Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เถียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เถียง, 45 found, display 1-45
  1. เถียง : ก. พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง; ขัดกัน เช่น เรื่องนี้ความตอนต้นกับตอน ปลายเถียงกัน.
  2. เถียง : (ถิ่น–อีสาน) น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สําหรับอยู่เฝ้าข้าว.
  3. ต่อล้อต่อเถียง : ว. โต้เถียงกันไปมาไม่หยุดหย่อน.
  4. ทุ่มเถียง : ก. เถียงกันรุนแรงอย่างทะเลาะ.
  5. ถกเถียง : ก. ยกเอาขึ้นมาพูดโต้แย้งกัน.
  6. ท้อ ๓ : (กลอน) ก. กล่าว, โต้, เถียง.
  7. ข้าง ๆ คู ๆ : ว. ออกนอกแนวนอกเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น เถียงไปข้าง ๆ คู ๆ.
  8. ขึ้น ๒ : ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
  9. คอแข็ง : ว. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น; ทนต่อรสอันเข้ม หรือรุนแรงของเหล้าได้, ตรงข้ามกับ คออ่อน.
  10. คอเป็นเอ็น : (สํา) ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น. (คาวี).
  11. งัดข้อ : ก. เกร็งแขนขัดกัน แล้วออกกําลังกดให้แขนอีกฝ่ายหนึ่งล้มลง, โดยปริยายหมายความว่า โต้เถียงกัน, มีความเห็นขัดแย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน.
  12. จุด : น. รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; ขีด, ระดับ, ขั้น, เช่น จุดเดือด จุดเยือกแข็ง, ที่ เช่น จุดหมาย จุดประสงค์; ประเด็น สําคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบ ไม่ตรงจุด. ก. ทําเครื่องหมายเช่นนั้น เช่น เอาปลายดินสอจุดไว้; ทําให้ไฟติด เช่น จุดบุหรี่ จุดไฟ.
  13. ฉอด ๆ : ว. อาการที่พูดหรือเถียงไม่หยุดปาก เช่น พูดฉอด ๆ เถียงฉอด ๆ.
  14. ตกฟาก : ก. เกิด, เรียกเวลาที่เด็กออกพ้นครรภ์มารดาว่า เวลาตกฟาก (พื้นเรือนโบราณโดยมากเป็นฟาก); โดยปริยายใช้ในลักษณะที่พูดคํา เถียงคําไม่หยุดปากว่า เถียงคําไม่ตกฟาก.
  15. ต่อนัดต่อแนง, ต่อนัดต่อแนม : ก. ต่อราคาของเล็ก ๆ น้อย ๆ; เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รู้จักจบ.
  16. ต่อปากต่อคำ, ต่อปากหลากคำ : ก. เฝ้าเถียงกันไม่รู้จักจบ, พูดยันกันเพื่อพิสูจน์ความ.
  17. ตะบัน ๑ : น. เครื่องตําหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทําด้วยทองเหลือง มีลูกตะบัน สําหรับตําและมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกด ลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คําประกอบกริยาหมายความ ว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน. (รูป ภาพ ตะบัน)
  18. ตะบี้ตะบัน : (ปาก) ว. ซํ้า ๆ ซาก ๆ, ไม่รู้จักจบจักสิ้น, ไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เถียงตะบี้ตะบัน.
  19. ตะแบง ๑ : ว. อาการที่พูดหรือเถียงเฉไฉหรือดันไปข้าง ๆ คู ๆ.
  20. ทะเลาะ : ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน.
  21. ประแกก : ก. แตกร้าวกัน, วิวาทกัน. (ข. ปฺรแกก ว่า เถียงกัน).
  22. ปักษเภท : [ปักสะเพด] น. ความแตกต่างระหว่าง ๒ ฝ่ายที่โต้เถียงกัน.
  23. ปากแข็ง : ว. พูดยืนยันหรือเถียงอย่างดื้อดันไม่ยอมจํานนข้อเท็จจริง.
  24. ปากจัด : ว. ชอบพูดจาหรือโต้เถียงด้วยถ้อยคําแข็งกร้าวไม่สุภาพ, ด่าเก่ง, ชอบพูดจาหยาบคาย.
  25. ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
  26. เป็นปากเสียง : ก. โต้เถียง เช่น เป็นปากเสียงกัน, พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น หนังสือพิมพ์เป็นปากเสียงของประชาชน, เป็นปากเป็นเสียง ก็ว่า.
  27. ภัณฑนะ : [พันดะนะ] (แบบ) น. การทะเลาะ, การทุ่มเถียง, การแก่งแย่ง. (ป.; ส. ภณฺฑน, ภาณฺฑน).
  28. มีปากมีเสียง : ก. ทะเลาะกัน, ทุ่มเถียงกัน.
  29. มีเสียง : ก. เถียง, มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่ามีเสียงนะ.
  30. มุบมิบ : ว. ปิดบังไม่ให้คนอื่นรู้, อาการที่เถียงหรือบ่นโดยอ้าปากขึ้นลงเล็กน้อย ไม่ให้ได้ยิน.
  31. ไม่ลดราวาศอก : ก. ไม่ยอมผ่อนปรน เช่น เถียงไม่ลดราวาศอก.
  32. ลดราวาศอก : ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดรา วาศอก เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง.
  33. ลอยหน้า, ลอยหน้าลอยตา : ก. ทำหน้าเชิดไปมา, โดยปริยาย หมายความว่า มีลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทำผิด แล้วยังมาลอยหน้าเถียงอีก.
  34. ละลด : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
  35. ลับปาก, ลับฝีปาก : ก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปาก ไว้คอยท่า. (ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว.
  36. ลิ้นกระด้างคางแข็ง : ก. อาการลิ้นแข็งขยับขากรรไกรไม่ได้. (สำ) ว. ก้าวร้าวโต้เถียงไม่ลดละ เช่น ลิ้นกระด้างคางแข็งแกล้งว่าขาน. (ขุนช้างขุนแผน); มึนตึงไม่ยอมพูดจาโต้ตอบ.
  37. เล่าเรียน : ก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหา ความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.
  38. วิคหะ : [วิกคะ] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว; การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
  39. วิประลาป, วิปลาป : [วิปฺระลาบ, วิบปะ] น. การพูดเพ้อ, การพูดพรํ่า; การทุ่มเถียง, การโต้ตอบ; การอ้อนวอน, การพรํ่าบ่น. (ป. วิปฺปลาป; ส. วิปฺรลาป).
  40. สงบปากสงบคำ : ก. นิ่ง, ไม่พูด, เช่น เขาเป็นคนสงบปากสงบคำ, ไม่โต้เถียง เช่น สงบปากสงบคำเสียบ้าง อย่าไปต่อล้อต่อเถียงเขาเลย.
  41. หน้าดำหน้าแดง : ว. อาการที่ใช้วาจาโต้เถียงกันเพราะมุ่งที่จะเอาชนะ อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น แม่ค้าเถียงกันหน้าดำหน้าแดง.
  42. หน้าแหก : (ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะ ผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น.
  43. หือ ๒ : ก. เถียง, คัดค้าน, เช่น อย่ามาหือนะ เขาไม่กล้าหือ.
  44. หือไม่ขึ้น : ก. เถียงไม่ได้, คัดค้านไม่ได้, ไม่กล้าเถียง, ไม่กล้าคัดค้าน.
  45. เอาเป็นเอาตาย : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หรือความยากลําบาก เช่น ทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย; เอาจริงเอาจัง อย่างรุนแรง เช่น เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เถียงกันเอาเป็นเอาตายไปได้.
  46. [1-45]

(0.0130 sec)