Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กอ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กอ, 133 found, display 51-100
  1. เชี้ย : (โบ) ก. เชื้อ, มักใช้ประกอบกับคํา เชิญ เป็น เชี้ยเชิญ.
  2. ซอ ๑ : น. ตอไม้ไผ่ค่อนข้างยาวที่เหลืออยู่ที่กอ.
  3. ซ่อนกลิ่น : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Polianthes tuberosa L. ในวงศ์ Agavaceae ต้นเป็นกอ ดอกสีขาวเป็นช่อตั้งขึ้น กลิ่นหอม.
  4. ซิ, ซี : คําประกอบท้ายคําอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือ ให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.
  5. เด : ว. มาก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เหลือ ว่า เหลือเด คือ เหลือมาก ๆ.
  6. ตะไคร้ : [-ไคฺร้] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ กลิ่นหอม ใช้ปรุงอาหารได้.
  7. ตะไคร้หางนาค : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rotula aquatica Lour. ในวงศ์ Ehretiaceae ขึ้นเป็นกอตาม ซอกหินริมลําธาร กิ่งเรียวกลมเหนียวมาก.
  8. ตะนอย : น. ชื่อมดหลายสกุลในวงศ์ Formicidae เช่น สกุล Diacamma, Leptogenys, Lobopeltaทุกชนิดมีอวัยวะสําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด D. rugosum ซึ่งมีลําตัวยาว ๑-๑.๒ เซนติเมตร สีดํา ทํารัง อยู่เป็นฝูงตามกอหญ้า ใต้ก้อนหิน หรือใต้ ดินที่ชื้นต่าง ๆ.
  9. ถ้อย : น. คําพูด, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ เป็นถ้อยร้อยความ.
  10. ท้วน : ว. อ้วนแข็งแรง, ใช้พูดประกอบกับคํา อ้วน เป็น อ้วนท้วน.
  11. ทั้งคน : ว. ใช้ประกอบท้ายคําหรือความ เพื่อเน้นให้เห็นความสําคัญ ของคําหรือความข้างหน้า เช่น แม่ทั้งคน.
  12. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  13. ธรรม ๒ : คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
  14. นะ ๑ : ว. คําประกอบท้ายคําอื่น บอกความเป็นเชิงอ้อนวอน บังคับตกลง หรือ เน้นให้หนักแน่น เป็นต้น เช่น อยู่นะ ไปละนะ.
  15. นา ๑ : น. พื้นที่ราบทําเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สําหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสําหรับทําประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทํา เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด, ใช้ประกอบกับคําอื่นที่เกิดหรือ เกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
  16. นา ๒ : (แบบ) คําบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคําบทร้อยกรองให้มีความกระชับ หรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.
  17. นิเทศ : (แบบ) น. คําแสดง, คําจําแนกออก. ก. ชี้แจง, แสดง, จําแนก. (ป. นิทฺเทส; ส. นิรฺเทศ).
  18. นิยม : (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.
  19. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  20. เนระพูสี : น. ชื่อเฟินชนิด Microlepia speluncae (L.) Moore ในวงศ์ Dennstaedtiaceae ต้นเป็นกอใช้ทํายาได้.
  21. บง ๓ : ก. คล้อง, ห่ม, เช่น บงบ่าเฉวียง. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. บงกอ ว่า คล้องคอ).
  22. บริจาริกา : [บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคํา บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัด ใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).
  23. บัดซบ : ว. สิ้นดี, มักใช้ประกอบกับคํา โง่ เซ่อ หรือ เซอะ เช่น โง่บัดซบ.
  24. ปรง : น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลําต้นกลม สีดําขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทําพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).
  25. ปอดแปด : ว. อ่อนน่วมอยู่ภายใน, มักใช้ประกอบกับคํา เหลว เป็น เหลวปอดแปด; อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, กระปอดกระแปด ก็ว่า.
  26. ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
  27. ไป : ก. เคลื่อนออกจากที่, ใช้ตรงกันข้ามกับ มา, เป็นคําประกอบท้าย กริยาหมายความว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทําไป กินไป, เป็นคํา ประกอบท้ายคําวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
  28. ผงซักฟอก : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง มีหลายชนิด มีองค์ประกอบที่สําคัญแตกต่างกัน เช่น ประกอบด้วยโซเดียม ลอริลซัลเฟต (sodium lauryl sulphate) หรือโซเดียมอัลคิลอะริล ซัลโฟเนต (sodium alkyl aryl sulphonate) เป็นต้น ใช้ประโยชน์ ในการซักฟอกได้ดีกว่าสบู่ ทั้งใช้ซักฟอกในนํ้าอ่อน นํ้ากระด้าง หรือนํ้าเค็มได้ดี.
  29. ผงฟู : น. สารผสมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเปียกนํ้าหรือทําให้ร้อนจะให้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา มีองค์ประกอบที่สําคัญ คือ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต มีสูตร NaHCO3 ปนแป้ง ผสม คลุกเคล้ากับสารอื่นซึ่งมักเป็นกรดทาร์ทาริก มีสูตร HOOC CHOHCHOHCOOH หรือโพแทสเซียมไฮโดรเจนทาร์เทรต มีสูตร KHC4H4O6 หรือแคลเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต มีสูตร Ca(H2PO4)2 หรือสารส้มใช้ประโยชน์ทําให้ขนมปังและขนม บางประเภทมีเนื้อฟูพรุน.
