Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าใจ , then ขาจ, เข้าใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าใจ, 128 found, display 51-100
  1. เป็นที่ ๒ : ว. ใช้นำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อเสริมความให้แจ่ม ชัดยิ่งขึ้น เช่น เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นที่น่ากลัว เป็นที่น่าพอใจ.
  2. แปล : [แปฺล] ก. ถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง, ทําให้เข้าใจความหมาย.
  3. ฝึก : ก. ทํา (เช่นบอก แสดง หรือปฏิบัติ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจจนเป็นหรือมีความชํานาญ เช่น ฝึกทหาร ฝึกกายบริหาร ฝึกงาน.
  4. พราง : [พฺราง] ก. ทําให้เข้าใจเป็นอื่น, ทําให้เลือน, เช่น พรางตัว พรางไฟ.
  5. พาซื่อ : ก. เข้าใจตรง ๆ ตามที่เขาพูด, พลอยหลงเชื่อหรือหลงผิด ตามไปด้วย.
  6. โพธ : [โพด] น. ความรู้, ความเข้าใจ, ความฉลาด. (ป., ส.). ก. แย้ม, บาน, แรกรุ่น เช่น นงโพธ.
  7. ฟังออก : ก. เข้าใจ, รู้เรื่อง.
  8. ฟันฟาง : น. ฟาง, ฟันที่เข้าใจว่าขึ้นแทนฟันแท้ที่หักไป, ฟัน เช่น ฟันฟางไม่ค่อยดี กินของเหนียวของแข็งไม่ได้.
  9. ฟาง ๒ : น. ฟันที่เข้าใจว่าขึ้นแทนฟันแท้ที่หักไป, มักใช้เข้าคู่กับคำ ฟัน เป็น ฟันฟาง.
  10. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  11. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  12. มนุษยสัมพันธ์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุดสำพัน] น. ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่าง มนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน.
  13. มะม่วงหิมพานต์ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Anacardium occidentale L.ในวงศ์ Anacardiaceae ผลรูปคล้ายไต เปลือกแข็ง มีเมล็ดอยู่ภายในคั่วแล้วกินได้ ยางเป็นพิษ ก้านผลอวบนํ้า ลักษณะคล้ายผลชมพู่, คนทั่ว ๆ ไปมักเข้าใจว่าก้านผลนี้คือ ผล ส่วนผลรูปคล้ายไตคือ เมล็ด.
  14. มารยาสาไถย : น. การทำให้เขาหลงผิดหรือเข้าใจผิด เช่น เขาทำมารยาสาไถย.
  15. มุติ : [มุ-ติ] น. ความรู้สึก, ความเห็น, ความเข้าใจ. (ป.).
  16. แม้ : สัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คําสนับสนุนข้ออ้าง ให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.
  17. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  18. รู้ความ : ก. เข้าใจภาษา (ใช้แก่เด็ก).
  19. รู้คิด, รู้คิดรู้อ่าน : ก. เข้าใจคิดตริตรอง เช่น เด็กบางคนรู้คิดรู้อ่านดีกว่า ผู้ใหญ่.
  20. รู้งาน : ก. ทำงานเป็น, เข้าใจลักษณะงาน, เช่น แม้ว่าเขาจะเข้าใหม่ แต่ก็ รู้งานดี.
  21. รู้แจ้ง : ก. เข้าใจตลอด, รู้ตามเหตุผลอย่างชัดเจน, รู้แจ้งแทงตลอด ก็ว่า.
  22. รู้น้อยพลอยรำคาญ : (สํา) ก. รู้น้อยไม่เข้าใจ ทําให้เกิดความรําคาญใจ, มักพูดเข้าคู่กับ รู้มากยากนาน เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรําคาญ.
  23. รู้มลัก, รู้มลาก : [–มะ–] ก. รู้มากอย่าง, เข้าใจมาก.
  24. รู้เรื่อง : ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่ รู้เรื่อง.
  25. เร้นลับ : ว. เหลือรู้เหลือเห็น เหลือที่จะเข้าใจ เช่น ซ่อนสมบัติไว้ในที่ เร้นลับ เชื่อกันว่าเมืองลับแลเป็นเมืองที่เร้นลับ.
  26. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  27. เรียนรู้ : ก. เข้าใจความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยประสบการณ์.
  28. แรงงานสัมพันธ์ : (กฎ) น. ความสัมพันธ์ในด้านการจ้างงานระหว่างนาย จ้างกับลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการว่าจ้างทํางาน นับตั้งแต่เงื่อนไข การจ้าง สภาพการทํางานและผลประโยชน์จากการทํางานร่วมกันของ ทั้ง ๒ ฝ่าย รวมทั้งสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง ตลอดจนการร่วมเจรจาต่อรองและการสร้างความเข้าใจอันดี ต่อกันเพื่อการอยู่ร่วมกันต่อไป.
  29. โรงรับจำนำ : น. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือ กรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชา สงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจํานําซึ่ง ประกอบการรับจํานําสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวม ตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สําหรับสิ่งของนั้นเป็น ปรกติธุระ แต่ละรายมีจํานวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลง หรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.
  30. ลมพิษ : น. ผื่นคันเป็นพิษเห่อขึ้นตามผิวหนัง. ลมเพลมพัด น. อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่า ถูกกระทํา.
  31. ละ ๑ : ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ – ''– แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คําประกอบ คํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
  32. ละเอียดอ่อน : ว. ประณีต, นิ่มนวล, เช่น การรำไทยเป็นศิลปะที่ ละเอียดอ่อน ศิลปะและดนตรีมีความละเอียดอ่อน; ลึกซึ้ง, สลับ ซับซ้อน, ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน; อ่อนไหวง่าย, สะเทือนใจง่าย, เช่น บางคนถือเรื่องส่วนตัว เรื่อง การเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน.
  33. ลักไก่ : (ปาก) ก. หลอกล่อให้หลงเข้าใจผิด, ใช้อุบายลวงให้หลง, (มักใช้แก่การกีฬา) เช่น ยิงลูกลักไก่, ถือไพ่แต้มต่ำ แต่เพิ่มเค้า เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดว่าตนถือไพ่แต้มสูง (ใช้แก่การเล่น โป๊กเกอร์หรือเผ).
  34. ลึกลับ : ว. เร้นลับจนเหลือรู้เหลือเห็น หรือที่เข้าใจได้ยาก, ยากที่จะ สืบสาวราวเรื่องได้ หรือที่สืบสาวราวเรื่องได้ยาก, เช่น เรื่องลึกลับ คดีลึกลับ คนลึกลับ.
  35. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  36. เล่ห์กล : น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงผิดหรือเพื่อให้เข้าใจผิด.
  37. เลห, เล่ห์ : น. กลอุบายหรือเงื่อนงําอันอาจทําให้คนอื่นหลงผิด เข้าใจผิด, ใช้ว่า
  38. แลงกินฟัน : น. ชื่อโรคซึ่งเข้าใจผิดว่ามีแมงชนิดหนึ่งเกาะกินรากฟัน ทําให้ฟันผุ.
  39. วกวน : ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือ วกวนอ่านไม่เข้าใจ.
  40. วิชานนะ : น. ความรู้, ความเข้าใจ. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
  41. วิทยุคมนาคม : น. การส่งหรือการรับเครื่องหมายสัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
  42. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  43. ส่งภาษา : ก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่งโดยกล่าวคําเป็น ภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็น ภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขา ส่งภาษาถิ่น'' มาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.
  44. สแลง : น. ถ้อยคําหรือสํานวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง. (อ. slang).
  45. สวมรอย : ก. เข้าแทนที่คนอื่นโดยทําเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็น ตัวจริง เช่น ผู้ร้ายสวมรอยเจ้าของบ้านเข้าไปขโมยของ.
  46. สวมหน้ากาก : (สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัย ใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากาก เข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.
  47. สองหน้า : น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตี ทั้ง ๒ ข้าง. (สํา) ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวัง ประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.
  48. สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  49. สอนสั่ง : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า.
  50. สะเดา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. siamensis Valeton ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้. สะเดาอินเดีย น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. indica Juss. ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และ ใช้ทํายาได้, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นซิงโคนาที่ใช้เปลือก สกัดเป็นยาควินิน.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-128

(0.0451 sec)