Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ช่วงเวลา, เวลา, ช่วง , then ชวง, ช่วง, ชวงวลา, ช่วงเวลา, เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ช่วงเวลา, 933 found, display 351-400
  1. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  2. ตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการปวดหัวเวลา เช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง, ปะกัง ก็ว่า.
  3. ตะเกียบ : น. เครื่องใช้สําหรับคีบอาหารทําด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ ตั้งตรงมีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสา กลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียก ของที่เป็นคู่สําหรับคีบ เช่น ตะเกียบรถ จักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคนที่ ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง; กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้น ของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.
  4. ตะครั่นตะครอ : ว. อาการครั่นเนื้อครั่นตัวสะบัดร้อนสะบัดหนาวเวลาเริ่มจะเป็นไข้หรือค ล้ายจะเป็นไข้.
  5. ตะคัน : น. เครื่องปั้นดินเผารูปคล้ายจาน สําหรับวางเทียนอบ หรือเผากํายานเมื่อเวลา อบนํ้าทํานํ้าอบไทยเป็นต้น หรือใช้ใส่นํ้ามันตามไฟต่างตะเกียง.(รูปภาพ ตะคัน)
  6. ตะลาน ๑ : น. ชื่องูชนิด Ptyas korros ในวงศ์ Colubridae ตัวยาวประมาณ ๑ เมตร ตาโต เลื้อยเร็ว ออกหากินเวลากลางวัน ส่วนมากจะหากินตามพื้นดิน ไม่มีพิษ, สิงตาโต หรือ ตาลาน ก็เรียก.
  7. ตัก ๑ : น. หน้าขาตอนเข่าถึงโคนขาในเวลานั่ง.
  8. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  9. ตัว ๒ : (คณิต) น. เรียกเลขในวิธีทําว่า ตัว เช่น ตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ ตัวหาร. ตัวคูณร่วมน้อย น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนําไปหารด้วยจํานวน เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น. ตัวตั้ง ๒ น. จํานวนเลขที่ตั้งไว้ก่อนสําหรับบวกลบคูณหาร. ตัวประกอบ ๒ น. จํานวนที่เมื่อคูณกันแล้วทําให้เกิดอีกจํานวนหนึ่ง เช่น ๒ x ๓ = ๖ ๒ และ ๓ ต่างเป็นตัวประกอบของ ๖. ตัวแปร น. จํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือ เซตที่กําหนดให้. (อ. variable). ตัวเลข น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง เช่น ๑๒ 53 VIII. (อ. numeral). ตัวหารร่วมมาก น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนําไปหารจํานวน undefined เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหาร ร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
  10. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  11. ถ่วง : ก. ทําให้หนัก เช่น ถ่วงนํ้าหนัก, ทําให้ช้า เช่น ถ่วงเวลา ถ่วงความ เจริญ, ทําให้จม เช่น ถ่วงนํ้า.
  12. ถัด ๒ : ว. ชิดทางนอก (บอกวัวควายเวลาไถนา), ถาด ก็ว่า.
  13. ถาด ๒ : ว. ชิดทางนอก (บอกวัวควายเวลาไถนา), ถัด ก็ว่า.
  14. ถ่านหิน : น. ถ่านธรรมชาติมีลักษณะแข็งอย่างหิน เกิดจากการแปร สภาพของพืชและต้นไม้ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานานมาก.
  15. ถี่, ถี่ ๆ : ว. มีระยะหรือช่องว่างชิด ๆ กัน เช่น ตะแกรงตาถี่ หวีซี่ถี่, มีระยะ เวลากระชั้นชิดกัน, ไม่ห่าง, เช่น รถมาถี่ มีลูกถี่ ซอยเท้าถี่ ๆ.
  16. ถีบตัว : ก. พุ่งตัวหรือดันตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ว่าวถีบตัวขึ้นสูง, เลื่อนฐานะขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เขาทำงานหนักจน ถีบตัวอยู่ในขั้นเศรษฐีได้ในเวลาไม่กี่ปี.
  17. ไถ่ ๑ : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อถอนคืนทรัพย์สินที่จํานําไว้; ซื้อทรัพย์สินที่ขาย ฝากไว้คืนภายในกําหนดเวลา; ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลก เปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
  18. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ : (กฎ) น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์ อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจาก ที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผล ที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้น.
