รถเสบียง : น. ตู้รถไฟที่ใช้ปรุงและจำหน่ายอาหารในขณะเดินทาง, ตู้เสบียง ก็ว่า.
คลังเสบียง : น. ที่เก็บสะสมอาหาร.
สมพล ๒, สัมพล : น. อาหาร, เสบียง. (ป.; ส. ศมฺพล).
สัมพล, สมพล : [สําพน, สมพน] น. อาหาร, เสบียง. (ป.; ส. ศมฺพล).
กรัง ๑ : [กฺรัง] ก. แห้ง เช่น เสบียงกรัง, แห้งติดแน่นอยู่ เช่น ขี้มูกขี้ตากรัง.
เกียกกาย ๑ : น. กองเสบียง (เป็นส่วนหนึ่งในกองทัพ), หัวหน้าแห่งกองเสบียงนั้น.
ของแห้ง : น. อาหารแห้งที่เก็บไว้กินได้นาน, เสบียงกรัง.
ทุรภิกษ์ : น. การอัตคัดเสบียง. (ส.).
นา ๓ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแล รักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแล ทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.
โพล่ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วย กาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน. (รูปภาพ โพล่)
แฟ้ม : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝา หอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสําหรับสอดไม้ คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสําหรับขัดปาก ขอบ ด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง, ที่สําหรับเก็บแผ่นกระดาษ มี ปกหน้าปกหลังทําด้วยกระดาษแข็งเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ชนิดเจาะข้าง ชนิดมีสปริงสําหรับหนีบกระดาษ ชนิดมีซองสําหรับ ใส่เอกสาร, กระเป๋าหิ้วสําหรับใส่เอกสาร.
ยอบแยบ : ว. จวนหมด, เกือบจะไม่พอ, เช่น เงินทองยอบแยบ เสบียงอาหาร ยอบแยบ.
เรือแซ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเช่นเดียวกับเรือกราบแต่ เพรียวน้อยกว่า ใช้ในการลำเลียงพล ศัสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ และ เสบียงกรัง อาจใช้เป็นเรือทุ่นหรือทำหน้าที่อื่นได้.
สัมภาระ : [สำพาระ] น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่ง สะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระ สำหรับไปต่างจังหวัด; การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. (ป., ส.).