  30. ผ่าเหล่า : ว. มีความประพฤติผิดไปจากเทือกเถาเหล่ากอ (ใช้ในทาง ไม่ดี), ผ่าเหล่าผ่ากอ ก็ว่า.
  31. แผ้ว ๑ : ก. ทําให้เตียน สะอาด หรือหมดสิ้นไป, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น แผ้วถาง แผ้วกวาด. ว. สะอาด, หมดจด, บริสุทธิ์, มักใช้เข้าคู่ กับคํา ผ่อง เป็น ผ่องแผ้ว.
  32. ไผ่ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลําต้นเป็นปล้อง ๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Retz.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดํา (Phyllostachys nigra Munro).
  33. พร้อมหน้า, พร้อมหน้าพร้อมตา : ว. รวมอยู่เป็นจํานวนมากอย่าง พร้อมเพรียงกัน (ใช้แก่คนที่มีความเกี่ยวข้องกัน) เช่น มากันพร้อม หน้า มากันพร้อมหน้าพร้อมตา.
  34. พันธกรณี : [พันทะกะระนี, พันทะกอระนี] น. เหตุแวดล้อมที่เป็น ข้อผูกมัด.
  35. พุทธรักษา : [พุดทะ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าหลายชนิดในสกุล Canna วงศ์ Cannaceae ขึ้นเป็นกอ ดอกสีต่าง ๆ.
  36. เพ็ก : น. ชื่อไผ่ ๒ ชนิดในวงศ์ Gramineae คือ ชนิด Arundinaria pusilla A. Cheval. et A. Camus ต้นเล็ก ขึ้นเป็นกอเดี่ยวหนาแน่นในป่า เบญจพรรณ, ไผ่เผ็ด หรือ หญ้าเพ็ก ก็เรียก, และชนิด Bambusa multiplex (Lour). Rไusch. ต้นเล็ก เนื้อปล้องเกือบตัน ขึ้นเป็นกอ ใช้ปลูกประดับได้.
  37. เพชรหึง ๒ : [เพ็ดชะ] น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Grammatophyllum speciosum Blume ในวงศ์ Orchidaceae ขึ้นเป็นกอบนคบไม้ ดอกใหญ่ สีเหลืองประม่วง แดงเข้ม, ว่านเพชรหึง ก็เรียก.
  38. โพลง : [โพฺลง] ว. สว่างแจ้ง, ลุกสว่าง, เช่น ไฟลุกโพลง สว่างโพลง; ใช้ ประกอบกับคํา ขาว เป็น ขาวโพลง หมายความว่า ขาวมาก, ขาว ทั่วทั้งหมด, (ใช้แก่ผม) เช่น ผมหงอกขาวโพลงไปทั้งหัว, โพลน ก็ว่า; ลักษณะที่เบิกกว้าง เช่น ตาลุกโพลง ลืมตาโพลง.
  39. โพล่ง : [โพฺล่ง] ว. ใช้ประกอบกับคํา พูด เป็น พูดโพล่ง หมายความว่า พูดอย่างไม่ยับยั้ง; เสียงดังอย่างเสียงกระโดดลงไปในนํ้า.
  40. เฟือ : ก. เหลือมาก, มักใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือเฟือ.
  41. มกรกุณฑล : [มะกอระ-] น. เครื่องประดับหูมีรูปคล้ายมังกร.
  42. มกร, มกร- : [มะกอน, มะกอระ-, มะกะระ-] น. มังกร, ชื่อดาวราศีที่ ๑๐. (ป., ส.).
  43. มด ๒ : น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า แม่มด; ใช้เป็นคําประกอบกับคํา หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.
  44. มังกง : น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลําตัวและ ครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดํามีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ ในนํ้ากร่อยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก.
  45. ไม้สอย : น. ไม้เหลาแหลมคล้ายขนเม่นสําหรับสอยผมทําเป็นไรผม, ไม้สําหรับสอย ของสูง ๆ; ไม้สําหรับใช้, ใช้ประกอบกับคํา เครื่องใช้ เป็น เครื่องใช้ไม้สอย.
  46. ยิน ๑ : ก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคําอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี.
  47. รวก : น. ชื่อไผ่ชนิด Thyrsostachys siamensis Gamble ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลําเล็กยาวเรียว ไม่มีหนาม.
  48. ระกำ ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาว ฝักแบนบิดเป็นวง, ระกํานา หรือ ระกําป่า ก็เรียก. (๒) ชื่อปาล์มชนิด Salacca wallichiana C. Martius ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมีหนามแข็ง เนื้อฟ่าม ผลออกเป็นกระปุก กินได้.
  49. รัต ๒, รัต– : น. ราตรี, กลางคืน, มักใช้ประกอบท้ายคํา เช่น ทีฆรัต ว่า ราตรียาว คือ เวลานาน. ว. ย้อมสี, มีสีแดง; กําหนัด, รักใคร่. (ป. รตฺต; ส. รกฺต).
  50. ราช ๑, ราช– : [ราด, ราดชะ–] น. พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้า คําเดียวมักใช้ว่า ราชา. (ป., ส.).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-133

(0.0166 sec)