Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทหาร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทหาร, 193 found, display 51-100
  1. จเร : [จะ-] น. ผู้ดูแลทั่ว ๆ ไป, ผู้ตรวจตราทั่ว ๆ ไป, เช่น จเรตำรวจ จเรทหาร. ก. ตระเวนไป.
  2. จอมพล : น. ยศทหารบกชั้นสูงสุด, ถ้าเป็นทหารเรือ เรียก จอมพลเรือ, ถ้าเป็นทหารอากาศเรียก จอมพลอากาศ.
  3. จ่า ๑ : น. หัวหน้า, หัวโจก, เช่น จ่าฝูง จ่าโขลง; ยศทหารและตํารวจชั้นประทวน
  4. จิงโจ้ ๔ : น. เรียกทหารผู้หญิงในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ ว่า ทหารจิงโจ้.
  5. จุดยุทธศาสตร์ : น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
  6. เจ้ากรม : น. หัวหน้ากรมในราชการฝ่ายทหาร, (โบ) หัวหน้ากรมในราชการ ฝ่ายพลเรือน เช่น เจ้ากรมสวนหลวง. (สามดวง), หัวหน้ากรมของเจ้าต่างกรม.
  7. ฉกรรจ์ลำเครื่อง : (โบ) น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะ เข้ารบได้ทันทีเช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย. (พงศ. เลขา).
  8. ชุมสาย : น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย; เรียกพระที่นั่งสําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระบรมราชินีประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็นแท่น สี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหม ห้อยว่า พระที่นั่งชุมสาย. (รูปภาพ ชุมสาย)
  9. เชิงเทิน : น. ที่ดินที่พูนสูงขึ้นเป็นเชิงของป้อมปราการ, พื้นที่ ว่างภายในป้อมสําหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่ตรวจการณ์หรือ ต่อสู้ข้าศึก.
  10. ซีป่าย : น. ชื่อทหารกองหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๔ เอาแบบมาจากทหารซีปอย.
  11. ดาว ๑ : น. สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืด นอกจาก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์, แต่ในตําราโหราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์และ ดวงจันทร์เป็นดาวในพวกดาวนพเคราะห์; เรียกกลุ่มดาว เช่น ดาวลูกไก่ ดาวจระเข้ ดาวไถ; เรียกบุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง; เรียกสิ่งที่มีรูป เป็นแฉกคล้ายคลึงเช่น นั้น เช่น ดาวเครื่องหมายยศทหารตํารวจ; ชื่อ ลายประดับเพดานเป็นดวง ๆ มีหลายชนิด เช่น ดาวจงกล ดาวรังแตน ดาวกระจาย.
  12. ดุรงคี : น. ม้าตัวเมีย; คนขี่ม้า, ทหารม้า. (ป. ตุรงฺคี; ส. ตุรงฺคินฺ).
  13. ดุลอำนาจ : [ดุน-] น. การถ่วงอํานาจระหว่างประเทศให้มีพลังทางเศรษฐกิจ หรือทางทหารทัดเทียมกัน.
  14. ตบเท้า : ก. อาการเดินกระแทกตีนกับพื้นแรง ๆ ของทหารหรือตํารวจ เป็นต้นเรียกว่า เดินตบเท้า.
  15. แถว : น. แถบ เช่น คนแถวนี้, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร.
  16. ทรงหม้อตาล : น. เรียกหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวก ที่พลทหารเรือและจ่าทหารเรือเป็นต้นสวมว่า หมวกทรงหม้อตาล.
  17. ทหารผ่านศึก : (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ใน ราชการทหารหรือบุคคลซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวง กลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่นั้นในการสงครามหรือ ในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการ ปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานัก นายกรัฐมนตรีกําหนด.
  18. ท้องแบน : น. ชื่อเรือชนิดหนึ่งมีท้องแบน กินนํ้าตื้น สําหรับลําเลียง ทหารหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นบก.
  19. ทัณฑกรรม : [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการเพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติ อยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
  20. ทัพ ๑ : น. กองทหาร, ลักษณนามว่า กอง หรือ ทัพ.
  21. ธงฉาน : (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธง มีรูปจักร ๘ แฉกแฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้ พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือ หลวง หรือเป็นธงสําหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้น ไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนํากระบวนกองชนะ มี ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม.
  22. ธรรมนูญ : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
  23. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  24. นายธง : ( น. นายทหารเรือคนสนิทของผู้บัญชาการทหารเรือหรือแม่ทัพเรือ เป็นต้น.
  25. นาวา ๑ : น. ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตร สูงกว่าเรือเอกหรือ เรืออากาศเอก ตํ่ากว่าพลเรือตรีหรือพลอากาศตรี.
  26. นาวิกโยธิน : [นาวิกกะ] น. ทหารเรือฝ่ายบก.
