Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เบิก , then บก, เบิก, เปิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เบิก, 149 found, display 1-50
  1. เบิก : ก. เปิด ใช้ในลักษณะอย่างเปิดผ้าคลุมบายศรีออก เรียกว่า เบิก บายศรี, ทําให้กว้าง เช่น เบิกถนนออกไป เบิกท้องร่อง; ขอให้ จ่าย เช่น เบิกเงิน เบิกของ; นําเข้าเฝ้า เช่น เบิกตัว.
  2. เบิก : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับเลข ๕, เขียนเป็น เปก ก็มี.
  3. เบิกทาง : น. เรียกหนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่านว่า หนังสือ เบิกทาง หรือ ใบเบิกทาง.
  4. เบิกพระเนตร : ก. เปิดตา, เป็นคําใช้สําหรับพิธีฝังหรือเขียนพระเนตร พระพุทธรูป ซึ่งถือว่าเมื่อได้เบิกพระเนตรแล้วจึงเป็นองค์พระโดย สมบูรณ์.
  5. เบิกความ : (กฎ) ก. ให้ถ้อยคําต่อศาลในฐานะพยาน.
  6. เบิกทูต : ก. นําทูตเข้าเฝ้า.
  7. เบิกบาน : ว. แช่มชื่น, สดใส.
  8. เบิกพยาน : (กฎ) ก. นําพยานมาให้ถ้อยคําต่อศาล.
  9. เบิกพระโอษฐ์ : (ราชา) น. พิธีป้อนนํ้าโดยใช้ช้อนทองคำตักน้ำ พระมหาสังข์ใส่พระโอษฐ์พระราชกุมารหรือพระราชกุมารีเป็น ครั้งแรกในพระราชพิธีสมโภช ๓ วัน.
  10. เบิกไพร : ก. ทําพิธีก่อนจะเข้าป่า.
  11. เบิกไม้ : น. พิธีเซ่นผีป่าหรือรุกขเทวดาก่อนจะตัดไม้ใหญ่ในป่าสูง.
  12. เบิกเรือ : ก. ถ่างเรือที่ขุดเป็นรูปร่างแล้วให้ปากผายออกโดยวิธี สุมไฟให้ร้อน.
  13. เบิกโรง : ก. แสดงก่อนดําเนินเรื่อง, แสดงออกโรงครั้งแรก.
  14. เบิกแว่นเวียนเทียน : ก. เริ่มทําพิธีจุดเทียนที่ติดบนแว่นเวียนเทียน แล้วส่งกันต่อ ๆ ไปโดยรอบในการทําขวัญ.
  15. เบิกอรุณ : (แบบ) ว. เช้าตรู่, เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง, (ใช้แก่เวลา).
  16. กระเบิก : (กลอน) ก. เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก ก็เกริกกระเบิกหาวหบ. (อนิรุทธ์).
  17. บก : น. ส่วนของผิวพื้นโลกที่ไม่ใช่ทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น, ภาค พื้นดิน เช่น ทหารบก ทางบก, ที่ที่แห้ง, ที่ที่พ้นจากนํ้า, เช่น ขึ้นบก
  18. เปิก : ว. ปอกหรือเลิกออก เช่น เล็บเปิก หนังเปิก.
  19. เปก ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับ เลข ๕, เขียนเป็น เบิก ก็มี.
  20. เผนิก : [ผะเหฺนิก] ก. เบิก.
  21. เพิก ๒ : ก. ถอน, ถลกออก, เบิก.
  22. ขุด : ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่ ต้องการ เช่น ขุดหลุม; เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือ ให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขุดเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาพูด, ขุดคุ้ย หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
  23. เคร่งขรึม : ว. ไม่เบิกบาน, ไม่เล่นหัว, เอาจริงเอาจัง.
  24. งั่ง ๑ : น. รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด, เรียก พระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทําพิธีเบิกพระเนตร.
  25. แฉ่ง : ว. ใช้ประกอบอาการของยิ้มหรือหน้าที่ร่าเริงเบิกบาน เช่น ยิ้มแฉ่ง หน้าแฉ่ง. น. เครื่องตีประกอบจังหวะทําด้วยโลหะ รูปอย่างม้าล่อ.
  26. ชื่น ๑ : ก. แจ่มใส เช่น หน้าค่อยชื่นขึ้น. ว. เบิกบาน, ยินดี, เช่น ชื่นใจ ชื่นตา.
  27. ชื่นบาน : ว. เบิกบาน.
  28. แช่มชื่น : ว. มีสีหน้าแจ่มใสเบิกบาน.
  29. ซบเซา : ว. หงอยก๋อย, เงียบเหงา, ไม่เบิกบาน; ไม่คึกคักเช่นเดิม เช่น ตลาดการค้าเดี๋ยวนี้ซบเซาไป.
  30. ซึม : ก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.
  31. ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
  32. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  33. ถอนเงิน : ก. เบิกเงินที่ฝากไว้ในธนาคารออกมา.
  34. ถั่งถ้อย : (กลอน) ก. พูดพลั่ง ๆ ออกมา, เบิกความ.
  35. ถ่างตา : ก. พยายามเบิกตาให้กว้าง.
  36. บันเทิง : ก. เบิกบาน, รื่นเริง; ทําให้รู้สึกสนุก เช่น รายการบันเทิง, บำเทิง หรือ ประเทิง ก็ว่า.
  37. บาน ๒ : น. ของที่เป็นแผ่น ๆ บางอย่าง เช่น บานประตู บานหน้าต่าง บาน กระจกเงา; ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจกบานหนึ่ง หน้าต่าง ๒ บาน. ก. เผยออก, คลี่ออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้ บาน หอบซี่โครงบาน; กระจาย เช่น เรือแล่นจนนํ้าบาน. ว. ที่ ผายออก เช่น ชามปากบาน กางเกงขาบาน กระโปรงบาน; ปลาบปลื้ม, แช่มชื่น, เบิกบาน, เช่น ใจบาน หน้าบาน; (ปาก) มาก เช่น เสียไปบาน.
  38. บานเกล็ด : น. บานหน้าต่างหรือบานประตูซึ่งใช้ไม้หรือกระจก แผ่นเล็ก ๆ พาดขวางซ้อนเหลื่อมกันเป็นเกล็ด บางชนิดดึงหรือ หมุนให้เกล็ดเหล่านั้นเปิดปิดได้พร้อม ๆ กัน. บานตะเกียง, บานตะโก้, บานตะไท, บานเบอะ, บานเบิก,
  39. บำเทิง : ว. บันเทิง, เบิกบาน, รื่นเริง, ยินดี.
  40. ใบเบิก : น. หนังสือเบิกสิ่งของต่าง ๆ.
  41. ใบเบิกทาง : (ปาก) น. หนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่าน, หนังสือเบิกทาง ก็เรียก.
  42. ประจัน : ก. กั้นเป็นส่วนสัด เช่น ฝาประจันห้อง; ประชัน, ประเชิญ, เผชิญ, เช่น หันหน้าประจันกัน; เรียกไม้ที่ใช้คํ้าแคมเรือที่เบิกได้ที่แล้วเพื่อ ไม่ให้หุบว่า ไม้ประจัน.
  43. ประโลประเล : ก. เล้าโลม, ปลอบโยนเอาอกเอาใจ. ก. ทําให้เป็นที่เบิกบานพึงอกพึงใจ.
  44. ประโลม : ก. ทําให้เป็นที่เบิกบานพึงอกพึงใจ.
  45. ปลื้ม : [ปฺลื้ม] ก. เบิกบานยินดีมาก.
  46. ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
  47. พุทธ, พุทธ, พุทธะ : [พุด, พุดทะ] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็น พระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญ ว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).
  48. เพลินใจ : ก. เบิกบานใจ.
  49. โพลง : [โพฺลง] ว. สว่างแจ้ง, ลุกสว่าง, เช่น ไฟลุกโพลง สว่างโพลง; ใช้ ประกอบกับคํา ขาว เป็น ขาวโพลง หมายความว่า ขาวมาก, ขาว ทั่วทั้งหมด, (ใช้แก่ผม) เช่น ผมหงอกขาวโพลงไปทั้งหัว, โพลน ก็ว่า; ลักษณะที่เบิกกว้าง เช่น ตาลุกโพลง ลืมตาโพลง.
  50. ฟ้องกลับ : (ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจําเลยในคดีอาญา ด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิก ความเท็จ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-149

(0.0621 sec)