Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พ่น , then พน, พ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พ่น, 97 found, display 51-97
  1. พลศาสตร์ : [พนละ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยการเคลื่อนที่ของ เทหวัตถุที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ คือ จลนพลศาสตร์ และ จลนศาสตร์. (อ. dynamics).
  2. พลสิงห์ : [พนละ] น. พนักบันไดอิฐ.
  3. กระแบก : น. ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก. (ม. คําหลวง จุลพน), ตระแบก ก็ว่า.
  4. กระลบ : [-หฺลบ] (กลอน; แผลงมาจาก กลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  5. กระอึก : (กลอน) ก. อึกทึก, อึง, เช่น ตระคอกคึกกระอึกอึง. (กลบท ๒; ม. คําหลวง จุลพน).
  6. กระเอบ : (กลอน) ว. อร่อย, หอมหวาน, เช่น ลิ้มไล้โอชกระเอบหวาน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  7. กรูด ๑ : [กฺรูด] (โบ) น. มะกรูด เช่น งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คําหลวง จุลพน); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) มะกรูด.
  8. กลู่ : [กฺลู่] (โบ; กลอน) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลาด เช่น โกยกลู่กลาดคือลาญใน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  9. กวะแกว่ง : [กฺวะแกฺว่ง] ก. แกว่งไปมา เช่น ช่อช้อยกวะแกว่งไกว. (ม. คําหลวง จุลพน).
  10. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  11. กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
  12. กันลง, กันลอง ๑ : น. แมลงภู่ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. กนฺลง่); ของที่เหลือ, มูลฝอย; การกบฏ, การบุกรุก.
  13. กันลึง : (โบ) ก. จับ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  14. กัลหาย : [กัน-] ก. กรรหาย เช่น ชายใดเดอรร้อนรนน จวนจวบ สร้อยสรสวรก็หายกัลหายหื่นหรรษ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  15. ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  16. กำบน : ก. กัมบน, หวั่นไหว, เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ เอาดอยราชเมรู แลนนทพนชูเปนเซรอด ก็เกอดพิการกำบน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (มาจาก ป., ส. กมฺปน).
  17. กำมัชพล : [-มัดชะพน] น. ชื่อเกณฑ์เลขในคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งคํานวณมาจากจุลศักราช.
  18. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  19. จรรมขัณฑ์ : น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็น เครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
  20. จราว ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว๔).
  21. จลนพลศาสตร์ : [จะละนะพนละ-, จนละนะพนละ-] น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วย การเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง และแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อน ที่นั้นด้วย. (อ. kinetics).
  22. จาว ๔ : น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยาย หมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
  23. จุมพล : [จุมพน] (โบ) น. จอมพล, นายทัพ, ผู้เป็นใหญ่กว่าพล.
  24. จุล- : [จุนละ-] ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นําหน้าคําสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. (ป. จุลฺล).
  25. แจร : [แจฺร] น. ต้นแคแตร เช่น แคแจรเจริญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน).
  26. แจรง : [แจฺรง] (กลอน) ก. แจง, กระจายออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้งาม เงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง. (ม. คำหลวง จุลพน).
  27. ชมไช : (กลอน) ก. ชื่นชมยินดี, รื่นเริง, เช่น พนคณนกหคชมไช. (ม. คําหลวง มหาพน).
  28. ชรุก : [ชฺรุก] (กลอน) ก. ซุก, แอบ, แทรก, เอาของไปแอบแฝงไว้, เช่น ช่อช้อยชรุกระโยงยาน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  29. ดันเหิม : (โบ; กลอน) ก. ตันเหิม, รื่นเริง, บันเทิงใจ, เช่น ดันเหิมหื่นหรรษาโมทย์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  30. ด้าม : น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนาม เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา ๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จ ด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  31. ดำกล : ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งไว้, ในวรรณคดีหมายความว่า งาม เช่น ดํากลดาดด้วย ดวงดาว. (ม. คําหลวงจุลพน). (แผลงมาจาก ถกล).
  32. ถมอ : [ถะหฺมอ, ถะมอ] น. หิน เช่น ดาดดําถมอทะมื่น. (ม. คําหลวง จุลพน).
  33. ทรนาว, ทระนาว : [ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).
  34. ทรสาย : [ทอระ-] (กลอน) น. พุ่มไม้. ว. สยาย, รุงรัง, เช่น ทรสายกิ่งชื้อชัฏ. (ม. คําหลวง จุลพน), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสุม เป็น ทรสายทรสุม ก็มี เช่น กิ่งทรสายทรสุมผกา. (ม. คําหลวง มหาพน).
  35. ทรสุม : [ทอระ-] (กลอน) ว. ซึ่งสุมกัน, เป็นกลุ่ม, เป็นพุ่ม, เป็นช่อ, เช่น ไม้ทรสุมสมกิ่งวันนี้. (ม. คําหลวง กุมาร), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสาย เป็น ทรสุมทรสาย ก็มี เช่น ใบทรสุมทรสายศาล. (ม. คําหลวง จุลพน).
  36. ทุพพล : [ทุบพน] (แบบ) ว. มีกําลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้, ทุรพล ก็ว่า. (ป.; ส. ทุรฺพล).
  37. ทุพพลภาพ : [ทุบพนละพาบ] ว. หย่อนกําลังความสามารถที่จะ ประกอบการงานตามปรกติได้.
  38. นพพล, นพพวง, นพพัน : [นบพน, นบพวง, นบพัน] น. วิธีฝึกหัด เลขโบราณอย่างหนึ่ง.
  39. บง ๓ : ก. คล้อง, ห่ม, เช่น บงบ่าเฉวียง. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. บงกอ ว่า คล้องคอ).
  40. บริพนธ์ : [บอริพน] (แบบ) ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  41. ผงร : [ผะหฺงอน] ก. หงาย, ชูขึ้น, ทรงไว้, เช่น ข้าแต่พระผู้ผงรแผ่นแผ้ว. (ม. คําหลวง จุลพน); ชะเง้อขึ้น เช่น เสือผกผงร. (เสือโค). (ข. ผฺงาร).
  42. พนสณฑ์ : [พะนะ] น. พนขัณฑ์. (ป. วนสณฺฑ; ส. วนขณฺฑ, วนสณฺฑ).
  43. เพ็จ ๒ : ก. เผล็ด, ผลิ, เช่น พิเภทเพ็จผกากาญจน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  44. โยพนะ : [โยบพะนะ] น. ความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพน).
  45. วิจล : [วิจน] ว. อาการที่เคลื่อนไปมา, อาการที่หวั่นไหว, อาการที่ส่ายไปมา; วุ่นวาย, วุ่นใจ, เช่น ในสุรสถานดำหนักพน อย่ารู้วิจลสักอันเลย. (ม. คำหลวง จุลพน). (ส.).
  46. สัมพล, สมพล : [สําพน, สมพน] น. อาหาร, เสบียง. (ป.; ส. ศมฺพล).
  47. 1-50 | [51-97]

(0.0369 sec)