Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แสร้ง , then สรง, แสร้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แสร้ง, 31 found, display 1-31
  1. สรง : [สง] ก. อาบนํ้า (ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย). (ข.).
  2. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  3. กระฟัดกระเฟียด : ว. อาการที่โกรธหรือแสร้งทําโกรธ.
  4. กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
  5. กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง : (สํา) ก. รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทําเป็นไม่รู้.
  6. แง่งอน : น. อาการที่แสร้งทําชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน.
  7. ฉาบหน้า : (ปาก) ก. เสแสร้งเพื่อให้เข้าใจว่ามีสถานะดีกว่าที่เป็นจริง.
  8. ดัดจริต : [-จะหฺริด] ก. แสร้งทํากิริยาหรือวาจาให้เกินควร.
  9. ดูดำ : (โบ) ก. ดูหมิ่น เช่น เปนม่ายชายดูดำ กุมเกษ กำแก้ผม ผลักล้มจมดิน ทราย แสร้งอวยอายอยดยศ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  10. ทำเป็น : ก. แสร้งแสดง เช่น ทําเป็นหลับ; วางท่า เช่น ทําเป็นคุณนาย, ใช้ว่า ทําเป็นว่า ก็มี.
  11. ทีเล่นทีจริง : (สํา) ก. แสร้งทําเล่น ๆ หรือล้อหลอกเป็นการลองเชิง แต่เมื่อเห็นเขาเผลอตัวหรือไม่ว่าก็เอาจริง, เล่นก็ได้ จริงก็ได้.
  12. พรางพรอก : [พฺรอก] ก. พูดลวง, แสร้งพูด.
  13. พาโล : ก. แสร้งพูดใส่ความไม่จริงให้คนอื่น, กล่าวหาความ, บางทีก็ใช้มี สร้อยว่า พาโลโสเก หรือ พาโลโฉเก. (ป., ส. พาล).
  14. มายา : น. มารยา, การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล. (ป., ส.).
  15. มารยา : [มานยา] น. การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).
  16. โยคนิทรา : น. การเข้าฌานแล้วไม่รู้สึกถึงสิ่งภายนอก, อาการที่แสร้งทํา เช่นนั้น. (ส. โยคนิทฺรา).
  17. รื่น : ว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.
  18. ลูกยอ : (ปาก) น. คําแสร้งเยินยอ.
  19. สรร : [สัน] ก. เลือก, คัด, เช่น จัดสรร เลือกสรร. (ข. สรัล). สรรแสร้ง ก. เลือกว่า, แกล้งเลือก.
  20. ออกลาย : (ปาก) ก. เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจาก ที่แสร้งทําดีมาแล้ว.
  21. เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ : (สํา) ก. แสร้งทําเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจ.
  22. ศาลาสรง : [สง] (ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคา และมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติ กันในเทศกาลสงกรานต์โดยทํารางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
  23. สร่ง ๑ : [สะหฺร่ง] น. วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่ทําให้ โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร เรียกว่า ตัดสร่ง.
  24. สร่ง ๒ : [สะหฺร่ง] น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยหมูสับคลุกกับรากผักชี พริกไทย น้ำปลา ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พันด้วยเส้นมี่สั้วลวก ทอด ให้เหลืองนวล รับประทานกับน้ำจิ้ม.
  25. สรั่ง : [สะหฺรั่ง] น. หัวหน้ากะลาสี. (เปอร์เซีย).
  26. กมณฑลาภิเษก : [กะมนทะ-] (แบบ) น. หม้อน้ำสรง เช่น อนนเต็มใน กมณฑลาภิเษก. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + ส. อภิเษก = รด).
  27. กระยาสนาน : (ราชา) น. เครื่องสรง.
  28. กระออม ๒ : (กลอน) น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ เช่น สรงสนานน้ำทิพย์สิบกระออม. (คาวี), กะออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า.
  29. จญ : (โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่).
  30. ศฤงค์ : [สฺริง] น. เขาสัตว์; ยอดของสถานที่ต่าง ๆ. (ส.).
  31. สนาดก : [สะนา] (แบบ) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์. (ส. สฺนาตก; ป. นหาตก).
  32. [1-31]

(0.0614 sec)