุมเม็ด กระติ๊ดเดียว ขอเกลือสักกระติ๊ดหนึ่ง, ติ๊ดเดียว หรือ ติ๊ดหนึ่ง ก็ว่า.
  9. ดังหนึ่ง : ว. เสมือนหนึ่ง.
  10. น้ำหนึ่ง : ว. มีคุณสมบัติสูงสุดและมีแสงแวววาวบริสุทธิ์ (ใช้แก่เพชร) เรียกว่า เพชรนํ้าหนึ่ง.
  11. น้ำหนึ่งใจเดียวกัน : (สํา) ว. มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
  12. นิดหนึ่ง : ว. หน่อยหนึ่ง.
  13. มือหนึ่ง : น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนแรก; ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เขาเป็นมือหนึ่ง ทางประวัติศาสตร์.
  14. เหมือนว่า, เหมือนหนึ่งว่า : สัน. ดุจว่า, ประหนึ่งว่า, เหมือนกับว่า, เช่น เขาพูดกับฉันเหมือนว่าฉันเป็นเพื่อนเขา เขารักฉันเหมือนหนึ่งว่าเป็น ลูกในไส้.
  15. ดุจดัง, ดุจหนึ่ง : [ดุด-] ว. เหมือน, คล้าย, เช่น, เพียงดัง, ราวกะ.
  16. ตะหนึ่งรัด : ว. เป็นใหญ่. (ช.).
  17. เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน : ว. พร้อมเพรียงกัน, พร้อมใจกัน.
  18. เพชรน้ำหนึ่ง, เพชรน้ำเอก : (สำ) ว. ดีเป็นพิเศษยอดเยี่ยม.
  19. ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
  20. ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
  21. ท่อน : น. ส่วนที่ตัดหรือทอนออกเป็นตอน ๆ เช่น ท่อนหัว ท่อนกลาง ท่อนหาง, ตอนหนึ่ง ๆ ของเพลงไทย เช่น ท่อน ๑ ท่อน ๒ ท่อน ๓; ลักษณนามเรียกสิ่งที่ตัดแบ่งหรือทอนออกเป็นท่อน ๆ เช่น ฟืนท่อน หนึ่ง ฟืน ๒ ท่อน เพลง ๓ ท่อน.
  22. ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  23. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  24. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  25. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  26. ศก ๒ : น. ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอา เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคําว่า รัตน โกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปี หนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).
  27. หน่วย : [หฺน่วย] น. ตัวเลขหลังสุดของเลขจํานวนเต็มที่เรียงกันเรียกว่า เลขหลัก หน่วย เช่น ๑๔๓ เลข ๓ เป็นเลขหลักหน่วย; จํานวนหรือหมู่ที่นับเป็น หนึ่ง เช่น หน่วยอนุสภากาชาด; ลูกตา ในคําว่า นํ้าตาคลอหน่วย นํ้าตา ล่อหน่วย; ลูก, ผล, เช่น มะม่วง ๓ หน่วย. ว. หนึ่ง (ใช้แก่การพนันถั่ว และโป).
  28. เอก, เอก : [เอกะ, เอกกะ] ว. หนึ่ง (จํานวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้น หรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สําคัญ เช่น ตัวเอก; เรียก ระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสําหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).
  29. เอ็ด ๑ : ว. หนึ่ง (ใช้เรียกจํานวนเลขที่มี ๑ อยู่ท้าย เช่น ๑๑ ว่า สิบเอ็ด ๑๐๑ ว่า ร้อยเอ็ด หรือหนึ่งร้อยเอ็ด).
  30. ใจ : น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
  31. ทวาทศมณฑล : น. กลมโดยรอบครบ ๑๒ ราศี; ชื่อมาตราวัด จักรราศีเท่ากับ ๒ อัฒจักร เป็น ๑ จักรราศี คือ ทวาทศมณฑล หนึ่ง. (ส.).
  32. เบี้ยต่อไส้ : (สํา) น. เงินที่พอประทังชีวิตให้ยืนยาวไปได้ชั่วระยะ หนึ่ง.
  33. วิกัป : [กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คําแสดงความหมาย ให้เลือกเอาอย่างใดอย่าง หนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
  34. จุติ : [จุ-ติ, จุดติ] ก. เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีกกำเนิด หนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา). (ป.; ส. จฺยุติ).
  35. มวย ๓ : ว. หนึ่ง, เดียว. (ข.).
  36. สะตาหมัน : น. สวน. (ช. สะ ว่า หนึ่ง, ตาหมัน ว่า สวน).
  37. แหนง ๒ : [แหฺนง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. พิธีทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่ได้ แต่งงานตลอดไป.
  38. เอ ๑ : ว. หนึ่ง; เปลี่ยว, เดี่ยว, เช่น เอองค์. (ตัดมาจาก เอก).
  39. เอกา, เอ้กา : ว. หนึ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว; ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้า ถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา.
  40. เอี่ยว : ว. หนึ่ง, แต้ม ๑ ของลูกเต๋า, เรียกลําดับชุดที่ ๑ ของไพ่ตองว่า เอี่ยว เช่น เอี่ยวเกือก เอี่ยวชี เอี่ยวยาว. (ปาก) น. หุ้น, ส่วนร่วม. ก. มี ส่วนร่วม เช่น เรื่องนี้ขอเอี่ยวด้วยคน.
  41. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  42. กงไฉ่ : น. ผักกาดเค็มชนิดหนึ่งของจีน. (จ. ก้งไฉ่ ว่า ผักดองเค็ม).
  43. กงพัด ๑ : น. กงสําหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สําหรับ พัดด้าย.
  44. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  45. กงสี : น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
  46. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  47. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  48. กฎหมายปกครอง : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการ ดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครอง กับเอกชน. (อ. administrative law).
  49. กฎหมายรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมาย มหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทาง การเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของ รัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย. (อ. constitutional law).
  50. กฎหมู่ : น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีก ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3542

(0.1705 sec)