Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผู้รับมรดก, ผู้รับ, มรดก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผู้รับมรดก, 93 found, display 51-93
  1. บริพาร : [บอริพาน] น. ผู้แวดล้อม, ผู้รับใช้หรือผู้ห้อมล้อมติดตาม. (ป. ปริวาร).
  2. บสำคัญคู่จ่าย : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน; (กฎ) หลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน หลักฐานของธนาคารแสดง การจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ผู้รับที่ธนาคาร และรวมถึงใบนําส่งเงินต่อคลังด้วย.
  3. เบี้ยประกันภัย : (กฎ) น. จํานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระ ให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์ หรือค่าสินไหมทดแทน เมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความ เสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้.
  4. ใบเหยียบย่ำ : (กฎ; เลิก) น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ซึ่งกําหนด ให้ผู้รับอนุญาตต้องทําประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๒ ปี.
  5. ปฏิคม : น. ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ.
  6. ปฏิคาหก : น. ผู้รับทาน. (ป. ปฏิคฺคาหก).
  7. ประกันชีวิต : (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคล คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา ประกันชีวิต.
  8. ประชาสัมพันธ์ : ก. ติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้อง ต่อกัน. น. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการนี้.
  9. ประทวนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกโดยระบุชื่อ ผู้ฝากสินค้า ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจํานําสินค้าที่จดแจ้งไว้ ในประทวน โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง.
  10. ปรึกษา : [ปฺรึกสา] ก. หารือ, ขอความเห็นแนะนํา, พิจารณาหารือกัน, พิจารณาอภิปรายกัน เช่น ประชุมปรึกษา, พิจารณาร่างคําพิพากษา เช่น ผู้ปรึกษา (ในทางศาล). น. เรียกความเห็นแนะนําที่ให้เนื่อง ด้วยการหารือว่า คําปรึกษา, เรียกผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนําว่า ที่ปรึกษา, เรียกผู้รับหารือเพื่อให้ความเห็นแนะนําว่า ผู้รับปรึกษา. (ส. ปรีกฺษา).
  11. ปาฏิโภค : (แบบ) น. ผู้รับประกัน, นายประกัน. (ป.).
  12. ผู้ : น. คำใช้แทนบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรม ราชโองการ หรือใช้แทนคำว่า คน เช่น ผู้นั้น ผู้นี้ ทุกผู้ทุกนาม หรือใช้แทนสิ่งที่ถือเสมือนคน เช่น ศาลเป็นผู้ตัดสิน; คําใช้ ประกอบคํากริยาหรือประกอบคําวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน ผู้ดี. ว. คําบอกเพศ หมายความว่า ตัวผู้ เช่น ม้าผู้ วัวผู้. ส. ที่, ซึ่ง, เช่น บุคคลผู้กระทำความดีย่อมได้รับความสุข.
  13. ผู้ขนส่ง : (กฎ) น. บุคคลผู้รับขนส่งของหรือคนโดยสารเพื่อ บำเหน็จเป็นทางค้าปรกติของตน. (อ. carrier).
  14. ผู้ทรง : (กฎ) น. บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้ รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน.
  15. ฝากทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่ง มอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝากและผู้รับฝาก ตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้.
  16. พิพาท : ก. โต้แย้งสิทธิ์ เช่น พิพาทเรื่องที่ดิน พิพาทเรื่องมรดก. (ป., ส. วิวาท).
  17. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  18. มรณบัตร : [มอระนะบัด] (กฎ) น. หนังสือสําคัญที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการคนตายแก่ผู้แจ้ง.
  19. มหาดเล็ก : น. ข้าราชการในพระราชสํานักมีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่รับใช้ประจําเจ้านาย หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย, เรียกทหารที่มีหน้าที่รักษาพระองค์ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ว่า ทหารมหาดเล็ก, เรียกเต็มว่า ทหารมหาดเล็ก รักษาพระองค์.
