Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ค่า , then ค่, ค่ะ, คา, ค่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ค่า, 391 found, display 51-100
  1. แก้ว ๑ : น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย, ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
  2. ใกล้ : [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง. ใกล้เกลือกินด่าง (สํา) ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดี ที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหา สิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี.
  3. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  4. ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
  5. ขัด ๔ : (โบ; กลอน) ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก. (ม. ร่ายยาว มหาราช).
  6. ข้าวข้า : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Euphorbia sessiflora Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตรต้นและใบอวบนํ้า เส้น กลางใบด้านล่างเป็นสันแหลม ทุกส่วนมียางขาว หัวใช้ทํายาได้, ว่านพระฉิม ก็เรียก, เขียนเป็น เข้าค่า ก็มี.
  7. ขี้หมูขี้หมา : (ปาก) ว. ไร้สาระ, ไม่สำคัญ, ไม่มีค่า, ไม่มีราคา.
  8. ไข่มุก : น. วัตถุมีค่า มักมีลักษณะกลม ๆ เกิดจากหอยบางชนิด ที่รู้จักกันทั่วไป มีสีขาวที่เป็นสีขาวอมชมพูหรือสีดำก็มี ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.
  9. คดีมโนสาเร่ : (กฎ) น. คดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมาย.
  10. คดีอนาถา : (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสีย ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสีย ค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาล ด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกาศาลเห็นว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.
  11. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  12. ความชื้นสัมพัทธ์ : น. อัตราส่วนระหว่างมวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงในอากาศ เทียบกับมวลของไอนํ้าอิ่มตัวเมื่อมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน มักกําหนด ค่าเป็นร้อยละ. (อ. relative humidity).
  13. คะแนน : น. เครื่องหมายในการนับ, หน่วยที่ใช้กําหนดค่าในการสอบหรือ แข่งขันเป็นต้น.
  14. คา ๒ : ก. ค้างอยู่, ติดอยู่, เช่น ข้าวคาปาก คาถ้วยคาชาม. ว. ยังไม่พ้นไป จากที่นั้น ๆ เช่น ยืนคาประตู สุกคาต้น ตายคาที่.
  15. ค่า : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดํา ลําตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้ และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดํา (Presbytis melalophos) ค่างแว่นถิ่นใต้ (P. obscura) ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (P. cristata) และ ค่างแว่นถิ่นเหนือ (P. phayrei).
  16. ค่าน้ำนม : น. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอ เพื่อตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่มัน แลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง.(สามดวง); ปัจจุบันหมายถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น บวชตอบแทนค่าน้ำนม.
  17. ค่าเผา : (โบ) น. ค่าธรรมเนียมดูเงินโดยใช้วิธีเผาเงินตราเพื่อพิสูจน์.
  18. ค่าสัมบูรณ์ : (คณิต) น. ค่าของจํานวนจริงที่ไม่คำนึงถึงเครื่องหมาย เช่น ค่าสัมบูรณ์ของ -๓ หรือ +๓ คือ ๓. (อ. absolute value).
  19. คุณค่า : [คุนค่า, คุนนะค่า] น. สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง.
  20. คุ้ม ๑ : ก. กัน, ป้องกัน, เช่น คุ้มฝน; พอ, สม, พอสมควรกัน, เช่น คุ้มค่า คุ้มเหนื่อย; พอเท่ากัน เช่น คุ้มทุน. ว. มากพอสมควรกัน เช่น กินเสียคุ้ม.
  21. คู่ควร : ว. เหมาะกัน, สมกัน, เสมอกัน, มีค่าเท่ากัน.
  22. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  23. คู่บ้านคู่เมือง : ว. ที่เป็นของประจําบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง.
  24. แคลคูลัส : [แคน-] น. คณิตศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับค่าของจํานวน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกเป็น แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ และแคลคูลัสเชิงอินทิกรัล. (อ. calculus).
  25. ฆ่าช้างเอางา : (สำ) ก. ทำลายของใหญ่เพื่อให้ได้ของเล็กน้อยซึ่งไม่คุ้มค่ากัน.
  26. งบ ๔ : (ปาก) น. วงเงิน เช่น งบค่าก่อสร้างบ้าน.
