เมล็ด : [มะเล็ด] น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เมล็ดมะม่วง เมล็ดมะปราง, เม็ด ก็ว่า. (แผลงมาจาก เม็ด).
พันธุ, พันธุ์ : น. พวกพ้อง, เชื้อสาย, วงศ์วาน; เทือกเถา, เหล่ากอ; เชื้อ เช่น ข้าว เก็บไว้ทำพันธุ์ พันธุ์ข้าว. (ป., ส.).
กรัน ๒ : [กฺรัน] น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa sapientum L. ผลสั้นป้อม มีเมล็ดมาก, กล้วยเต่า ก็เรียก.
กล้วย ๑ : [กฺล้วย] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น ๒ จําพวก จําพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก,จําพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา.
กัญญา ๓ : [กันยา] น. เรียกข้าวเหนียวดําพันธุ์หนึ่งที่เมล็ดดําเป็นมันว่า ข้าวกัญญา.
ขนุนสำปะลอ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus altilis Fosberg ในวงศ์ Moraceae ใบใหญ่เป็นแฉก ๆผลมีเมล็ดมาก กินได้ พันธุ์ที่ผล ไม่มีเมล็ด เรียก สาเก เนื้อกินได้.
ข้าว : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae โดยเฉพาะ ชนิด Oryza sativa L. เมล็ดเป็นอาหารหลัก มีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว.
ข้าวเจ้า : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ดใส ใช้หุงเป็นอาหาร เมื่อหุงแล้วเมล็ดมักร่วนและสวย มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวมันปู. (ไทยใหญ่ เจ้าว่า เปราะ, ร่วน, ไม่เหนียว).
ข้าวเหนียว : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิ และนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและ นํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอา มานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.
ข้าวเหนียวดำ : น. ชื่อข้าวเหนียวพันธุ์หนึ่งเมล็ดสีดํา ๆ.
ไข่ ๒ : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลเล็ก เปลือกบาง ไม่มีเมล็ด บางพันธุ์มีกระที่เปลือก.
จำปาดะ :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus integer (Thunb.) Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน กินได้; เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีจําปา เนื้อนุ่ม ว่า ขนุนจําปาดะ. (ดู ขนุน๑).
ไถกลบ : ก. ไถให้ดินปิดทับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านลงไปเมื่อไถแปรเสร็จ แล้ว (ใช้แก่การทํานาหว่าน).
น้ำดอกไม้ ๒ : น. (๑) ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ; ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก.
บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
พืช : น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป, พืชพันธุ์ ก็ใช้. (ป. พีช; ส. วีช); พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ, พืชพรรณ ก็ใช้.
พืชพันธุ์ : น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป; (โบ; กลอน) กําพืด เช่น ด้วยพืชพันธุ์มันไม่น่าจะอาลัย. (ขุนช้างขุนแผน).
ฟัก ๑ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. ในวงศ์ Cucurbitaceae ผลใหญ่รูปกลมหรือรี เมื่อแก่ผิวแข็งมีคราบขาว กินได้ เมล็ดใช้ทํายา มีหลายพันธุ์ ต่างกันที่ลักษณะของผล, พันธุ์ผลเล็ก ผิวบางมีขน เรียก แฟง, พันธุ์ที่ผลมีรสขม ใช้ทํายาได้ เรียก ฟักขม.
ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
ลำโพง ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Datura metel L. ในวงศ์ Solanaceae ผลมีหนาม เมล็ดกินเมา, พันธุ์ดอกซ้อนเรียก ลําโพงกาสลัก (D. metel L. var. fastuosa Safford); เรียกสิ่งซึ่งมีรูปคล้ายดอกลําโพง เช่นเครื่องช่วย ขยายเสียงที่มีลักษณะปากบานเหมือนดอกลำโพง.
เล็บมือนาง ๒ : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Quisqualis indica L. ในวงศ์ Combretaceae ดอกแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง กลิ่นหอม ออก เป็นช่อ เมล็ดใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa acuminata Colla ผลเล็กอย่างนิ้วมือ.
สปอร์ : น. หน่วยขยายพันธุ์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่คล้ายเมล็ดพืชแต่ไม่มีเอ็มบริโอ เมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสมจะเจริญเป็นต้นใหม่ได้. (อ. spore).
สละ ๒ : [สะหฺละ] น. ชื่อปาล์มชนิด Salacca edulis Reinw. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอคล้ายระกํา ผลสีคลํ้า ไม่มีหนาม เนื้อสีขาวหนาล่อน รสหวาน (เทียบ ม. salak); ชื่อระกําพันธุ์หนึ่ง ส่วนมากผลมีเมล็ดเดียว.
สาเก : น. ชื่อเรียกขนุนสําปะลอพันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด. (ดู ขนุนสําปะลอ ที่ ขนุน๑). (เทียบทมิฬ sakki ว่า ขนุน).
หอม ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอมหัว หรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียกผิดเป็น หอมแดง. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลยาว กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด.
ข้าวแดง, ข้าวเมล็ดแดง : น. เมล็ดข้าวที่มีปลอกรำสีแดงหุ้มอยู่ร้อยละ ๒๕ ของเนื้อที่เมล็ดข้าวหรือมากกว่า.
