เร็ว, เร็ว ๆ : ว. ไว เช่น กินเร็ว หายเร็ว ๆ, รีบ เช่น เร็วเข้า เร็ว ๆ หน่อย, ด่วน, ไม่ ชักช้า, เช่น ขอให้มาโดยเร็ว.
เร็ว ๆ นี้ : ว. ไม่นาน (ใช้แก่อดีต) เช่น เขามาถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาเพิ่งบรรลุ นิติภาวะเร็ว ๆ นี้, ไม่ช้า (ใช้แก่อนาคต) เช่น เขาจะมาถึงเร็ว ๆ นี้ เขาจะ แต่งงานเร็ว ๆ นี้.
โชน : ว. อาการที่ไหม้ทั่วเต็มที่ เช่น ไฟลุกโชน; แรง, เร็ว, เช่น ไหลโชน พุ่งโชน.
ซั้น : ว. นั้น; รีบ, เร็ว, ถี่, ติด ๆ กัน.
ถับ, ถับ ๆ : ว. ทันใด, เร็ว, พลัน.
รัย : ว. รยะ, เร็ว, ไว. (ป., ส. รย).
ลหุ : [ละ] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัว สะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ? แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ?แทน.
ม้าเร็ว : น. คนขี่ม้าซึ่งกองทัพจัดไว้สําหรับสืบเหตุการณ์ข่าวคราวของข้าศึก แล้วต้องรีบมาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ในกองทัพของตน.
เรือเร็วโจมตี : น. เรือรบขนาดเล็กระวางขับน้ำประมาณ ๓๐๐๖๐๐ ตัน มีความเร็วสูงตั้งแต่ ๒๕ นอตขึ้นไป มีอาวุธที่มีอำนาจในการทำลายสูง หลายประเภทขึ้นอยู่กับภารกิจของเรือนั้น ๆ เช่น ปืน อาวุธนำวิถีระยะ ปานกลางหรือระยะไกล.
ละหลัด : ว. หลัด ๆ, เร็ว ๆ.
สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ : ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิต ออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคล ผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือน เจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
ขยิก : [ขะหฺยิก] ว. เร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น เกาขยิก ๆ.
จักรผัน : [จัก-] ว. เร็ว.
แจ้น : ก. รีบไปหา เช่น แจ้นไปหา. ว. เร็ว เช่น วิ่งแจ้น.
ชัพ : [ชับ] (แบบ) ว. เร็ว. (ป., ส. ชว).
เชาว์ : ว. เร็ว. (แผลงมาจาก ป., ส. ชว).
ถะถั่น : (กลอน) ว. เร็ว ๆ, พลัน ๆ; เป็นหลั่น ๆ.
ถั่น ๆ : ว. เร็ว ๆ, พลัน ๆ; เป็นหลั่น ๆ.
ระเร็ว : ก. ว่องไว. ว. เร็ว ๆ.
เรี้ย ๆ : ว. เร็ว ๆ เช่น กระรอกไต่ไม้เรี้ย ๆ.
ลฆุ : ว. เบา, เร็ว. (ส.; ป. ลหุ).
หลุน ๆ : ว. เร็ว ๆเช่น ก้อนหินตกจากยอดเขากลิ้งหลุน ๆ ลงมา เด็กวิ่งหลุน ๆ หัวซุกหัวซุน.
กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
กระจอกเทศ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus ในวงศ์ Struthionidae ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกําเนิด ในทวีปแอฟริกา.
กระแจะ ๓ : น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิด อย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่ สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจาก ปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้าง ข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อ ช้างจะได้ลาก ช้างกําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกที จนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือ กำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.
กระโจน : ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว, เผ่นข้ามไป, โจน ก็ว่า.
กระชาก : ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง, โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
กระเด็น : ก. เคลื่อนจากที่เดิมหรือแตกแยกจากที่เดิมออกไปโดยเร็ว เพราะกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง.
