Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทหารพราน, พราน, ทหาร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทหารพราน, 216 found, display 101-150
  1. ประจำการ : ว. อยู่ในตําแหน่งหน้าที่ประจํา, ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติ หน้าที่, เช่น ทหารประจําการ.
  2. ประทวน : น. ฐานันดรที่ตํ่ากว่าชั้นสัญญาบัตร เช่น นายทหารชั้นประทวน; สมณศักดิ์ชั้นตํ่ากว่าพระครูสัญญาบัตร; (โบ) หนังสือแทนสารกรมธรรม์.
  3. ประเทศราช : [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
  4. ปลอดทหาร : น. เรียกดินแดนหรือเขตที่ไม่มีที่ตั้งกองทหารตามสนธิ สัญญาหรือข้อตกลงว่า เขตปลอดทหาร.
  5. ปัตตานีกะ, ปัตตานึก : น. กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่ง กระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก หรือ ปัตตานีกะ (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
  6. ปัตติก : (แบบ) น. พลเดินเท้า, ทหารราบ. (ป., ส.).
  7. เป้ : ว. เอน, ตะแคง, เบี้ยว, ไม่ตรงที่. น. เครื่องหลังของทหาร ตำรวจเป็นต้น.
  8. ฝึก : ก. ทํา (เช่นบอก แสดง หรือปฏิบัติ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจจนเป็นหรือมีความชํานาญ เช่น ฝึกทหาร ฝึกกายบริหาร ฝึกงาน.
  9. พนโคจร : [พะนะโคจอน] น. ชาวป่า, พรานป่า. (ส. วนโคจร).
  10. พนจร, พนจรก : [พะนะจอน, พะนะจะรก] น. ชาวป่า, พรานป่า. (ป., ส. วนจร, วนจรก).
  11. พเนจร : น. ผู้เที่ยวป่า, พรานป่า; โดยปริยายหมายความว่า ร่อนเร่ไป, เที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย. (ป., ส. วเนจร).
  12. พรรคกลิน : [พักกะลิน] น. เหล่าทหารเรือที่เป็นช่างกลประจําท้องเรือ.
  13. พรรคนาวิกโยธิน : [พักนาวิกกะ] น. เหล่าทหารเรือที่ประจําการ พลรบฝ่ายบก.
  14. พรรคนาวิน : [พัก] น. เหล่าทหารเรือที่ประจําการพลรบ.
  15. พรึบ, พรึ่บ : ว. กิริยาที่ทําพร้อม ๆ กันในทันทีทันใด เช่น ทหารเดินแถวตบเท้าพรึบ ดอกไม้บานพร้อมกันพรึ่บ.
  16. พลขับ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะ.
  17. พลรบ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายรบ.
  18. พลร่ม : [พน] น. หน่วยทหารหรือตำรวจที่ได้รับการฝึกให้กระโดด ร่มชูชีพจากเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์.
  19. พลเรือน : [พนละ] น. ผู้ซึ่งไม่ใช่ทหาร. ว. ที่ไม่ใช่ทหาร เช่น ข้าราชการพลเรือน.
  20. พลากร : [พะลากอน] น. กองทหารเป็นจํานวนมาก. (ป. พล + อากร).
  21. พลาธิการ : น. หน่วยงานของทหารและตํารวจ มีหน้าที่ควบคุมการ จัดที่พัก จัดเครื่องใช้ จัดอาหาร ฯลฯ; (โบ) หัวหน้ากรมในกองทัพบก ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการนี้.
  22. พลานึก : น. ทหาร, นักรบที่ต้องใช้กําลังกาย. (ป., ส. พลานีก).
  23. พัน ๑ : ว. เรียกจํานวน ๑๐ ร้อย. น. ตําแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูง กว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตําแหน่ง หัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้น สัญญาบัตรรองจากนายพล.
  24. พันจ่า : น. ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นประทวนสูงกว่าจ่า เช่น พันจ่าตรี พันจ่าอากาศเอก.
  25. พู่ : น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชู ก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า.
  26. ไพร่พล : น. กําลังทหาร, กําลังคน.
  27. ไพร่สม : (โบ) น. ชายฉกรรจ์ อายุครบ ๑๘ ปี เข้ารับราชการทหาร ฝึกหัดอยู่ ๒ ปี แล้วย้ายมาเป็นไพร่หลวง.
