เชิง ๑ : น. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา เชิงกําแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.
เชิง ๒ : ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
เชิงกรวย : (กลอน) น. กรวยเชิง เช่น ภูษาเชิงกรวยรูจี. (อิเหนา).
เชิงชั้น : น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, ชั้นเชิง ก็ว่า.
เชิงชาย : น. ไม้เครื่องเรือนรูปแบน สําหรับรับชายคาเรือน ที่ไม่มีกลอน, ถ้าเรือนมีกลอน เรียกว่า เชิงกลอน.
เชิงชายา ๒ : [เชดถา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้าง หรือคอนาค, ดาวเชิงชายะ ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. (ป. เชฏฺ?า; ส. เชฺยษฺ?า).
เชิงเดิน : น. ค่าป่วยการที่วิ่งเต้นทําธุระให้ เรียกว่า ค่าเชิงเดิน.
เชิงทรง : น. เรียกนาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีกว่า นาเชิงทรง, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
เชิงเทิน : น. ที่ดินที่พูนสูงขึ้นเป็นเชิงของป้อมปราการ, พื้นที่ ว่างภายในป้อมสําหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่ตรวจการณ์หรือ ต่อสู้ข้าศึก.
เชิงเวียน : น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง เช่น เอาพระจําเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
เชิงกลอน : น. ไม้ประกับปลายเต้าตลอดชายคาเรือนแบบเก่า; ไม้ประกับปลายจันทันตลอดชายคาเรือนแบบใหม่ที่ไม่มีเต้า.
เชิงกอบ : (โบ) ก. ผูก, มัด, จังกอบ ก็เรียก.
เชิงชายา ๑ : [เชดถา] (กลอน) น. พี่ชาย, คู่กับ กนิษฐา คือ น้องสาว.
เชิงตะกอน : น. ฐานที่ทําขึ้นสําหรับเผาศพ.
เชิงแป : น. แผ่นไม้ที่อยู่ใต้แปหัวเสาตกแต่งให้มีบ่าเพื่อใช้ รองรับกลอน.
แก้เชิง : ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง.
ขันเชิง : น. ขันชนิดที่มีเชิง.
ชั้นเชิง : น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า.
ชิงเชิง : น. ชื่อเศษด้ายที่ตัดออกจากผ้าซึ่งติดอยู่ที่ฟืม. ก. แย่งชั้นเชิงกัน, คอยเอาทีกัน.
ฐานเชิงบาตร : น. ฐานรูปเชิงบัวหน้ากระดาน. (รูปภาพ ฐานเชิงบาตร)
โดยสิ้นเชิง, อย่างสิ้นเชิง : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น เขาพ้นข้อหาโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.
ไม่เชิง : ว. ไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยแน่นอน เช่น จะว่าขี้เกียจก็ไม่เชิง.
รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง : ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
รู้เชิง : ก. รู้กระบวนท่า, รู้ท่าที, รู้กลเม็ด, เช่น มวยคู่นี้ต่างก็รู้เชิงกัน.
ลองเชิง : ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประ หมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.
ไว้เชิง : ก. รักษาทีท่า เช่น ใจจริงก็อยากไป แต่ขอไว้เชิงหน่อย.
หีบเชิงชาย : น. หีบศพพระราชทานสําหรับพระครูสัญญาบัตร ข้าราชการ ชั้นสัญญาบัตรขั้นต้นเป็นต้น เชิงชายทั้ง ๔ ด้านแกะสลักเป็นลายปิดทอง ประดับกระจก.
เอาชั้นเอาเชิง : ก. รอดูชั้นเชิง.
เอาเชิง : ก. สงวนท่าทีหรือชั้นเชิงของตนไว้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เกรงขาม.
ขวางเชิง : ก. ขัดขวางไว้เพื่อไม่ให้ทําได้สะดวก.
คุมเชิง : ก. คอยระวังท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง.
จับเชิง : ก. ตกปลอกช้าง, ล่ามเท้าช้าง.
ถเมินเชิง : น. พลเดินเท้า.
นาเชิงทรง : น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
ประกันเชิงลา : (โบ) ก. ประกันตัวออกมาจากที่คุมขังได้เป็นคราว ๆ คราวละ ๓ วัน หรือ ๗ วัน.
เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
เครื่องทองน้อย : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.
เครื่องห้า ๑ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้ บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า.
เซต : (คณิต) น. คําที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไข ที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ; ชุด เช่น เข้าเซตกัน; ลักษณนามใช้เรียกคนหรือของที่เข้ากลุ่มหรือ เข้าชุดกัน เช่น ตัวหนังสือเซตเดียวกัน ตัวเลข ๒ เซต. (อ. set).
ตัว ๒ : (คณิต) น. เรียกเลขในวิธีทําว่า ตัว เช่น ตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ ตัวหาร. ตัวคูณร่วมน้อย น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนําไปหารด้วยจํานวน เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น. ตัวตั้ง ๒ น. จํานวนเลขที่ตั้งไว้ก่อนสําหรับบวกลบคูณหาร. ตัวประกอบ ๒ น. จํานวนที่เมื่อคูณกันแล้วทําให้เกิดอีกจํานวนหนึ่ง เช่น ๒ x ๓ = ๖ ๒ และ ๓ ต่างเป็นตัวประกอบของ ๖. ตัวแปร น. จํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือ เซตที่กําหนดให้. (อ. variable). ตัวเลข น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง เช่น ๑๒ 53 VIII. (อ. numeral). ตัวหารร่วมมาก น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนําไปหารจํานวน undefined เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหาร ร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
เลขจำนวน : น. ตัวเลข. (ดู ตัวเลข ที่ ตัว๒).
ศูนย, ศูนย์ : [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
สดมภ์ : [สะดม] น. เสา, หลัก; (คณิต) ช่องในแนวตั้งสําหรับกรอกรายการ ต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์สูตร. (ส. สฺตมฺภ; ป. ถมฺภ).
สัตภัณฑ์ ๒ : [พัน] น. ชื่อเชิงเทียน ทำเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ติดไม้กลึงเป็นเชิงเทียน ๗ เชิง กรอบมักทำเป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมา คล้ายกรอบหน้าบัน.
เอกสาร : [เอกกะ] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือ วัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทําให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.
กฎบัตรกฎหมาย : (ปาก) น. กระบวนกฎหมาย, เชิงกฎหมาย.
กรวยเชิง : น. ลายที่ทําเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.
กรอ ๒ : ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางที ก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
กรอง ๓ : [กฺรอง] (กลอน) น. กําไล, โดยมากใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ เช่น กรองเชิง = กําไลเท้า กรองได = กําไลมือ กรองศอ = สร้อยคอ, สร้อยนวม เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา. (อิเหนา). [ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม].