Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หัวหน้าครอบครัว, ครอบครัว, หัวหน้า , then ครอบครว, ครอบครัว, หวหนาครอบครว, หัวหน้า, หัวหน้าครอบครัว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หัวหน้าครอบครัว, 139 found, display 51-100
  1. ดรุณาณัติ : น. ตําแหน่งหัวหน้านักเรียน.
  2. ต้นกล : น. หัวหน้าช่างกลในเรือเดินทะเล เรือรบ เป็นต้น.
  3. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  4. ตั้วโผ : น. หัวหน้าคณะมหรสพ มีละคร งิ้ว เป็นต้น, โต้โผ ก็เรียก. (จ.).
  5. ตั้วเหี่ย : น. ตําแหน่งหัวหน้าอั้งยี่, อั้งยี่. (จ.).
  6. ทนายหน้าหอ : (ปาก) น. หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา, ผู้รับหน้าแทนนาย.
  7. เทครัว : ก. ยกครอบครัวไป, กวาดครอบครัวไป; โดยปริยายเรียก ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้องว่า พระยาเทครัว.
  8. เทวินทร์, เทเวนทร์ : น. หัวหน้าเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
  9. เทเวศ, เทเวศร์, เทเวศวร์ : [-เวด] น. เทวดาผู้เป็นใหญ่, หัวหน้าเทวดา; พระราชา, เจ้านาย.
  10. เท้าแชร์ : น. ผู้เป็นหัวหน้าวงแชร์ มีหน้าที่จัดการและรับผิดชอบเรื่องเงิน ตามปรกติจะเป็นผู้ได้เงินเป็นคนแรกโดยไม่เสียดอกเบี้ย.
  11. ธนาคารออมสิน : (กฎ) น. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสิน ออก พันธบัตรออมสินและสลากออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ ชีวิตและครอบครัว ทําการรับจ่ายและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตร รัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอนุญาต การออมสินอื่น ๆ หรือกิจการอันเป็นงานธนาคาร ตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดไว้ และให้ประกอบได้ตามข้อกําหนด และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง.
  12. นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
  13. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  14. นายก : [นายก] น. ผู้นํา, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น นายกราชบัณฑิตยสถาน นายก สมาคม นายกสโมสร. (ป., ส.).
  15. นายกเทศมนตรี : (กฎ) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะเทศมนตรี.
  16. นายกรัฐมนตรี : (กฎ) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี.
  17. นายงาน : ( น. หัวหน้างาน.
  18. นายประเพณี : ( (โบ) น. หัวหน้ารักษาประโยชน์ของวัดและบํารุงวัด ได้บังคับว่ากล่าวทั่วไป (ทํานองมรรคนายก). (ประชุมพงศ.).
  19. นายโรง : (น. พระเอกลิเก, เจ้าของคณะลิเก; หัวหน้าคณะหนังตะลุงหรือ มโนราห์.
  20. นายเวร : ( น. นายตํารวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่ มีตําแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงาน ในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
  21. นายอำเภอ : ( (กฎ) น. ตําแหน่งเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งเป็น หัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบ ในการบริหารราชการของอําเภอ.
  22. นายิกา : น. หญิงผู้เป็นหัวหน้า. (ป.).
  23. นิคมที่ดิน : น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่น ฐานเพื่อประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผน เพื่อพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
  24. บ้านแตกสาแหรกขาด : (สํา) น. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือในบ้านเมืองอย่างร้ายแรงถึงทําให้ต้องกระจัดกระจายพลัด พรากกัน.
  25. ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์ : [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่ง การดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ ประคนธรรพ์ ก็มี.
  26. ประธาน ๑ : น. ตําแหน่งผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ตําแหน่ง ประธานรัฐสภา ตําแหน่งประธานกรรมการ, เรียกผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการ. ว. ที่เป็นหลักสําคัญในที่นั้น ๆ เช่น พระประธาน.
  27. ประมุข : [ปฺระมุก] น. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น. (ส. ปฺรมุข; ป. ปมุข).
  28. ปาโมกข์ : น. ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้เป็นประธาน. (ป.).
  29. ปุเรจาริก : ว. เป็นเครื่องนําหน้า, เป็นอารมณ์, เป็นหัวหน้า. (ป., ส.).
  30. ผู้พิพากษาสมทบ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย จัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็น ข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษา สมทบในศาลแรงงาน.
  31. ผู้หลักผู้ใหญ่ : น. ผู้มีอายุมาก เช่น โตจนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วยัง ทำตัวเหลวไหล, ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา เช่น งานนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่มากันมาก; บุคคลที่วางตัวหรือมีความคิด และความประพฤติเหมาะสมกับสถานภาพ เช่น แต่งงานแล้วดูเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่มากขึ้น.
  32. ผู้ใหญ่ : น. คนที่มีอายุมาก, บุคคลที่มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์แล้ว, คนที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา.
  33. ฝั่งฝา : น. ปึกแผ่น, หลักฐาน, (มักใช้แก่ผู้ที่มีครอบครัว).
  34. พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
  35. พลาธิการ : น. หน่วยงานของทหารและตํารวจ มีหน้าที่ควบคุมการ จัดที่พัก จัดเครื่องใช้ จัดอาหาร ฯลฯ; (โบ) หัวหน้ากรมในกองทัพบก ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการนี้.
  36. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  37. พ่อเล้า : (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.
  38. พัน ๑ : ว. เรียกจํานวน ๑๐ ร้อย. น. ตําแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูง กว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตําแหน่ง หัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้น สัญญาบัตรรองจากนายพล.
  39. พี่เบิ้ม : (ปาก) น. ผู้มีอํานาจมาก, ผู้เป็นหัวหน้าใหญ่.
  40. มิ่งเมีย : น. เมียที่ถือว่านำสิ่งมงคลมาสู่สามีและครอบครัว.
  41. มีเรือน : ว. มีครอบครัว, แต่งงานแล้ว, (ตามปรกติใช้แก่ผู้หญิง), มีเหย้ามีเรือน ก็ว่า
  42. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  43. แม่กอง : น. ผู้เป็นนายกอง, หัวหน้างาน, เช่น แม่กองทำปราสาทพระเทพบิดร แม่กองทำประตูประดับมุก.
  44. แม่งาน : น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบในงานบางอย่าง เช่น เขาเป็นแม่งาน ในการจัดเลี้ยงแขกที่มาในงาน.
  45. แม่แปรก : [-ปะแหฺรก] น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง, (ราชา) แม่หนัก; หญิงสาวแก่ที่จัดจ้านซึ่งเป็นหัวหน้าของหญิงสาวในหมู่.
  46. แม่เพลง : น. หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ.
  47. แม่เล้า : (ปาก) น. หญิงผู้เป็นหัวหน้าซ่องโสเภณี, ผู้หญิงผู้เป็นหัวหน้าควบคุม ดูแลเลี้ยงหญิงสาวไว้บําเรอชาย.
  48. แม่หนัก : (ราชา) น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง.
  49. โมกข์ ๒ : ว. หัวหน้า, ประธาน. (ป.; ส. มุขฺย).
  50. ยุ่งยิ่ง : ก. ยุ่งจุก ๆ จิก ๆ เช่น ยุ่งยิ่งเรื่องปัญหาครอบครัว.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-139

(0.0597 sec)