จรก : [จะรก] น. ผู้เที่ยวไป, ผู้เดินไป. (ป., ส.).
จรอก ๑ : [จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้าย โดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).
จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
แจรก : [แจฺรก] (กลอน) ก. แจก, แตกออก, กระจายออก, แยกออก.
จรก : (ปุ.) คนเที่ยวไป, ฯลฯ. ก สกัด. ส. จรก.
ชลโคจร, - จรก : ๑. ป. ปลา;
๒. ค. ผู้เที่ยวไปในน้ำ, ผู้อาศัยอยู่ในน้ำ
จิรก : (ปุ.) พริกไทย.
จีร จีริก จีรี : (ปุ.) เรไร, จักจั่น, จิ้งหลีด. วิ. จีรียติ สทฺทายตีติ จีรี. จีริ หึสายํ, อี. เป็น อิต. ก็มี.
โจรก : (ปุ.) ลูกเดือย ?
โจริก : (นปุ.) ความเป็นแห่งโจรหญิง กณฺ ปัจ.
อวจรก (โอจรก) : ค. นักสอดแนม, จารบุรุษ, คนที่มีนิสัยชั่ว
โอจรก : (วิ.) ผู้ประพฤติต่ำ, ผู้ประพฤติเลว ทราม.
โจริกา : (อิต.) กิริยาแห่งขโมย, กิริยาอันเป็น ของแห่งโจร, วิชาอันเป็นของแห่งโจร, การทำของโจร. วิ. โจรสฺส กมฺมํ โจริกา. ณิกปัจ.