Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เคี้ยว , then คยว, เคี้ยว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เคี้ยว, 68 found, display 1-50
  1. เคี้ยว : ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา คด เป็น คดเคี้ยว.
  2. เคี้ยว : ก. บดให้แหลกด้วยฟัน.
  3. เคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคํา เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  4. เคี้ยวเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออกมา เคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า, บดเอื้อง ก็ว่า.
  5. ยาเคี้ยว : (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว.
  6. ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้.
  7. คดเคี้ยว : ว. คดไปคดมา, ลดเลี้ยว, วกไปวกมา.
  8. กิน : ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินน้ำ, ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ; โดยปริยายหมายความว่าเปลือง เช่น กินเงิน กินเวลา, ทําให้หมดเปลือง เช่น รถกินน้ำมัน หลอดไฟชนิดนี้กินไฟมาก; รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้ โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม; ชนะในการพนันบางอย่าง.
  9. กรวบ, กร๊วบ : [กฺรวบ, กฺร๊วบ] ว. เสียงดังเช่นเคี้ยวถูกของแข็ง.
  10. กร้วม : ว. เสียงเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็ง กระทบกันอย่างแรง.
  11. กระจง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
  12. กระดาก ๒ : (กลอน) ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (อะหม ตาก ว่า กระเดาะปาก).
  13. กราม : [กฺราม] น. ฟันที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร.
  14. กรุบ : [กฺรุบ] ว. เสียงดังเช่นนั้นเมื่อเคี้ยวของแข็งที่แตกง่าย. น. ขนมปั้นก้อนชนิดหนึ่ง เรียกว่า ขนมกรุบ; เรียกกะลาอ่อนของมะพร้าวว่า กรุบมะพร้าว.
  15. กล้อมแกล้ม : [กฺล้อมแกฺล้ม] ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กะล่อมกะแล่ม ก็ว่า.
  16. กวาง ๑ : [กฺวาง] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องหลายชนิด ในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์กีบคู่ ลำตัวเพรียว คอและขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีทั้งชนิดมีเขาและไม่มีเขาในเพศเดียวกันหรือต่างเพศ เช่น กวางป่า (Cervus unicolor).
  17. กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
  18. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  19. กะล่อมกะแล่ม : ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กล้อมแกล้ม ก็ว่า.
  20. กุย ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Saiga tatarica ในวงศ์ Bovidae มีถิ่นกําเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ เขามีราคาแพง ใช้ทํายาได้.
  21. เก้ง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล จนถึงน้ำตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดํา (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดํา ที่หัวมีขนลักษณะคล้าย จุกสีเหลืองแซมดํา, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.
  22. แกะ ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในสกุล Ovis วงศ์ Bovidae รูปร่างคล้ายแพะ แต่มีขนเป็นปุยหนา ใช้ทําเครื่องนุ่งห่ม.
  23. ขบฉัน : ก. เคี้ยวกิน (ใช้แก่นักบวช). น. เรียกอาหารการกินของ นักบวชว่า ของขบฉัน.
  24. ขัช, ขัชกะ : [ขัด, ขัดชะกะ] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ขชฺช, ขชฺชก).
  25. ขาทนียะ : [ขาทะ-] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควร บริโภค. (ป.).
  26. ขี้อ้าย : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia triptera Stapf. ในวงศ์ Combretaceae เปลือกชั้นในสีแสด รสฝาด ใช้เคี้ยวกับหมาก, กําจาย ก็เรียก, จันทบุรีเรียก หอมกราย. (๒) ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Walsura วงศ์ Meliaceae คือ ชนิด W. robusta Roxb., W. trichostemon Miq. และ W. villosa Wall.
  27. เข่น : ก. ทุบหรือตีอย่างแรงเพื่อให้แบนเป็นต้น เช่น เข่นมีด. เข่นเขี้ยว ก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  28. ควาย : [คฺวาย] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bubalus bubalis ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ รูปร่างใหญ่ สีดําหรือเทา เขาโค้งยาว ที่ใต้คางและหน้าอก มีขนขาวเป็นรูปง่าม; (ปาก) โดยปริยายมักหมายความว่า คนโง่ คนเซ่อ หรือคนตัวใหญ่ แต่ไม่ฉลาด.