  28. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  29. มหาชัย : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธาน ในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคําปราศรัยจบลงก็ บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสําคัญ งานสโมสร สันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดําเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลงจะใช้เพลงมหาชัย เป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสํานักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกําหนด ให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลง เป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือ นายกรัฐมนตรี.
  30. มหาดเล็ก : น. ข้าราชการในพระราชสํานักมีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่รับใช้ประจําเจ้านาย หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย, เรียกทหารที่มีหน้าที่รักษาพระองค์ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ว่า ทหารมหาดเล็ก, เรียกเต็มว่า ทหารมหาดเล็ก รักษาพระองค์.
  31. มหาอำนาจ : ว. เรียกประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางทหารสูงว่า ประเทศมหาอำนาจ.
  32. มิคลุท, มิคลุทกะ : [-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่ เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).
  33. มีดแป๊ะกั๊ก : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปแบนยาวประมาณ ๑ ศอก สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ศอก ใช้เป็นอาวุธสำหรับทหารเดินเท้า ในกองทัพสมัยโบราณ.
  34. แมวมอง : น. กองทหารที่มีหน้าที่คอยเหตุ, แมวเซา ก็เรียก; ผู้ที่คอยสังเกตหรือซุ่มดู ว่ามีใครสวยหรือเล่นกีฬาเก่ง แล้วแนะนำให้วงการที่เกี่ยวข้องชักชวนมาเป็นดารา ประกวดความงาม หรือร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น.
  35. ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
  36. ย่อพล : ก. ย่นหรือย่อแนวกําลังทหารให้สั้นเข้า.
  37. ยุทธโยธา : น. งานช่างที่เกี่ยวกับทหาร เช่น การขุดคูสนามเพลาะ.
  38. ยุทธศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยาม สงบและยามสงคราม. ว. ที่มีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม เช่น จุดยุทธศาสตร์.
  39. ยุทโธปกรณ์ : น. วัสดุอุปกรณ์ทั้งปวงและยุทธภัณฑ์ทุกชนิดซึ่งใช้ใน ราชการทหาร รวมทั้งเครื่องมือยานยนตร์ ชิ้นส่วนอะไหล่สาธารณูปโภค อันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการรบหรือเพื่อดำรงและสนับสนุนกิจกรรมทาง ทหารโดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีความมุ่งหมายทางธุรการหรือทางการรบ.
  40. โยธวาทิต : น. แตรวงทหารและตํารวจ.
  41. รถวิทยุ : น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการ ทราบเป็นระยะ ๆ.
  42. รถานึก : น. กองทัพเหล่ารถ, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป., ส. รถานีก).
  43. ร้อย ๓ : น. ยศทหารบกหรือตํารวจชั้นสัญญาบัตรชั้นต้น ตํ่ากว่านายพันหรือ นายพันตํารวจ เช่น นายร้อย ร้อยตรี ร้อยตํารวจโท.
  44. ระดมพล : ก. เกณฑ์ทหารเข้าประจำกองทัพอย่างรีบด่วน.
  45. รักษาการณ์ : ก. เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น มีทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา. ว. ที่เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น ทหารรักษาการณ์ ยามรักษาการณ์.
  46. รัชชูปการ : น. เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล.
  47. รับจ้าง : ก. รับทำงานเพื่อค่าจ้าง เช่น รับจ้างทำงานบ้าน. ว. ที่รับทำงาน เพื่อค่าจ้าง เช่น ทหารรับจ้าง มือปืนรับจ้าง.
  48. รับใช้ : ก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วย ความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นาย หรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.
  49. รับมือ : ก. ต่อต้าน, กําราบ, เช่น ส่งกองทหารไปรับมือข้าศึกที่ชายแดน.
  50. รั้ว : น. เครื่องล้อมกันเป็นเขตของบ้านเป็นต้น มักทำด้วยเรียวไผ่ ต้นไม้ ขนาดเล็กหรือสังกะสี เช่น รั้วมะขามเทศ รั้วสังกะสี, โดยปริยายเรียก ทหารซึ่งทำหน้าที่เป็นกำลังป้องกันชาติว่า รั้วของชาติ.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-216

(0.0139 sec)