เจริญพันธุ์ : ว. มีความสามารถในการสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์.
ประสมพันธุ์ : ก. ผสมพันธุ์.
ผสมพันธุ์ : ก. สืบพันธุ์, คัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพมาผสมกัน, ประสมพันธุ์ ก็ว่า.
พ่อพันธุ์ : น. สัตว์ตัวผู้ที่ใช้ผสมพันธุ์.
เล็ด : น. เม็ด, เมล็ด, เรียกเม็ดหรือเมล็ดผลไม้ที่มีขนาดเล็กโดยเฉพาะ บางชนิด บางทีหมายถึงส่วนในของเมล็ด. ก. ลอดออกแต่น้อย เช่น นํ้าตาเล็ด.
เผ่าพันธุ์ : น. เชื้อสาย.
พงศ์พันธุ์ : น. พวกพ้องที่เนื่องมาแต่วงศ์. (ส.).
พรหมพันธุ์ : น. ''วงศ์พรหม'' คือพราหมณ์โดยตระกูล คือ พราหมณ์ เลว. (ส.).
เม็ด ๑ : น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า; ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็น ก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมี ยอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุก ที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.
กาสามปีก : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Vitex peduncularis Wall. ex Schauer ในวงศ์ Labiatae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทํายาได้, กาจับหลัก หรือ ตีนนก ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Flemingia sootepensis Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria striata Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเล็กมาก สีม่วง รูปดอกถั่ว ฝักมี ๘-๑๐ เมล็ด. (๔) ดู ตีนนก(๑).
ข้าวฟ่าง : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในวงศ์ Gramineae คือ ข้าวฟ่าง หางหมา [Setaria italica (L.) Pal.] ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร เมล็ด ขนาดเมล็ดงา และข้าวฟ่างสมุทรโคดม หรือข้าวฟ่างหางช้าง [Sorghum bicolor (L.) Moench.] ต้นสูงประมาณ ๒ เมตร เมล็ด ขนาดเมล็ดพริกไทย.
บุหรี่พระราม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Neoalsomitra sarcophylla Hutch. ในวงศ์ Cucurbitaceae มีมือเกาะ ดอกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบ กลีบดอก ติดกันเป็นรูปปากแตรบาน ๆ ผลเรียวยาวคล้ายกระบองกลม หรือเป็นสามเหลี่ยม เวลาแก่ผลจะแตกที่ปลายเป็น ๓ ช่อง เมล็ด สีดํา แบน มีปีกบาง ๆ ที่ปลาย.
เป๋าฮื้อ ๒ : น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus abalonus Han ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มโคนก้านดอกติดกัน ดอกเห็ดเนื้อหนา มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์สีเทาดํา และ พันธุ์สีนํ้าตาลอ่อน กินได้.
ฝ้าย : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Gossypium วงศ์ Malvaceae เมล็ด ให้นํ้ามัน ปุยหุ้มเมล็ดใช้ทอผ้า เปลือกรากใช้ทํายาได้ ที่ปลูกกัน มากคือ ชนิด G. hirsutum L.
มะม่วงหิมพานต์ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Anacardium occidentale L.ในวงศ์ Anacardiaceae ผลรูปคล้ายไต เปลือกแข็ง มีเมล็ดอยู่ภายในคั่วแล้วกินได้ ยางเป็นพิษ ก้านผลอวบนํ้า ลักษณะคล้ายผลชมพู่, คนทั่ว ๆ ไปมักเข้าใจว่าก้านผลนี้คือ ผล ส่วนผลรูปคล้ายไตคือ เมล็ด.
รัก ๑ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Calotropis gigantea (L.) Aiton f. ในวงศ์ Asclepiadaceae ดอกใช้ร้อยกรอง มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกลา และ พันธุ์ดอกซ้อน ยางเป็นพิษ. (เทียบ ส. อรฺก; ป. อกฺก). (๒) ชื่อไม้ต้น ชนิด Gluta usitata (Wallich) Ding Hou ในวงศ์ Anacardiaceae ยาง เป็นพิษ ใช้ลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า นํ้ารัก. (เทียบ ส. ลากฺษ).
หัวล้าน ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Merremia peltata Merr. ในวงศ์ Convolvulaceae เมล็ด มีขนตามข้าง ๆ คล้ายหัวล้าน เรียก ลูกหัวล้าน.
กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
กบ ๕ : น. (๑) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล Geodorum วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่า ใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก.
กรอก ๒ : น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทา อมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
กระ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำ เกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมี เนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้ว กินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
กระจาบ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Ploceidae มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดา หรือ กระจาบอกเรียบ (Ploceus philippinus) กระจาบอกลาย (P. manyar) ทำรังด้วยหญ้าห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือพืชน้ำ ปากรัง อยู่ด้านล่าง และ กระจาบทอง (P. hypoxanthus) ทํารังด้วยหญ้า โอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ด้านล่าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช.
กระจายหางดอก : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตําละลาย กับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. (กบิลว่าน).
กระจี้ : (ถิ่น-โคราช) น. เมล็ดของต้นแสลงใจ.