Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สมัยประวัติศาสตร์, ประวัติศาสตร์, สมัย , then ปรวตศาสตร, ประวัติศาสตร์, สมย, สมยปรวตศาสตร, สมัย, สมัยประวัติศาสตร์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สมัยประวัติศาสตร์, 193 found, display 151-193
  1. ละครพูด : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำ ธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัย ที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำ กลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
  2. ละครเพลง : น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกาย แบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง เปลวสุริยา.
  3. ละครร้อง : น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจา ตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
  4. ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
  5. ล้ำหน้า : ว. เกินเลยไปกว่าที่ควร เช่น เขาชอบทำอะไรล้ำหน้า เพื่อนฝูงอยู่เสมอ; ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัย เช่น ความคิดลํ้าหน้า ทํางานลํ้าหน้า.
  6. ลูกเธอ : (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสพระราชธิดาในสมัย รัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๓, คํานําหน้านามพระราชธิดาในสมัย ปลายรัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกเธอ, ถ้ามีพระ มารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ.
  7. ลูกยาเธอ : (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสในสมัยปลาย รัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกยาเธอ, ถ้ามีพระ มารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ.
  8. วรรณกรรม : น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัย รัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น ทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์ด้วย.
  9. วิลาด, วิลาศ : ว. ที่เป็นของยุโรป (เป็นคําที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนเรียก ชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ) เช่น สาคูวิลาด เหล็กวิลาด ผ้าวิลาศ. (เปอร์เซีย wilayat).
  10. วิสามัญ : ว. ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ใช่สามัญ, เช่น ข้าราชการวิสามัญ สมาชิกวิสามัญ ประชุมสมัยวิสามัญ, พิเศษเฉพาะเรื่อง เช่น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  11. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  12. แว่นส่องหน้า : น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะขัดจนเป็นเงา ใช้ส่องหน้าใน สมัยก่อนที่จะมีกระจกเงา.
  13. ศาลโปริสภา : [สานโปริดสะพา] (กฎ; เลิก) น. ศาลชั้นต้นที่ จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทํานองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.
  14. ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
  15. ศิลปศึกษา : น. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์.
  16. สนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจาก หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณ มี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.
  17. สบ : ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วย ซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ แควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).
  18. สมปัก : น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสําหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, ผ้าเกี้ยว ก็เรียก. (เทียบ ข. สํพต ว่า ผ้านุ่ง).
  19. สมุหเทศาภิบาล : น. ผู้สําเร็จราชการมณฑลสมัยโบราณ.
  20. สยมพร : [สะหฺยมพอน] น. พิธีเลือกคู่ของกษัตริย์สมัยโบราณ; การเลือกผัว ของนางกษัตริย์สมัยโบราณ, สยัมพร สยุมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้. (ป. สยํวร; ส. สฺวยํวร).
  21. สยาม, สยาม : [สะหฺยาม, สะหฺยามมะ] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.
  22. สรเลข : [สอระ] น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองในสมัยโบราณ.
  23. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  24. สะดวก : ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่า สมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย.
  25. สะพานช้าง : น. สะพานที่ทำแข็งแรงสำหรับให้ช้างข้ามในสมัย โบราณ, ตะพานช้าง ก็ว่า.
  26. สัด ๑ : น. ภาชนะรูปทรงกระบอก ทําด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว; เครื่องตวงบางชนิดในสมัยโบราณ ใช้ตวงดินปืนบรรจุปากกระบอก ปืน; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๕ ทะนาน เป็น ๑ สัด มีอัตราเท่ากับ ๑ ถัง หรือ ๒๐ ลิตร.
  27. สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
  28. หมวกกะหลาป๋า : น. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรง สูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้น รัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.
  29. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  30. หัวเก่า : ว. นิยมของเก่า, นิยมตามแบบเก่า, (ปาก) ครึ, ไม่ทันสมัย.
  31. หัวโบราณ : ว. นิยมตามแบบเก่าแก่, (ปาก) ครึมาก, ล้าสมัย.
  32. หัวพัน : น. ตําแหน่งข้าราชการโบราณรองจากนายเวรลงมา, หัวหน้าควบคุม ทหารจํานวนพันหนึ่ง; (โบ) นายทหารผู้ช่วยกองเสนาหลวงในสมัยโบราณ.
  33. หัวใหม่ : ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย, ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวสมัยใหม่ ก็ว่า.
  34. อนีก, อนีกะ, อนึก : [อะนีกะ, อะนึก] น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า. (ป., ส.).
  35. อภิธาน : น. หนังสืออธิบายศัพท์เฉพาะเรื่อง เช่น อภิธานประวัติศาสตร์ไทย. (ป., ส.).
  36. ออกญา : น. บรรดาศักดิ์ชั้นสูงที่พระราชทานในสมัยอยุธยา สูงกว่าออกพระ เข้าใจว่ามาจากเขมร.
  37. อักษรบฏ : [อักสอระบด] น. แผ่นผ้าที่เขียนสระ พยัญชนะ ใช้ใน การเรียนการสอนในสมัยโบราณ, ที่ใช้แผ่นกระดาษติดผ้าหรือ แผ่นกระดาษแทน ก็มี. (ส.).
  38. อัจกลับ : [อัดจะกฺลับ] น. โคมอย่างหนึ่งทําด้วยทองเหลือง บางทีมีระย้า ห้อยด้วย ใช้ในสมัยโบราณ.
  39. อัฐ ๑ : [อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสํานวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.
  40. อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
  41. โองโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
  42. ปัจจุสมัย : [ปัดจุดสะไหฺม] น. เวลาเช้ามืด. (ป. ปจฺจูสสมย).
  43. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-193]

(0.0709 sec)