  20. มือล่าง : น. ผู้รับไพ่ที่มือบนทิ้งให้.
  21. แม่งาน : น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบในงานบางอย่าง เช่น เขาเป็นแม่งาน ในการจัดเลี้ยงแขกที่มาในงาน.
  22. ยัดเยียด : ก. เบียดกันแน่น, แออัดกันแน่น, เช่น คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน; ขืนหรือแค่นให้โดยผู้รับไม่เต็มใจรับ เช่น ยัดเยียดขายให้, เยียดยัด ก็ว่า, ใช้เพียง ยัด คําเดียวก็มี.
  23. ระบุ : ก. เจาะจง เช่น ระบุชื่อผู้รับ ระบุตัวบุคคล, บ่งชื่อ, ออกชื่อเฉพาะ, เช่น ระบุชื่อพยาน; มีออกมามาก ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น ทุเรียนระบุ เห็ดระบุ ส่าไข้ระบุ.
  24. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  25. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  26. ราชครู : น. พราหมณ์ผู้รับราชการเป็นหัวหน้าพิธีฝ่ายพราหมณ์ เรียกว่า พระราชครู เช่น พระราชครูวามเทพมุนี. (ส. ราชคุรุ).
  27. รู้กันอยู่ในที : ก. รู้เรื่องดีอยู่แล้วระหว่างกันโดยไม่ต้องพูดออกมา เช่น เขารู้กันอยู่ในทีแล้วว่าจะยกมรดกให้แก่ผู้ใด.
  28. เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน : (สํา) น. คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทําให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น.
  29. ลูกช่วง : น. ผู้รับต่อไปอีกทอดหนึ่ง; เรียกผ้าที่ม้วนหรือห่อหญ้า เป็นต้นให้เป็นลูกกลมสําหรับใช้ในการเล่นช่วงชัย.
  30. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  31. เวน : ก. มอบหรือย้ายโอนในอาการที่สละกรรมสิทธิ์ซึ่งมีอยู่ในขณะนั้น เช่น เวนหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบคนต่อไป เวนราชสมบัติ.
  32. ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
  33. ส่งความสุข : ก. ตั้งจิตอธิษฐานให้ผู้รับบัตรอวยพรมีความสุขความเจริญ ในวันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันเกิด.
  34. ส่งใจ : ก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.
  35. สงวน : [สะหฺงวน] ก. ถนอมรักษาไว้ เช่น เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ (โลกนิติ) สงวนมรดกของชาติ, หวงแหนไว้ เช่น สงวนเนื้อสงวนตัว
  36. สมมต, สมมติ, สมมติ, สมมุติ, สมมุติ : [สมมด, สมมด, สมมดติ, สมมุด, สมมุดติ] ก. รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง. สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดก สิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. ว. ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยายโดยไม่คํานึง ถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมติเทพ.
  37. สังฆมนตรี : (กฎ; เลิก) น. ตําแหน่งพระเถระผู้รับผิดชอบในองค์การ ของคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เช่น สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง.
  38. หมายรับสั่ง : น. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า ''ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ''.
  39. หัวคะแนน : (ปาก) น. ผู้รับหาคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง.
  40. ให้ศีลให้พร : ก. กล่าวแสดงความปรารถนาดีให้เกิดสวัสดิมงคล ความเจริญ รุ่งเรืองแก่ผู้รับ เช่น ผู้ใหญ่ให้ศีลให้พรแก่ลูกหลาน.
  41. อาชญา : [อาดยา, อาดชะยา] น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชําระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชําระความแพ่ง; คํา อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คํา อาญา เป็นพื้น.
  42. อาชญาบัตร : [อาดยาบัด, อาดชะยาบัด] (กฎ) น. ใบอนุญาตซึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้ประกอบการ อาชีพบางอย่างตามเขตที่กําหนด.
  43. 1-50 | [51-93]

(0.0116 sec)