Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสวย , then สวย, เสวย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสวย, 131 found, display 1-50
  1. สวย : ว. งามน่าพึงพอใจ, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาม เป็น สวยงาม, ในบทกลอน ใช้ว่า ส้วย ก็มี; ไม่เปียก (ใช้แก่ข้าวสุก) เช่น หุงข้าวสวยดี ไม่ดิบ ไม่แฉะ.
  2. เขียวเสวย : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียว รสมัน.
  3. กระยาเสวย : (ราชา) น. เครื่องเสวย.
  4. กษีรธารา : น. สายน้ำนม เช่น ให้เสวยโภชนและกษีรธารา. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  5. กัตติกมาส : [กัดติกะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์กัตติกา คือ เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือนพฤศจิกายน. (ป.).
  6. กามสมังคี : ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกาม สมังคีศรีสุขุมสุข. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป. กาม + สมงฺคี = มีความพร้อมเพรียง).
  7. ขุนหลวง : (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).
  8. ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
  9. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  10. เครื่องต้น : (ราชา) น. เครื่องทรงสําหรับพระเจ้าแผ่นดินในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น; ของใช้ของเสวยสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน.
  11. จาตุรงคสันนิบาต : น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้น ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
  12. จิตร- ๒ : [จิดตฺระ-] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์จิตรา เรียกว่า จิตรมาส คือ เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน. (ส. ไจตฺร; ป. จิตฺต).
  13. เชษฐ- ๒ : [เชดถะ] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์เชษฐา เรียกว่า เชษฐมาสคือ เดือน ๗ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือน มิถุนายน, ถ้าพระจันทร์เพ็ญเกี่ยวมาทางดาวฤกษ์มูลา เรียกว่า เชษฐมูลมาส. (ป. เชฏฺฐ; ส. เชฺยษฺฐ, ไชฺยษฐ).
  14. บุษยมาส : น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรบุษยะ คือ เดือนยี่ ตกในราวมกราคม. (ส.).
  15. ผัคคุณมาส : น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรผลคุนี คือ เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม. (ป.).
  16. ผาลคุน : [ผานละคุน] น. เดือนซึ่งพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรผลคุนี คือ เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม. ว. ซึ่งเกี่ยวกับนักษัตรผลคุนี, ซึ่งเกิดในนักษัตรผลคุนี. (ส. ผาลฺคุน; ป. ผคฺคุณ).
  17. พระเครื่อง : น. พระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครอง ป้องกันอันตราย (ย่อมาจากคํา พระเครื่องราง); เครื่องเสวย.
  18. ไพศาขมาส : [ไพสาขะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ วิศาขะ คือ เดือน ๖ ตกในราวเดือนพฤษภาคม. (ส.; ป. วิสาขมาส).
  19. ภวังค–, ภวังค์ : [พะวังคะ–] น. ส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ มิได้เสวยอารมณ์ ในทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น. (ป.); ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว.
  20. ภัทรบทมาส : [พัดทฺระบดทะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวย ฤกษ์ภัทรปทา คือ เดือน ๑๐ ตกในราวเดือนกันยายน.
  21. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  22. มฤคศิรมาส : น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์มฤคศิระ คือ เดือนอ้าย ตกในราวเดือนธันวาคม.
  23. มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
  24. รับพระเคราะห์ : (โหร) ก. ทำพิธีรับเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวง ที่จะมาเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์.
  25. ราชย์ : น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ, เช่น ขึ้นครองราชย์ เสวยราชย์. (ส.; ป. รชฺช).
  26. ฤกษ์บน : น. ฤกษ์ที่ดาวนพเคราะห์เสวยประจําวัน มี ๒๗ ฤกษ์.
  27. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  28. ส่งพระเคราะห์ : (โหร) ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวง ที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทาง โหราศาสตร์.
  29. สมโภค : [โพก] น. การเสวยสุขกายใจอันเป็นไปในทางโลก. (ป., ส.).
  30. สัตมหาสถาน : [สัดตะมะหาสะถาน] น. สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้า เสวยวิมุติสุขภายหลังตรัสรู้.
  31. อภิเษก : ก. แต่งตั้งโดยการทําพิธีรดนํ้า เช่นพิธีขึ้นเสวยราชย์ของพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.; ป. อภิเสก).
  32. อาสูร : [สูน] (โบ) ก. สงสาร เช่น อาสูรสองหลานเอย ย่อมเสวยเคย ข้าวสาลี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า); เอ็นดู; กังวล. (ข. อาสูร ว่า สงสาร, น่าอนาถ).
  33. สวยแต่รูป จูบไม่หอม : (สํา) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าที วาจา และกิริยามารยาทไม่ดี.
  34. คราญ : [คฺราน] ว. งาม, สวย, น่ารัก, ใช้ประสมกับคําอื่น เช่น นงคราญ สะคราญ.
  35. ดี ๒ : ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับ ชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.
  36. เปศละ : [เปสะละ] ว. ซึ่งประดับตกแต่งโดยฝีมือช่าง; งาม, สวย, น่ารัก, น่าชอบใจ, อ่อน, น่วม, ละมุนละม่อม; เก่ง, ชํานาญ, เชี่ยวชาญ, มีเล่ห์กล, มีอุบาย. (ส.).
  37. มโนหระ : [มะโนหะระ] ว. เป็นที่จับใจ, น่ารักใคร่, สวย, งาม. (ส.).
  38. รางชาง : ว. งาม, สวย, เด่น.
  39. รุจิระ, รุจิรา : ว. งาม, สว่าง, รุ่งเรือง, สวย; กะทัดรัด. (ป., ส.).
  40. ลลิต : [ละ–] ว. น่ารัก, น่าเอ็นดู, น่าชื่นชม, สวย, งาม, ละมุนละม่อม. (ส.).
  41. วัลคุ : [วันละคุ] (แบบ) ว. งาม, สวย, น่ารัก; ไพเราะ. (ส. วลฺคุ; ป. วคฺคุ).
  42. สะคราญ : น. หญิงงาม เช่น โฉมสะคราญ. ว. งาม, สวย, เช่น สะคราญตา สะคราญใจ.
  43. ข้าวสวย : น. ข้าวที่หุงสุกแล้ว, ข้าวสุก ก็เรียก.
  44. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  45. ส่วย ๒ : น. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญเขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน.
  46. ทั้งนั้น : ว. ทั้งหมดโดยไม่ยกเว้น เช่น พระสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนแต่ สาว ๆ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  47. มล่าวเมลา : [มะล่าวมะเลา] (กลอน) ว. งดงาม, สวย.
  48. ย้อง : ว. งาม, สวย.
  49. ล้วนแต่ : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ผู้เข้าประกวดนางงามล้วนแต่ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  50. ส ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-131

(0.0582 sec)