  27. นาวิน : น. คนเรือ, ทหารเรือที่ประจําการพลรบในกองทัพเรือ. (ส.).
  28. บก : น. ส่วนของผิวพื้นโลกที่ไม่ใช่ทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น, ภาค พื้นดิน เช่น ทหารบก ทางบก, ที่ที่แห้ง, ที่ที่พ้นจากนํ้า, เช่น ขึ้นบก
  29. บด ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมักท้ายตัด อย่างเรือบดทหารเรือ.
  30. บรรตานึก : [บันตานึก] (แบบ) น. ปัตตานึก, พลเดินเท้า, ทหารราบ. (ป., ส. ปตฺตานีก).
  31. บั้ง : ก. เชือดหรือฟันให้เป็นแผลตามขวาง เช่น บั้งปลา. น. รอยเชือดเป็น แผลตามขวาง เช่น กรีดยางเป็นบั้ง ๆ; เครื่องมือสําหรับถูไม้ คล้ายบุ้ง แต่มีฟันเป็นแถว ๆ, สิ่งที่เป็นแถบ ๆ อย่างเครื่องหมายยศทหารหรือ ตํารวจชั้นประทวนเป็นต้น; กระบอกไม้ไผ่.
  32. บาทภัฏ : [บาดทะพัด] น. ทหารเดินเท้า, ทหารราบ. (ส. ปาทภฏ).
  33. เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
  34. ใบกองเกิน : (กฎ) น. ใบสําคัญทหารกองเกิน ที่นายอําเภอออก ให้แก่ชายซึ่งมีสัญชาติไทย และมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี ที่ได้ไปลง บัญชีทหารกองเกิน.
  35. ใบกองหนุน : (กฎ) น. ใบสําคัญทหารกองหนุน ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยสัสดีจังหวัดออกให้แก่ทหารกองประจําการที่รับราชการ เป็นทหารกองประจําการจนครบกําหนด หรือทหารกองเกินที่มีอายุ ครบกําหนด ปลดเป็นทหารกองหนุนแล้ว.
  36. ใบดำ : น. (โบ) ใบแจ้งกําหนดการฌาปนกิจศพ; ใบสลากที่จัดไว้ ให้ผู้ที่เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารจับ ถ้าจับได้ใบดํา ก็ไม่ต้องเป็นทหาร.
  37. ใบแดง : น. (โบ) ใบแจ้งกําหนดการมงคลสมรส; ใบสลากที่จัด ไว้ให้ผู้ที่เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารจับ ถ้าจับได้ ใบแดงก็ต้องเป็นทหาร; ใบแสดงการลงโทษในการแข่งขัน ฟุตบอลที่ผู้เล่นกระทำผิดกติการุนแรง เป็นการไล่ออก.
  38. ประจำการ : ว. อยู่ในตําแหน่งหน้าที่ประจํา, ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติ หน้าที่, เช่น ทหารประจําการ.
  39. ประทวน : น. ฐานันดรที่ตํ่ากว่าชั้นสัญญาบัตร เช่น นายทหารชั้นประทวน; สมณศักดิ์ชั้นตํ่ากว่าพระครูสัญญาบัตร; (โบ) หนังสือแทนสารกรมธรรม์.
  40. ประเทศราช : [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
  41. ปลอดทหาร : น. เรียกดินแดนหรือเขตที่ไม่มีที่ตั้งกองทหารตามสนธิ สัญญาหรือข้อตกลงว่า เขตปลอดทหาร.
  42. ปัตตานีกะ, ปัตตานึก : น. กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่ง กระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก หรือ ปัตตานีกะ (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
  43. ปัตติก : (แบบ) น. พลเดินเท้า, ทหารราบ. (ป., ส.).
  44. เป้ : ว. เอน, ตะแคง, เบี้ยว, ไม่ตรงที่. น. เครื่องหลังของทหาร ตำรวจเป็นต้น.
  45. ฝึก : ก. ทํา (เช่นบอก แสดง หรือปฏิบัติ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจจนเป็นหรือมีความชํานาญ เช่น ฝึกทหาร ฝึกกายบริหาร ฝึกงาน.
  46. พรรคกลิน : [พักกะลิน] น. เหล่าทหารเรือที่เป็นช่างกลประจําท้องเรือ.
  47. พรรคนาวิกโยธิน : [พักนาวิกกะ] น. เหล่าทหารเรือที่ประจําการ พลรบฝ่ายบก.
  48. พรรคนาวิน : [พัก] น. เหล่าทหารเรือที่ประจําการพลรบ.
  49. พรึบ, พรึ่บ : ว. กิริยาที่ทําพร้อม ๆ กันในทันทีทันใด เช่น ทหารเดินแถวตบเท้าพรึบ ดอกไม้บานพร้อมกันพรึ่บ.
  50. พลขับ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-193

(0.0107 sec)