Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Budhism Thai-Thai Dict : ตา, 427 found, display 351-400
  1. วัตร : กิจพึงกระทำ, หน้าที่, ธรรมเนียม, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ จำแนกออกเป็น กิจวัตร วาด้วยกิจที่ควรทำ (เช่น อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร) ๑.จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ (เช่น ไม่ทิ้งขยะทางหน้าต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพง ไม่จับวัตถุอนามาส) ๑.วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ (เช่น วิธีเก็บบาตร วิธีพับจีวร วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู วิธีเดินเป็นหมู่), วัตรส่วนมากมาในวัตตขันธกะ
  2. วิกขัมภนวิมุตติ : พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้ ได้แก่ ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)
  3. วิกาล : ผิดเวลา, ในวิกาลโภชนสิกขาบท (ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล) หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ส่วนในอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ ในภิกขุนีวิภังค์ (ห้ามภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาวิกาล เอาที่นอนปูลาดนั่งนอนทับโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเจ้าบ้าน) หมายถึงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ในสิงคาลกสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สุตตันตปิฎก กล่าวถึงการเที่ยวซอกแซกในเวลาวิกาลว่าเป็นอบายมุขนั้น ก็หมายถึงเวลาค่ำ
  4. วินิบาต : โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ, แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ; อรรถกถาแห่งอิติวุตตกะอธิบายนัยหนึ่งว่าเป็นไวพจน์ของคำว่านรกนั่นเอง อีกนัยหนึ่งว่า หมายถึงกำเนิดอสุรกาย
  5. วิภัตติ : ชื่อวิธีไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสฤกต สำหรับแจกศัพท์โดยเปลี่ยนท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการก ท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการกและกาลเป็นต้น เช่นคำนาม โลโก ว่า โลก, โลกํ ซึ่งโลก, โลกา จากโลก, โลเก ในโลก; คำกิริยา เช่น นมติ ย่อมน้อม, นมตุ จงน้อม, นมิ น้อมแล้ว เป็นต้น
  6. วิมุตติ : ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ ๑.ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว ๒.วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้ ๓.สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด ๔.ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ ๕.นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป; ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ
  7. วิโมกข์ : ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ ๑.สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาแล้วถอนความยึดมั่นได้ มองเห็นความว่าง ๒.อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจัง แล้วถอนนิมิตได้ ๓.อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาได้
  8. วิสุทธิ : ความบริสุทธิ์, ความหมดจด, การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือพระนิพพาน มี ๗ ขั้น คือ ๑.สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล ๒.จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์ ๓.ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ๔.กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ๕.มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง ๖.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน ๗.ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ กล่าวคือ มรรคญาณ
  9. ไวพจน์ : คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ วิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น
  10. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ : ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครูและทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)
  11. สนตพาย : ร้อยเชือกสำหรับร้อยจมูกควาย ที่จมูกควาย (สน = ร้อย, ตพาย = เชือกที่ร้อยจมูกควาย) (พจนานุกรม เขียน สนตะพาย)
  12. สมสีสี : บุคคลผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต; นี้เป็นความหมายหลักตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมายสมสีสี ว่าเป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งใน ๔ อย่าง และแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภท คือ ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่า โรคสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับที่เวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไปเรียกว่า เวทนาสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี สมสีสีในความหมายหลักข้างต้น ก็คือ ชีวิตสมสีสี; อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติ เป็นต้น แสดงสมสีสีไว้ ๓ ประเภท และอธิบายต่างออกไปบ้าง ไม่ขอนำมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ
  13. สมาธิ๓ : คือ ๑.สุญญตสมาธิ ๒.อนิมิตตสมาธิ ๓.อัปปณิหิตสมาธิ; อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑.ขณิกสมาธิ ๒.อุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาสมาธิ
  14. สวนานุตตริยะ : การสดับที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้สดับธรรมของพระพุทธเจ้า (ข้อ ๒ ในอนุตตริยะ ๖)
  15. สหชาต : “ผู้เกิดร่วมด้วย” หมายถึง บุคคล (ตลอดจนสัตว์และสิ่งของ) ที่เกิดร่วมวันเดือนปีเดียวกัน อย่างเพลา หมายถึง ผู้เกิดร่วมปีกัน; ตำนานกล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูตินั้น มีสหชาต ๗ คือ พระมารดาของเจ้าชายราหุล (เจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา) พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้ง ๔ (นิธิกุมภี)
  16. สหชาติ : ผู้เกิดร่วมด้วย หมายถึง บุคคล (ตลอดจนสัตว์และสิ่งของ) ที่เกิดร่วมวันเดือนปีเดียวกัน อย่างเพลา หมายถึง ผู้เกิดร่วมปีกัน; ตำนานกล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูตินั้น มีสหชาต ๗ คือ พระมารดาของเจ้าชายราหุล (เจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา) พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้ง ๔ (นิธิกุมภี)
  17. สหธรรมิก : ผู้มีธรรมร่วมกัน, ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส แห่งพระสุตตันตปิฏก มี ๗ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา; ในสัตตาหกรณียะ สหธรรมิก ๕ (คัมภีร์ฝ่ายวินัยทั่วไปก็มักหมายเฉพาะจำนวน ๕)
  18. สังขาร : ๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา
  19. สัตตบรรณคูหา : ชื่อถ้ำที่ภูเขาเวภารบรรพต ในกรุงราชคฤห์ เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์ และเป็นที่ทำ สังคายนา ครั้งแรก; เขียน สัตตปัณณิคูหา หรือ สัตตบัณณคูหา ก็มี
  20. สัตตัมพเจดีย์ : เจดีย์สถานแห่งหนึ่งที่ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์
  21. สัตตุผง สัตตุก้อน : ข้าวตู เสบียงเดินทางที่ ๒ พ่อค้า คือ ตปุสสะ กับภัลลิกะ ถวายแด่พระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ
  22. สัทธัมมปกาสินี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในปฏิสัมภิทามรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก พระมหานามรจนาในเกาะลังกา ประมาณ พ.ศ.๑๐๖๐
  23. สัทธาวิมุต : “ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา”, พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุอรหัตตผลกลายเป็น ปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล
  24. สัปปิโสณฑิกา : ชื่อเงื้อมเขาแห่งหนึ่งอยู่ที่สีตวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์
  25. สัมภเวสี : ผู้แสวงสมภพ, ดู ภูตะ
  26. สัมมาทิฏฐิสูตร : พระสูตรแสดงความหมายต่าง ๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร (สูตรที่ ๙ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฏก)
  27. สัมมาวิมุตติ : พ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ (ข้อ ๑๐ ในสัมมัตตะ ๑๐)
  28. สามัญญผลสูตร : สูตรที่ ๒ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะคือประโยชน์ที่จะได้จากการดำรงเพศเป็นสมณะ หรือบำเพ็ญสมณธรรม
  29. สารัตถทีปนี : ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในสมันตปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎก พระสารีบุตรเถระแห่งเกาะลังกา เป็นผู้รจนาในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ.ศ.๑๖๙๖-๑๗๒๙)
  30. สารัตถปกาสินี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในสังยุตตนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์รจนาในเกาะลังกา เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  31. สารันทเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่งที่เมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์ บาลีเป็น สารันททเจดีย์
  32. สิกขานุตตริยะ : การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิตต์ และอธิปัญญา (ข้อ ๔ ในอนุตตริยะ ๖)
  33. สีลขันธวรรค : ตอนที่ ๑ ใน ๓ ตอนแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย พระสุตตันตปิฏก
  34. สุตตนิบาต : ชื่อคัมภีร์ที่ ๕ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฏก
  35. สุตพุทธะ : ผู้รู้เพราะได้ฟัง, ผู้รู้โดยสุตะ หมายถึง บุคคลที่เป็นพหูสูต ดู พุทธะ
  36. สุทโธทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ซึ่งเป็นราชาผู้ครองแคว้นศากยะ หรือสักกชนบท ณ นครกบิลพัสดุ์ มีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา หรือเรียกสั้น ๆ ว่ามายา เมื่อพระนางมายาสวรรคตแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เป็นพระมเหสีต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระราชบิดาของพระสิทธัตถะ เป็นพระอัยกาของพระราหุล และเป็นพระพุทธบิดา พระองค์สวรรคตในปีที่ ๕ แห่งพุทธกิจก่อนสวรรคต พระพุทธเจ้าไดเสด็จไปแสดงธรรมโปรดให้ได้ทรงบรรลุอรหัตตผล และได้เสวยวิมุตติสุข ๗ วันก่อนปรินิพพาน
