Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แปรง , then ปรง, แปรง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แปรง, 23 found, display 1-23
  1. แปรง : [แปฺรง] น. สิ่งของอย่างหนึ่งทําด้วยขนสัตว์ ลวด ฯลฯ สําหรับใช้ปัด หวี สีฟัน หรือขัดถูสิ่งของอื่น ๆ, ลักษณนามว่า อัน; ขนเส้นแข็งที่ ขึ้นบนคอหมูเป็นแถว ๆ. ก. ปัด เช็ด หรือถูด้วยแปรง.
  2. แปรงล้างขวด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Callistemon viminalis (Sol. ex Gaertn.) G. Don ex Loud. ในวงศ์ Myrtaceae ก้านชูอับเรณูสีแดง เป็นฝอยเหมือนแปรง.
  3. แปรงหูหนู : ดู กระดูกอึ่ง.
  4. ปรง : น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลําต้นกลม สีดําขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทําพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).
  5. กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
  6. ชะนุง : น. ไม้คู่สําหรับขึงเข็ดด้ายให้ตึง แล้วใช้แปรงขนหมีหวี เพื่อแยกเส้นด้าย.
  7. แปร่ง : [แปฺร่ง] ว. มีเสียงพูดผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่น นั้น ๆ, ไม่สนิท.
  8. โปร่ง : [โปฺร่ง] ว. มีลักษณะว่างหรือเปิดเป็นช่อง, ไม่ทึบ, เช่น ใต้ถุนโปร่ง ที่โปร่ง ป่าโปร่ง; แจ่มใสไม่อึดอัด เช่น สมองโปร่ง.
  9. กองหนุน : น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  10. ก๊อซ : น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze).
  11. กะหน็องกะแหน็ง : ว. แปร่ง, ไม่ชัด, ฟังไม่ออก, (ใช้แก่การพูด), หน็องแหน็ง หรือ อีหน็องอีแหน็ง ก็ว่า.
  12. ไข่ ๑ : น. ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และสิ่งห่อหุ้ม ซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาววุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมากมีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก, ลักษณนามเรียก ฟอง ลูก หรือ ใบ; เรียกสิ่งที่เป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ที่มีอยู่ตามใบไม้บางชนิด เช่น ไข่ชะอม ไข่ปรง; (ปาก) ลูกอัณฑะ. ก. ตกฟอง เช่น แม่ไก่ไข่ออกมา ๓ ฟอง.
  13. แจ่มใส : น. ปลอดโปร่งไม่ขุ่นมัว เช่น อารมณ์แจ่มใส, โปร่ง เช่น อากาศแจ่มใส.
  14. ปรัง : [ปฺรัง] น. เรียกนาที่ต้องทําในฤดูแล้งว่า นาปรัง. (ข. ปฺรัง ว่า ฤดูแล้ง). ว. เกินเวลา, เกินกําหนด, เช่น จมปรัง ว่า อยู่เกินเวลา.
  15. ปรึง : [ปฺรึง] ว. อย่างเร่งรีบ, เต็มที่, เช่น บ้างควบปรึงตะบึงไปไม่รอรั้ง. (อิเหนา). (ข. บฺรึง).
  16. ปรุง : [ปฺรุง] ก. ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน.
  17. เปร็ง : [เปฺร็ง] น. ชื่อไผ่ชนิดหนึ่ง ต้นเล็ก ชาวบ้านใช้ปล้องทําเป็น กล้องยาสูบ.
  18. เปรียง ๒ : [เปฺรียง] น. นํ้ามัน โดยเฉพาะใช้สําหรับนํ้ามันไขข้อของวัว. (ข. เปฺรง).
  19. โปรง : [โปฺรง] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Ceriops วงศ์ Rhizophoraceae ใช้ทําฟืนและถ่านชนิดดี คือ โปรงขาว (C. decandra Ding Hou) และ โปรงแดง [C. tagal (L.M. Perry) C.B. Robinson].
  20. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  21. ลายเฉลว ๕ มุม : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานตะกร้อ จะสานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ก็ได้ วิธีสานเหมือนกับสานตาเฉลว โปร่ง แต่ใช้หวาย ๕ เส้นเรียงกันเป็นแถบและสานให้มีลักษณะ เป็นตาห้าเหลี่ยม.
  22. โว่ง : ว. ว่าง, โล่ง, โปร่ง, เช่น ตัดต้นไม้เสียโว่ง ซดน้ำแกงร้อน ๆ แล้วคอโว่ง.
  23. สร่ง ๑ : [สะหฺร่ง] น. วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่ทําให้ โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร เรียกว่า ตัดสร่ง.
  24. [1-23]

(0.0675 sec)