Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ที , then ทิ, ที .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ที, 203 found, display 151-200
  1. แล้ : ว. สุดกําลังความสามารถ (ใช้แก่แขนหรือไหล่ที่กําลังหามหรือคอน เป็นต้น), มักใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มแล้; แท้, จริง, ทีเดียว, ฉะนี้, เช่น วรรคหนึ่งพึงเติมแล้ เล่ห์นี้จงยล เยี่ยงนา.
  2. แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
  3. และเล็ม : ก. กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กและเล็มขนม แกะและเล็มหญ้า เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น และเล็มยอดตำลึง และเล็มยอดกระถิน; เล็ม ก็ว่า.
  4. และเลียม : ก. พูดเกี้ยวผู้หญิงทีเล่นทีจริง เช่น ชายเจ้าชู้และเลียมผู้หญิง; เลียบเคียงเข้าไปทีละน้อย เช่น เด็กและเลียมเข้ามาขอขนมกิน.
  5. วันแล้ววันเล่า : ว. เป็นเช่นนั้นติดต่อกันยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ทำงานวันแล้ววันเล่าไม่รู้จักเสร็จ คอยวันแล้ววันเล่าก็ไม่มาสักที.
  6. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  7. ว่าขาน : ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลาย ที่โกรธา ฯ (อิเหนา).
  8. วางปึ่ง : ก. ทำท่าไว้ยศไม่อยากพูดจาด้วย; ทำทีเฉยแสดงอาการ คล้ายกับโกรธ.
  9. วางแผน : ก. กะกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป, วางแผนการ ก็ว่า; ทำท่าทีใหญ่โต เช่น ทำวางแผนเป็นขุนนางชั้นสูง.
  10. วิ่งเปี้ยว : น. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับ ช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตี ฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ.
  11. วิหลั่น : น. ค่ายที่ทําให้ขยับลุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ.
  12. ศรศิลป์ไม่กินกัน : (กลอน) ก. ทําอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศร
  13. สนุกเกอร์ : [สะนุก] น. ชื่อกีฬาในร่มชนิดหนึ่งเล่นบนโต๊ะบิลเลียด ผู้เล่นใช้ไม้ แทงลูกเรียกว่า ไม้คิว แทงลูกกลมสีขาวให้กระทบลูกกลมสีต่าง ๆ ซึ่งมีลูกแดง ๑๕ ลูก ลูกดํา ชมพู นํ้าเงิน นํ้าตาล เขียว และเหลือง อีก อย่างละ ๑ ลูก ให้ลงหลุมทีละลูกตามที่กําหนดไว้ในกติกา หรือทําให้ คู่ต่อสู้ไม่สามารถแทงลูกสีขาวให้กระทบกับลูกที่ต้องถูกกระทบได้ ซึ่งเรียกว่า ทําสนุก. (อ. snooker).
  14. สวมรอย : ก. เข้าแทนที่คนอื่นโดยทําเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็น ตัวจริง เช่น ผู้ร้ายสวมรอยเจ้าของบ้านเข้าไปขโมยของ.
  15. สะดุดตา : ก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตา จริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิก ลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล.
  16. สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
  17. สาด ๒ : ก. ซัดไป เช่น สาดน้ำ สาดโคลน สาดทราย, วักน้ำหรือตักน้ำซัดออกไป โดยแรง เช่นสาดน้ำรดแปลงผัก, ซัดหรือกระเซ็นเข้ามา เช่น ฝนสาด, ซัด หรือยิงอาวุธหรือกระสุนปืนทีละมาก ๆ เช่น สาดอาวุธเข้าหากัน สาดกระสุนเข้าใส่กัน; ส่องแสงเข้ามา เช่น ดวงจันทร์สาดแสง ห้องนี้ แดดสาดทั้งวัน, กระจาย เช่น ถูกตีหัวเลือดสาด.
  18. หนอนบ่อนไส้ : (สํา) น. ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย.
  19. หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์ : ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิด ครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.
  20. หมาหยอกไก่ : (สํา) น. เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาว เป็นทีเล่นทีจริง.
  21. หมูไปไก่มา : (สํา) ลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของ แลกเปลี่ยนหรือตอบแทนซึ่งกันและกันเป็นต้น.
