เปล่ง : [เปฺล่ง] ก. ฉายออก, แผ่ออก, เช่น เปล่งรัศมี, ออกเสียง เช่น เปล่งเสียง. ว. แจ่มใส, สุกใส.
รัศมี : น. แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง, แสงสว่าง; เส้นที่ลากจากจุด ศูนย์กลางของวงกลมไปถึงเส้นรอบวง. (ส.; ป. รํสิ).
เกตุมาลา : [เก-ตุมาลา, เกดมาลา] น. พระรัศมีซึ่งเปล่งอยู่ เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า. (ป.).
กระแสง ๒ : น. แสง, รัศมี; สี.
จาตุรนต์รัศมี : น. ผู้มีรัศมีแผ่ไปในทิศทั้ง ๔ คือ พระอาทิตย์. (ส.).
อาภา : น. แสง, รัศมี, ความสว่าง. (ป., ส.).
อุษณรัศมี : ว. มีรัศมีร้อน หมายถึง พระอาทิตย์, คู่กับ สีตลรัศมี มี รัศมีเย็น หมายถึง พระจันทร์.
ปลง : [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับ คําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
หิรัณยรัศมี : [หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).
ปลั่ง : [ปฺลั่ง] ว. ผ่องใส, มีนํ้านวล, มักใช้เข้าคู่กับคำ เปล่ง เป็น เปล่งปลั่ง.
กระกร : (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
ฉัพพรรณรังสี : [ฉับพันนะ-] (แบบ) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือ หงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).
นารา : (แบบ) น. รัศมี. (ป.).
ภัสสร : [พัดสอน] น. แสงสว่าง, รัศมี. (ป.).
ภา : น. แสงสว่าง, รัศมี. (ป., ส.).
มยูขะ : น. รัศมี. (ป., ส.).
อังศุ : น. สาย, ทาง, เส้น, แถว; แสง, รัศมี. (ส. อํศุ; ป. อํสุ).
กระอุ : (กลอน) ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น กระอุอุระประปราณ. (สมุทรโฆษ; สรรพสิทธิ์), หนึ่งรัศมีพระสุริยเย็น รัศมีพระจันทร์ เป็น กระอุแลกลับร้อนรน. (อภิไธยโพธิบาทว์), ใช้เป็น กระอุก หรือ ประอุก ก็มี.
กรี๊ด : ว. อาการที่เปล่งเสียงร้องดังเช่นนั้นด้วยความตกใจหรือโกรธเป็นต้น.
กรี๊ดกร๊าด : ว. อาการที่เปล่งเสียงร้องอุทานแสดงความพอใจเป็นต้น.
กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
กล่องเสียง : น. อวัยวะสำคัญในการเปล่งเสียงพูด ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของหลอดลม.
กัด ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens ในวงศ์ Anabantidae ทํารังเป็นหวอดที่ผิวน้ำ ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัว ให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
กู่ ๒ : ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
ชโย : [ชะ] น. ความชนะ. (คําเดียวกับ ชัย). อ. คําที่เปล่งเสียง อวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
ชะ ๒, ชะชะ : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะช้า หรือ ชัดช้า ก็ว่า.
ชะช้า : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ หรือ ชัดช้า ก็ว่า.
ชะต้า : (แบบ) อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขา เป็นหญิงยังทำได้. (ขุนช้างขุนแผนแจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี.
ชัดช้า : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ หรือ ชะช้า ก็ว่า.
ชิ, ชิชะ, ชิชิ : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น.
โชติรส : [โชติ] น. แก้ววิเศษชนิดหนึ่งมีรัศมีรุ่งเรือง. (ป.).
ไชโย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความดีใจหรืออํานวยพรเป็นต้น.
แซ่ซ้อง : ก. เปล่งเสียงแสดงความนิยมยินดีหรือสรรเสริญกันทั่วไป.
ดารา : น. ดาว, ดวงดาว; เรียกบุคคลที่แสดงนําหรือมีชื่อเสียงในศิลปะการแสดงใน ทางใดทางหนึ่ง เช่น ดาราภาพยนตร์; เครื่องประกอบราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ ชั้นทวีติยาภรณ์ขึ้นไป มีลักษณะเป็นดาวรัศมี ๘ แฉกบ้าง ๑๖ แฉกบ้าง, ถ้าเป็นดาราจักรี ก็ทําเป็นรูปจักร ๑๐ กลีบ. (ป., ส. ตารา).
ดูดู๋, ดูหรู : (กลอน) อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแค้นใจ.
ดูรึ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ.
ดูหรือ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้.
โถ ๒ : อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจเป็นต้น.
ทุด : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
เทววาจิกะ : ว. ที่ทําด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียก สรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.
ธนิต : ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).
โธ่ : อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรําคาญใจเป็นต้น. (ตัดมาจาก พุทโธ่).
น้อยหรือ : ว. คําแสดงความหมายว่า มาก; คําเปล่งแสดงความไม่พอใจ เช่น น้อยหรือทําได้, ตัดพ้อต่อว่าด้วยความเอ็นดู เช่น น้อยหรือช่างว่า.
บดบัง : ก. บังแสง, บังรัศมี.
บริราช : [บอริราด] ก. ส่องแสงทุกด้าน, ฉายรัศมีโดยรอบ. (ส. ปริราช).
บ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, อุบ๊ะ ก็ว่า.
บันลือ : ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.
ประภามณฑล : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป.