คำมั่น : (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพัน ผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อ หรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
คำมั่นว่าจะให้รางวัล : (กฎ) น. คํามั่นที่บุคคลออกโฆษณาว่าจะให้รางวัล แก่ผู้ซึ่งกระทําการอันใดสําเร็จดังที่บ่งไว้ในคํามั่น.
สัญญา : น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความ ตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).
สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
ปฏิญฺญา : อิต. ปฏิญญา, คำรับรอง, คำมั่น, สัญญา, การตกลง, การให้การเห็นชอบ, การอนุญาต
ปฏิสฺสว : ป. การรับคำ, คำมั่น, สัญญา, การยอมฟังคำ, การเชื่อฟัง
อวธารณ : (นปุ.) การรับรอง, การรับไว้, การกำจัดลง, ความมั่นคง, คำมั่นคง.
อุปนิกฺเขป : ป. การวางไว้ใกล้, การตั้งไว้ใกล้, การให้คำมั่นสัญญา, การวางประกัน, การหยิบเอาไปวางเปรียบเทียบ