  19. ท้องถิ่น : น. ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เวลาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น; (กฎ) พื้นที่ภายในเขตการปกครองของราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล.
  20. ทอดทฤษฎี : (แบบ) ก. มองไปรอบ ๆ, ตั้งใจดู, เช่น เวลาท่านทอด ทฤษฎี. (เสือโค).
  21. ทะลึ่ง : ก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ทะลึ่งขึ้น; แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควร ในเรื่องที่มิใช่ธุระของตัวหรือในเวลาที่เขาไม่ต้องการ, แสดงกิริยา หรือวาจาอาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง.
  22. ทะลุกลางปล้อง : ก. พูดสอดขึ้นมาในเวลาที่เขากําลังพูดกันอยู่.
  23. ทักขิโณทก : น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น. (ป.).
  24. ทักษิโณทก : น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น, เมื่อเป็นชื่อของพระเต้า เรียกย่อว่า พระเต้าษิโณทก. (ส.).
  25. ทัณฑ์บน : น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิด ตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า; (กฎ) คํารับรองที่ทําขึ้นตาม คําสั่งของศาลว่าจะไม่ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่นตลอดเวลาที่ศาลกําหนด.
  26. ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  27. ทันตา : ว. ทันที่ตาเห็นในปัจจุบัน, ในชาตินี้, ในเวลานั้น, ทันตาเห็น ก็ว่า.
  28. ทำการบ้าน : ก. ทํางานหรือทําแบบฝึกหัดตามที่ครูอาจารย์สั่งให้ทํา นอกเวลาเรียน.
  29. ทำปากทำคอ : ก. จีบปากจีบคอเวลาพูด.
  30. ทำเวลา : ก. ทําให้ได้เวลาตามกําหนด, เร่งให้เร็วขึ้น.
  31. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  32. ทิ้งฟ้อง : (กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จําเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุ แห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกําหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอ คําฟ้องแล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาที่ศาล เห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดย ชอบแล้ว.
  33. ทิ้งมะพร้าวห้าว : น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่า ทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, มัดหมู ก็ว่า.
  34. ทินาท : (โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงเที่ยงวัน.
  35. ทิวกาล : น. เวลากลางวัน.
  36. ทิวากาล : น. เวลากลางวัน.
  37. ที่รัก : น. คนรัก, คําแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความ นับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก.
  38. ทึดทือ : น. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาล มีลายกระสีขาว ลําตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาว เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศ ไทยมี ๒ ชนิด คือทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).
  39. ทุกเมื่อ : ว. ทุกขณะ, ทุกเวลา, ตลอดเวลา, เสมอ, เมื่อใดก็ได้.
  40. ทุกเมื่อเชื่อวัน : ว. ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น.
  41. ทุ่น : น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
  42. ทุพภิกขันดร, ทุพภิกขันดรกัป : [ทุบพิกขันดอน, ทุบพิกขันดะระกับ] น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ว่า เป็นตอนที่ขาดแคลนอาหาร, คู่กับ สัตถันดรกัป คือ ระยะเวลาที่ ฆ่าฟันกันไม่หยุดหย่อน. (ป.).
  43. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  44. ทูน ๒ : ว. ชิดทางใน (บอกควายในเวลาไถนา).
  45. เทววาจิกะ : ว. ที่ทําด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียก สรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.
  46. เทอม : [เทิม] น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ, ภาคเรียน, เรียกค่า เล่าเรียนที่เก็บในภาคเรียนหนึ่ง ๆ ว่า ค่าเทอม. (อ. term).
  47. เที่ยง : ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่ พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.
  48. แท็กซี่มิเตอร์ : น. แท็กซี่ที่ติดตั้งมิเตอร์คํานวณค่าโดยสารเป็น ระยะทางกับเวลาตามอัตราที่ทางการกําหนด.
  49. ธงชัย ๒ : น. กาลโยคอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์ คือ เวลาประกอบด้วยโชคคราวชนะ เข้าไปถึงที่ซึ่งศัตรูจะตั้งอยู่ไม่ได้.
  50. ธนาคารพาณิชย์ : (กฎ) น. ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภท รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ และ ใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋ว แลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ หมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจดังกล่าวด้วย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-933

(0.1128 sec)