  22. หย่อย, หย่อย ๆ : ว. เรื่อย ๆ, บ่อย ๆ, เช่น มากันหย่อย ๆ ไม่ขาดสาย, น้อย ๆ เช่น ให้เงิน ทีละหย่อย.
  23. หยิกแกมหยอก : (สำ) ก. เหน็บแนมทีเล่นทีจริง.
  24. หัวเบี้ย : น. ผู้ที่เก็บและจ่ายเงินในวงถั่วโปเป็นต้น; (โบ) จํานวนเงินขนอน ตลาดที่เรียกเก็บเอาไว้ในทีแรก.
  25. หัวปี : ว. ทีแรก, เกิดก่อนเพื่อน, เช่น ลูกคนหัวปี.
  26. เหยียบเรือสองแคม : (สํา) ก. ทําทีเข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่าย.
  27. อาทิ : น. ต้น ในคําว่า เป็นอาทิ, เป็นเบื้องต้น, ทีแรก, ข้อต้น. (ป., ส.).
  28. เอื้อง ๒ : น. หญ้าและใบไม้เป็นต้นที่สัตว์บางจําพวกเช่นวัวควายกินเข้าไป ในกระเพาะทีหนึ่งแล้วสํารอกออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด ในคำว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง. ว. เรียกอาการที่สัตว์บางจำพวกเช่น วัวควายสํารอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียดว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง; โดยปริยายหมายความว่า ทําอะไรช้า ๆ.
  29. เอื้อนอรรถ, เอื้อนเอ่ย, เอื้อนโอฐ ๒ : (กลอน) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออก มาง่าย ๆ.
  30. นวอรหาทิคุณ, นวารหาทิคุณ : [นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
  31. กระทิกกระทวย : ว. ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวย รวยระรื่นจนสิ้นตัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  32. -กระทวย : ใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย.
  33. คุณวุฒิ : [คุนนะวุดทิ, คุนนะวุด] น. ความรู้ความสามารถของบุคคล, ระดับการศึกษา, เช่น เขามีคุณวุฒิเหมาะจะเป็นครู.
  34. แคลคูลัส : [แคน-] น. คณิตศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับค่าของจํานวน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกเป็น แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ และแคลคูลัสเชิงอินทิกรัล. (อ. calculus).
  35. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  36. ทยา ๑ : [ทะ-] (แบบ) น. ความเอ็นดู, ความกรุณา, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น ทยาทิคุณ. (ป., ส.).
  37. ทวีคูณ : ว. ๒ เท่า. (ส. ทฺวิคุณ; ป. ทิคุณ).
  38. ทัณฑิกา : [ทันทิ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีกลอนสัมผัสกันคล้ายกาพย์ สุรางคนางค์. (ชุมนุมตํารากลอน).
  39. ทัณฑิมา : [ทันทิ-] น. ชื่อนกในพวกสัตว์หิมพานต์ รูปเป็นครุฑถือกระบอง.
  40. ปริสุทธิ : [ปะริสุดทิ] ก. บริสุทธิ์. (ป.).
  41. พรรษวุฒิ : [พันสะวุดทิ] น. การเจริญแห่งปี; วันเกิด.
  42. พุฒิ : [พุดทิ] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์. (ป. วุฑฺฒิ).
  43. พุทธิ : [พุดทิ] น. ปัญญา, ความฉลาด. (ป.).
  44. ภาวศุทธิ : [พาวะสุดทิ] น. ความบริสุทธิ์แห่งใจ. (ส.).
  45. มหิทธิ : [มะหิดทิ] ว. มีฤทธิ์มาก. (ป. มหา + อิทฺธิ).
  46. ลกาธิบดี : [–ทิบอดี, –ทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก. (ป. โลกาธิปติ).
  47. วัยวุฒิ : [ไวยะวุดทิ, ไวยะวุด] น. ความเป็นผู้ใหญ่โดยอายุ. (ป. วย + วุฑฺฒิ).
  48. ศุทธะ, ศุทธิ : [สุดทะ, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุทฺธ, สุทฺธิ).
  49. สนธิ : น. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียง ให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็นพจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).
  50. สมิทธ์, สมิทธิ : [สะมิด, สะมิดทิ] ว. สําเร็จพร้อม, สมบูรณ์, สัมฤทธิ์, เขียนว่า สมิต ก็มี. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-203

(0.0395 sec)