  27. เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
  28. เงินเชื่อ : น. เงินค่าสิ่งของที่ยอมให้ชำระภายหลังเมื่อซื้อขาย, เงินแห้ง ก็เรียก.
  29. เงินเดือน : น. เงินค่าตอบแทนการทํางานที่กําหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน.
  30. เงินได้กำบัง : (เศรษฐ) น. รายรับในดุลการชําระเงินระหว่างประเทศอันเกิด จากค่าบริการต่าง ๆ การใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว ค่าประกันภัย เป็นต้น.
  31. เงินเฟ้อ : (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มากเกินไปทําให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า.
  32. จริยศาสตร์ : น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิต มนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหน ถูกไม่ถูก ดีไม่ดีควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทาง ศีลธรรม. (อ. ethics).
  33. จันทรกานต์ : น. แร่ประกอบหินที่มีค่าสูงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในพวกรัตนชาติ มีโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (KAlSi3O8) เป็นองค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาวปนฟ้าหรือสีเหลืองขุ่นมัวอย่างนํ้านม แต่มีวาวขาวฉาบหน้า เหมือนวาวมุกในหอยมุก หรือวาวแสงจันทร์ในหยาดนํ้าค้าง. (ส.; อ. moonstone).
  34. จ้าง ๒ : ก. ให้ทํางานหรือทําของโดยให้ค่าตอบแทน, ผู้ให้ทํางานเรียก นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทํางานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทําของเรียก ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทําของเรียก ผู้รับจ้าง.
  35. จำนวนบวก : (คณิต) น. จำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์.
  36. จำนวนลบ : (คณิต) น. จำนวนเลขที่มีค่าต่ำกว่าศูนย์.
  37. จินดา : น. ความคิด, ความนึก; แก้วมีค่า เช่น ทับทรวงดวงกุดั่นจินดาแดง. (อิเหนา).
  38. เฉลว : [ฉะเหฺลว] น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ''๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของ ซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ ตาเหลว ก็ว่า.
  39. ชดใช้ : ก. ใช้ค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปก่อนแล้ว, ให้ทดแทน สิ่งที่ใช้ หรือเสียไป.
  40. ชัก ๑ : ก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้น เคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้า ชักออก; นํา เช่น ชักนํ้าเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน; นําเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชัก ค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกําแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.
  41. ชีพ, ชีพ : [ชีบ, ชีบพะ] น. ชีวิต เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์; ความ เป็นอยู่, ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. (ป., ส. ชีว).
  42. เช่า : โดยให้ค่าเช่า; ซื้อวัตถุที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เช่าพระพุทธรูป.
  43. เช่าทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่ว ระยะเวลาอันมีจํากัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น.
  44. เชิงเดิน : น. ค่าป่วยการที่วิ่งเต้นทําธุระให้ เรียกว่า ค่าเชิงเดิน.
  45. ซองขาว : น. จดหมายให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิด; ซองบรรจุ เงินสินบนหรือค่าสินจ้างเพื่อให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเป็นไป ในทางมิชอบ.
  46. เซ้ง : (ปาก) ก. โอนสิทธิหรือกิจการไปให้อีกคนหนึ่งโดยได้ค่าตอบแทน, รับโอนสิทธิหรือกิจการจากอีกคนหนึ่งโดยต้องเสียค่าตอบแทน เรียกว่า รับเซ้ง. (จ.).
  47. ไซเกิล : (ฟิสิกส์) น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่ง กลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่ง กระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้ กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลง จนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จํานวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของ กระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. (อ. cycle).
  48. ฐาน ๔ : (คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จํานวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้าง จํานวนอื่น ๆโดยการยกกําลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จํานวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จํานวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จํานวนที่บอกปริมาณ ในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้ สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๑๐) + (๖ x ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๗) + (๖ x ๗๒).
  49. ดรรชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จํานวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจํานวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกําลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนี ของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number). ดรรชนีหักเห (แสง) น. ดรรชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่ง ต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดัชนีหักเห ก็ใช้. (อ. refractive index).
  50. ดวงตราไปรษณียากร : น. ดวงตราที่ใช้ปิดเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องเสีย สำหรับส่งจดหมายหรือไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ทางไปรษณีย์.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-391

(0.0351 sec)