กระต่ายเต้น : น. เพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงเร็ว, ถ้ารับร้องเป็นเพลง ๒ ชั้น.
กระตุก : ก. ชักเข้ามาโดยเร็วทันที, งอเข้ามาโดยเร็ว, เช่น ขากระตุก, อาการที่กล้ามเนื้อหดและยืดตัวขึ้นมาเองทันที.
กระทก : ก. กระตุก เช่น เงื่อนกระทก, กระตุกเร็ว ๆ เช่น กระทกข้าว คือ เอาข้าวใส่กระด้งร่อนพลางกระตุกพลาง เพื่อให้กากข้าว แยกจากข้าวสาร.
กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
กระวูดกระวาด : ว. กระวีกระวาด, ทําโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด.
กระหมุบกระหมิบ : ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและ หุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
กระหวัด : ก. ตวัด, วัดเข้ามาโดยเร็ว, รัดรึง; ย้อน เช่น เจ้าหวนคิดกระหวัดวน. (พากย์นางลอย).
กราก : [กฺราก] ก. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าไป. ว. รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก; เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไปว่า สวยกราก เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก, แข็งอย่างผ้าลาย ที่ยังไม่ได้ซักหรือผ้าที่ลงแป้งจนแข็ง; เสียงอย่างเสียงลากกิ่งไม้.
กรู ๑ : [กฺรู] ว. อาการที่ไปพร้อม ๆ กันโดยเร็ว เช่น วิ่งกรูกันไป.
กล่อมมดลูก : ก. เร่งให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นโดยการประคบบริเวณท้อง.
กะพริบ : [-พฺริบ] ก. ปิดและเปิดหนังตาโดยเร็ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ไฟกะพริบ.
กะล่อยกะหลิบ : ว. คล่องแคล่วว่องไวในการใช้มืออย่างแนบเนียนน่าดู; ดูเหมือนเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง, ดูเหมือนไม่นาน, เช่น ดูกะล่อยกะหลิบ เมื่อไม่นานมานี่เอง ล่วงเข้ามาหลายเดือนแล้ว.
ก้าวหน้า : ก. เปลี่ยนแปลงของเดิมให้ดีขึ้นตามลําดับ, เจริญวัฒนาเร็วกว่าปรกติ.
โกย : ก. อาการที่ใช้มือหรือสิ่งอื่นคุ้ยหรือกวาดสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้าว ถ่าน มาทีละมาก ๆ, ขนหรือรวบเอาไปเป็นจํานวนมาก; (ปาก) วิ่งหนีไปโดยเร็ว.
ขม้ำ : [ขะมํ่า] ก. เอาปากงับกินเร็ว ๆ (ใช้แก่สุนัขเป็นต้น ถ้าใช้แก่คน ถือว่าเป็นคําไม่สุภาพ).
ขมุบขมิบ : [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
ขยิบ : [ขะหฺยิบ] ก. ทําหลับตาแล้วลืมโดยเร็วครั้งหนึ่ง โดยเป็นอาณัติ สัญญาณให้ผู้อื่นกระทําหรือเว้นกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ขลุก ๒, ขลุก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขุก หรือ ขุก ๆ ก็ว่า, เสียงดังอย่าง ก้อนดินกลิ้งอย่างเร็ว ในคำว่า กลิ้งขลุก ๆ.
ขวับ ๒ : [ขฺวับ] ว. เร็ว, ทันที, เช่น เหลียวขวับ.
ข้าวเบา : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลเร็วกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวง ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคมและเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียว หางยี ๗๑ พันธุ์ข้าวน้ำสะกุย ๑๙, พายัพและอีสานว่า ข้าวดอ.
ข้าวสามเดือน : น. ชื่อข้าวเบาพันธุ์หนึ่งซึ่งได้ผลเร็วกว่าข้าวเบาพันธุ์อื่น เก็บเกี่ยวได้ภายใน ๓ เดือนหลังจากปลูก.