  37. สุภัททะ : ปัจฉิมสิกขิสาวก (สาวกผู้ทันเห็นองค์สุดท้าย) ของพระพุทธเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ปัจฉิมสาวก เดิมเป็นพราหมณ์ตระกูลใหญ่ ต่อมาออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน สุภัททปริพาชกได้ยินข่าวแล้วคิดว่าตนมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อแก้ข้อสงสัยนั้นเสียก่อนที่จะปรินิพพาน จึงเดินทางไปยังสาลวัน ตรงไปหาพระอานนท์ แจ้งความประสงค์ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอานนท์ได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าพระองค์เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้ว จะเป็นการรบกวนให้ทรงลำบาก สุภัททปริพาชกก็คะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้ พระอานนท์ก็ยืนกรานห้ามอยู่ถึง ๓ วาระ จนพระผู้มีพระภาคทรงได้ยินเสียงโต้ตอบกันนั้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่าสุภัททะมุ่งหาความรู้ มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์ ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าแล้ว ทูลถามว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ เหล่าครูทั้ง ๖ นั้น ล้วนได้ตรัสรู้จริงทั้งหมดตามที่ตนปฏิญญา หรือได้ตรัสรู้เพียงบางท่านหรือไม่มีใครตรัสรู้จริงเลย พระพุทธเจ้าทรงห้ามเสียและตรัสว่าจะทรงแสดงธรรม คือ หลักการหรือหลักความจริงให้ฟัง แล้วตรัสว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด สมณะ (คืออริยบุคคลทั้ง ๔) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะทั้ง ๔ จึงมีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะ และตรัสสรุปว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอยู่โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ให้บวชสุภัททะในสำนักของพระองค์ โดยประทานพุทธานุญาตพิเศษให้ยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ท่านสุภัททะบวชแล้วไม่นาน (อรรถกถาว่าในวันนั้นเอง) ก็ได้บรรลุอรหัตตผล นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก
  38. สุมังคลวิลาสินี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  39. สูตร : พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่ง ๆ ในพระสุตตันตปิฎก แสดงเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน, ถ้าพูดว่าพระสูตร มักหมายถึงพระสุตตันตปิฏกทั้งหมด
  40. เสขะ : ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค, พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
  41. โสณทัณฑสูตร : สูตรที่ ๔ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่โสณทัณฑพราหมณ์
  42. องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ : คือ ๑) ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๒) อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ๓) ภัสสปริยันตะ พูดคุยมีขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา ๔) กายวูปกาสะ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ๕) สัมมาทัสสนะ ตั้งตนไว้ในความเห็นชอบ
  43. อนมานสูตร : สูตรที่ ๑๕ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก เป็นภาษิตของพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยธรรมอันทำคนให้เป็นผู้ว่ายากหรือว่าง่าย การแนะนำตักเตือนตนเอง และการพิจารณาตรวจสอบตนเองของภิกษุ
  44. อนังคณสูตร : ชื่อสูตรที่ ๕ แห่งมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก เป็นคำสนทนาระหว่างพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ ว่าด้วยกิเลสอันยวนใจ และความต่างแห่งผู้มีกิเลสยวนใจกับผู้ไม่มีกิเลสยวนใจ
  45. อนัตตลักขณสูตร : ชื่อพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ ว่าเป็นอนัตตาพระศาสดาทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จพระอรหัต ด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้ (มาในมหาวรรค พระวินัยปิฎก และในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)
  46. อโนมา : ชื่อแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นมัลละ พระสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา มาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งนายฉันนะให้นำม้าพระที่นั่งกลับคืนพระนคร ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิษฐานเพศบรรพชิต ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมานี้
  47. อรรถศาสน์ : คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ ๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๒) สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า ๓) ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน
  48. อรหันต์ : ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก ; พระอรหันต์ ๔ คือ ๑) พระสุกขวิปัสสก ๒) พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓) ๓) พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖) ๔) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔); พระอรหันต์ ๕ คือ ๑) พระปัญญาวิมุต ๒) พระอุภโตภาควิมุต ๓) พระเตวิชชะ ๔) พระฉฬภิญญะ ๕) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ดู อริยบุคคล
  49. อรหันตขีณาสพ : พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ใช้สำหรับพระสาวก, สำหรับพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง
  50. อริยบุคคล : บุคคลผู้เป็นอริยะ, ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น มี ๔ คือ ๑) พระโสดาบัน ๒) พระสกทาคามี (หรือสกิทาคามี) ๓) พระอนาคามี ๔) พระอรหันต์; แบ่งพิสดารเป็น ๘ คือ พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลคู่ ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามมิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล คู่ ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล คู่๑, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่ ๑
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-427

(0.0292 sec)