โชว์ : ก. เปิดอวดให้ดู, แสดงให้คนทั่วไปได้ดูได้ชม เช่น โชว์สินค้า. (อ. show).
ชว : [ชะวะ] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
ชวร, ชวระ : [ชวน, ชะวะระ] (แบบ) น. ไข้, ความไข้. ก. เป็นไข้, ป่วย. (ส.; ป. ชร).
ชั่ว ๑ : น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลําตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
ชั่ว ๒ : ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีต ประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
ชั่ว ๓ : บ. ตลอด, สิ้น, เช่น ชั่วอายุ.
ชัพ : [ชับ] (แบบ) ว. เร็ว. (ป., ส. ชว).
เชาว์ : ว. เร็ว. (แผลงมาจาก ป., ส. ชว).
กฤดาญชลี : [กฺริดานชะลี] ก. ยกมือไหว้. (ส.; ป. กตญฺชลี = มีกระพุ่มมืออันทําแล้ว), ในบทกลอนใช้แผลงเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤดาอัญชลี กฤษฎา กฤษฎาญ กฤษฎาญชลี กฤษฎาญชุลี กฤษฎาญชลิต กฤษฎาญชวลิตวา กฤษฎาญชวลิศ กฤษฎาญชวเลศ.
โกเชาว์ : (แบบ; กลอน) น. ผ้าทําด้วยขนแพะ เช่น ไพจิตรนิทรกําราล กาฬโกเชาว์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกชว).
ช้า ๒ : ว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
ดี ๒ : ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับ ชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.
ถ่อย : ว. ชั่ว, เลว, ทราม.
ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
ทุร- : [ทุระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก. (ส.).
นาฬิกา : น. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกา ข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่ว นาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกําหนดเวลา).
บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
ประทุฐ : [ปฺระทุด] ว. ชั่ว, ร้าย. (ป. ปทุฏฺ?).
ประทุษฏ์, ประทุษฐ์ : ว. ชั่ว, ร้าย. (ส. ปฺรทุษฺฏ, ปฺรทุษฺ?).
ยาหัด : ว. ชั่ว, ไม่ดี, หยาบ, ไม่งาม. (ช.).
หมัก : ก. แช่ไว้, เก็บทิ้งไว้; ปล่อยให้พักฟื้นเพื่อให้หายบอบชํ้า (ใช้แก่ปลากัด) เช่น เอาปลากัดไปหมักไว้, ทอด ก็ว่า.
โหด ๒ : ว. ชั่ว, ร้าย, เช่น ใจโหด; (ปาก) ยากมาก เช่น ข้อสอบวิชานี้โหด; เข้มงวด มาก เช่น ครูคนนี้โหด.
อกุศล, อกุศล : [อะกุสน, อะกุสนละ] ว. ชั่ว, ไม่ดี, ไม่เป็นมงคล. (ส.; ป. อกุสล). น. สิ่งที่ไม่ดี, บาป.
อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : [อะปะ, อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะ ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
อัปลักษณ์ : [อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็น มงคล, เช่น รูปร่างอัปลักษณ์ หน้าตาอัปลักษณ์, อปลักษณ์ ก็ว่า. (ส. อปลกฺษณ; ป. อปลกฺขณ).
อาชวะ : [อาดชะวะ] น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. อาชฺชว, ส. อารฺชว).
อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : [ทํา, ทัน, ทันมิก, ทันมึก] ว. ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).