ไก่ชน : น. ชื่อไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ตีกัน.
ชน ๑ : ก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
อู : น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง ตัวใหญ่กว่าไก่แจ้ หงอนเล็ก ตัวผู้มีหลายสีแต่ สีขนไม่สดใสเหมือนไก่แจ้ ตัวเมียมีสีดําเหลือบเขียวเท่านั้น, เรียก ไก่อูชนิดที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
จ๊อก : ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใด ร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
ศาสนิกชน : น. บุคคลที่นับถือศาสนา เช่น ศาสนิกชนของ พระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธศาสนิกชน ศาสนิกชนของ คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสต์ศาสนิกชน.
คริสต์ศาสนิกชน : น. ผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนา.
ศาสนิกชน :
ดู ศาสน, ศาสนา.
พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
พิธีจุ่ม : น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะเพื่อ รับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, ศีลล้างบาป ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
มัสยิด : [มัดสะ-] น. สถานที่ซึ่งอิสลามิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาอิสลาม, สุเหร่า ก็เรียก.
ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
ศาสนธรรม : น. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติ ตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.
ศีลล้างบาป : น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะ เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, พิธีจุ่ม ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
เอกอัครสมณทูต : [เอกอักคฺระ] น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปา ทรงแต่งตั้งไปประจําสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทน ทางการทูต รวมทั้งทําหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชน นิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับ เอกอัครราชทูต. (อ. nuncio).