Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โรค , then รค, โรค, โรคา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โรค, 335 found, display 1-50
  1. โรค, โรค– :
  2. โรคนิทาน : [โรคะ–] น. คัมภีร์แพทย์โบราณว่าด้วย สมุฏฐานแห่งโรค.
  3. โรคประจำตัว : น. โรคที่มีติดตัวอยู่เป็นประจํา รักษาไม่หายขาด.
  4. โรคศิลปะ : [โรกสินละปะ] น. การปฏิบัติเพื่อรักษาโรค.
  5. โรคสมอง : น. โรคที่ก่อให้เกิดความผิดปรกติใด ๆ แก่สมอง. (อ. cerebropathy).
  6. โรค : (กลอน) น. โรค.
  7. การประกอบโรคศิลปะ : (กฎ) น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือ มุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และ สาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ.
  8. เชื้อโรค : น. สิ่งที่มีชีวิต เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์แล้ว ทําให้เกิดโรคได้; (กฎ) เชื้อจุลินทรีย์หรือผลิตผลจากเชื้อ จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคในคนหรือสัตว์.
  9. บัณฑุโรค : (แบบ) น. โรคผอมเหลือง, โรคเพื่อดี. (ป. ปณฺฑุโรค).
  10. บานทะโรค : น. โรคริดสีดวงทวารชนิดหนึ่ง ที่ดากบานออกมา ข้างนอก.
  11. โรค : ดู โรค, โรค–.
  12. สัญจรโรค : น. กามโรค. ว. เรียกหญิงโสเภณีว่า หญิงสัญจรโรค.
  13. อัม, อัม : [อำ, อำมะ] น. ไข้เจ็บ, โรค; ชีวิต; ภัย, ความกลัว. (ส. อมฺ).
  14. อามัย : น. ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย, ตรงข้ามกับ อนามัย คือ ความสบาย ความไม่มีโรค. (ป., ส.).
  15. ไม่ถูกโรคกัน : (ปาก) ก. เข้ากันไม่ได้, ไม่ถูกนิสัยกัน.
  16. : พยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.
  17. รุชา : น. ความไม่สบาย, ความเสียดแทง; โรค. (ป., ส.).
  18. โรคาพยาธิ : ดู โรค, โรค–.
  19. ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
  20. กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
  21. กระจก : น. แก้วที่ทําเป็นแผ่น; โรคต้อชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้อกระจก. (ป., ส. กาจ = แก้ว, ดินที่ใช้ทำแก้ว).
  22. กระบองราหู : น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก.
  23. กระเบา ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบาน้ำ (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้น ขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีน้ำตาล ขนาดเท่าผลส้มโอ ขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีน้ำมัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.
  24. กระแพ้ง : น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็น, กําแพ้ง ก็ว่า.
  25. กระษัย : [-ไส] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).
  26. กระษัยกล่อน : [-ไสกฺล่อน] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณ ทําให้ร่างกายผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน.
  27. กระสบ : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
  28. กระอ้า : น. โรคพืชชนิดหนึ่งเกิดแก่ใบยาสูบ ทําให้ใบเฉาเหี่ยวแห้ง หรือตายนึ่ง.
  29. กรามช้าง ๑ : น. ตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทําให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.
  30. กราย ๒ : [กฺราย] น. โรคซางจรชนิดหนึ่ง มีอาการตัวร้อน ลงราก กระหายน้ำ. (แพทย์).
  31. กรูด ๓ : [กฺรูด] น. โรคหูด.
  32. กล่อน : [กฺล่อน] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า เกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นน้ำ เรียกว่า กล่อนน้ำ, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง.
  33. กลัวน้ำ : น. โรคพิษสุนัขบ้า เรียกว่า โรคกลัวน้ำ.
  34. กลาก : [กฺลาก] น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, ขี้กลาก ก็ว่า, (ราชา) โรคดวงเดือน.
  35. กลี : [กะลี] น. สิ่งร้าย, โทษ; เรียกโรคห่าที่เป็นแก่สัตว์เลี้ยงเช่นเป็ด ไก่ วัว ควาย; ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้; ชื่อผีร้ายหรือผีการพนันตามคติของพราหมณ์. ว. ร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า กาลี. (ป., ส. กลิ).
  36. กลูโคส : [กฺลู-] (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๔๖ ? ซ. มีในผลองุ่นสุก น้ำผึ้ง และผลไม้โดยมากที่มีรสหวาน เป็นองค์ระกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็น โรคเบาหวาน มีรสหวานน้อยกว่าน้าตาลทราย, เดกซ์โทรส ก็เรียก. (อ. glucose).
  37. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  38. กษัยกล่อน : น. ชื่อโรคทางตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ผอมแห้ง ซึ่งเกิดจากโรคกล่อน, เขียนเป็น กระษัยกล่อน ก็มี.
  39. กษัย, กษัย- : [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  40. กักด่าน : ก. กักกุมไว้เพื่อตรวจตรา เช่นตรวจโรคติดต่อ.
  41. กัปปิยการก : [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
  42. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  43. กามโรค : น. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกัน โดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง.
  44. กายภาพบำบัด : น. การรักษาโรคโดยอาศัยวิธีการทางฟิสิกส์ แทนการใช้ยา เช่น โดยการนวด การฉายรังสี การใช้กระแสไฟฟ้า การใช้กระแสน้ำ ความร้อน หรือการออกกําลังกาย. (อ. physical therapy).
  45. กาลสมุตถาน : [กาละสะหฺมุด-] น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะ ธาตุไม่เป็นไปตามเวลาปรกติ. (แพทย์).
  46. กาฬปักษี : [กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้ว ได้ ๕ เดือน ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับสะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).
  47. กาฬโรค : [กานละ-, กาละ-] น. ชื่อโรคระบาดอย่างร้ายแรงชนิดหนึ่ง มักมีอาการบวมนูนที่รักแร้เป็นต้น.
  48. กำแพ้ง : น. เรียกไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็นว่า กําแพ้ง, กระแพ้ง ก็ว่า.
  49. กำมะถัน : น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็น องค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).
  50. กำเริบ : ก. รุนแรงขึ้น เช่น โรคกําเริบ กิเลสกําเริบ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-335

(0.0541 sec)