  29. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  30. เงี้ยว ๒ : น. งู เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ).
  31. จามรี : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos grunniens ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์จำพวก วัว ขนยาวมาก ละเอียดอ่อน สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ เฉพาะบริเวณสวาบจะมี สีดําห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบ ภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี ก็เรียก; เรียกแส้ที่ทําด้วยขนหาง จามรีว่า แส้จามรี.
  32. แจะ ๒ : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคี้ยวหมากแจะ ๆ.
  33. ชอน : ก. ไชคดเคี้ยวไปในดินหรือภายในสิ่งอื่นด้วยอาการเช่นนั้น เช่น รากไม้ชอนไปในดิน; พุ่งแยงออกมา (ใช้แก่แสงอย่าง แสงแดดแสงไฟ) เช่น แสงตะวันชอนตา.
  34. ชาน ๑ : น. กากอ้อยหรือกากหมากที่เคี้ยวแล้วเป็นต้น เช่น ชานอ้อย ชานหมาก.
  35. ตะบันน้ำกิน : (สำ) ว. แก่มากจนเคี้ยวของกินไม่ไหว.
  36. น้ำหมาก : น. นํ้าลายของผู้ที่กําลังเคี้ยวหมาก มีสีแดง.
  37. บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
  38. บุบ : ก. ทุบ ตํา หรือเคี้ยวเบา ๆ พอให้เป็นรอยหรือแตก; บู้ลง, บุ๋มลง, เช่น ขันบุบ แก้มบุบ.
  39. ไบ่ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวสิ่งของทําปากเยื้องไปมา.
  40. ผ้าขี้ริ้ว ๑ : น. ชื่อกระเพาะอย่างหนึ่งของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัว ควาย เป็นต้น; ผ้าเก่าขาดที่ใช้เช็ดถูเป็นต้น.
  41. พลาม : [พฺลาม] ว. อาการที่กินอาหารเช่นกล้วยและเคี้ยวปากกว้าง ๆ; แวบวาบ.
  42. แพะ ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Capra hircus ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์ กีบคู่ขนาดกลาง มีความอดทน แข็งแรง และทนทานต่อโรคได้ดี กว่าสัตว์กีบคู่อื่น ๆ สามารถปีนป่ายที่สูงโดยเฉพาะโขดหินหรือ ภูเขาได้ดี ขนหยาบสีดํา ขาว หรือนํ้าตาล มีเขา ๑ คู่ ตัวผู้มีเครา หางสั้น; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาว ช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก.
  43. ฟัน ๒ : น. กระดูกเป็นซี่ ๆ อยู่ในปากสําหรับกัด ฉีกเคี้ยวอาหาร, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฟันเลื่อย ฟันจักร.
  44. มุบ ๆ : ว. อาการของปากที่เผยอขึ้นลงอย่างเร็ว, อาการที่คนไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร เช่น คนแก่เคี้ยวข้าวทำปากมุบ ๆ.
  45. ยาสูบ : น. ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง; (กฎ) บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยว ด้วย.
  46. ย้ำ, ย้ำ ๆ : ก. พูดหรือทําซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมา กัดย้ำแต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.
  47. ยีราฟ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง คอยาว มาก มีเขา ๑ คู่ ตัวสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายสีน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอก หรือเป็นตาราง อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Giraffa camelopardalis.
  48. เรียว ๒ : น. สายสําหรับรั้งใบเรือ, เขียนว่า เลียว ก็มี. (จ. เลี่ยว = ผูก, มัด, พัน, วนเวียนคดเคี้ยว).
  49. ลูกกวาด : น. ของหวานทําด้วยนํ้าตาล มีสีต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเม็ด กลม ๆ แน่นแข็ง บางอย่างมีถั่วเป็นต้นอยู่ข้างใน ใช้เคี้ยวหรืออม ให้ค่อย ๆ ละลายไปเอง.
  50. เลียงผา ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Capricornis sumatraensis ในวงศ์ Bovidae รูปร่างคล้ายแพะ ขนสีดํา บางตัวมีสีขาวแซม ขายาวและแข็งแรง มีต่อมนํ้ามันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง ๒ ข้าง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย พบอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาสูง ๆ, กูรํา โครํา เยือง หรือ เยียงผา ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-68

(0.0653 sec)