Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องนำทาง, เครื่อง, นำทาง , then ครอง, ครองนำทาง, เครื่อง, เครื่องนำทาง, นำทาง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องนำทาง, 1581 found, display 1201-1250
  1. ลูกล้อ ๒ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้าอย่างเดียวกัน และ ทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใดหรือจะมี เพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  2. ลูกหนู ๓ : น. เครื่องมือช่างชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตัดและขัดกระเบื้อง ปูพื้น.
  3. ลูกหีบ : น. เครื่องหีบอ้อยรูปกลมเป็นเฟืองอย่างเครื่องจักร; สิ่งซึ่ง มีลักษณะคล้ายหีบใช้สําหรับรองก้าวขึ้นก้าวลงอย่างขั้นบันได.
  4. เล็งระดับ : ก. ใช้เครื่องมือวัดหาความเที่ยงและความเสมอกันทั้ง ทางนอนและทางดิ่ง.
  5. เลเซอร์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องซึ่งแปลงลําแสงที่ผ่านเข้าไปให้ออกมาเป็นลําแสง สีเดียวที่อัดรวมกันจนมีขนาดลําแสงแคบอย่างยิ่ง และมีความเข้ม สูงมาก, เรียกลําแสงที่ได้ออกมาลักษณะเช่นนี้ว่า ลําแสงเลเซอร์. (อ. laser).
  6. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  7. เล็บนาง : น. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลา ฟ้อนรํา.
  8. เลป–, เลปน์ : [เลปะ–, เลบ] น. การไล้, การทา, เครื่องลูบไล้ เช่น เฉวียงสายพรรณ รายสูตรวิภุสนพัตรมาลัยเลปน์กามา ตระศัก. (เสือโค). (ป., ส.).
  9. เลา ๓ : ลักษณนามเรียกเครื่องเป่าที่มีลักษณะยาวตรงและกลมอย่างปี่ ขลุ่ย เช่น ปี่เลาหนึ่ง ขลุ่ย ๒ เลา.
  10. เลี่ยมพระ : ก. ใช้โลหะหุ้มพระเครื่องเพื่อกันไม่ให้แตกหรือชำรุด.
  11. เลื่อย : น. เครื่องมือสําหรับตัด มีหลายชนิด ใบเลื่อยทําด้วยเหล็กกล้า ด้าน ที่ใช้เลื่อยมีคมเป็นฟันจัก ๆ. ก. ตัดด้วยเลื่อย.
  12. เลื่อยฉลุ : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิด หนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ? ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลาย ตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบน ขนาดเล็ก.
  13. เลื่อยชักไม้ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ มีขนาดใหญ่ ใบเลื่อยมี ลักษณะเป็นปื้นหรือแถบยาวติดกับปลายขาคันเลื่อยทั้งคู่ มีไม้ยาว ที่เรียกว่า อกเลื่อย ยันอยู่ตรงกลาง ปลายขาคันเลื่อยด้านตรงข้าม มีเชือกคล้องรั้งและบิดเพื่อขึงใบเลื่อยให้ตึง ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน.
  14. เลื่อยโซ่ : น. เครื่องมือสำหรับตัด ซอยไม้ หรือโค่นต้นไม้ ใบเลื่อย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันคล้ายสายโซ่เคลื่อนที่หมุนเวียนบน คานแบน ๆ ด้วยกำลังมอเตอร์.
  15. เลื่อยตะขาบ : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแผ่นแบนยาว ท้องเลื่อยหย่อนโค้ง ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างทำ เป็นบ้อง สำหรับสอดไม้ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักใบเลื่อย ใช้คน ชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน, เลื่อยยมบาล ก็เรียก.
  16. เลื่อยทำทอง : น. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวด แบน ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็ก เป็นรูปอย่างนี้ ? คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและทำด้วยเหล็ก แข็งกว่า.
  17. เลื่อยธนู : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำ ด้วยเหล็กดัดโค้งคล้ายคันธนู.
  18. เลื่อยโยง : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาว ปลายข้างบนผูกโยงกับคันคานดีด ปลายข้างล่าง ผูกโยงกับไม้รองกระเดื่อง ใช้กำลังคนเหยียบกระเดื่องชักใบเลื่อย ให้ทำงาน.
  19. เลื่อยลอ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายข้างหนึ่งมีด้ามสำหรับจับ.
  20. เลื่อยลันดา, เลื่อยวิลันดา : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมี ลักษณะเป็นปื้น โคนใหญ่ปลายรี ที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นคัน สำหรับจับ.
  21. เลื่อยหางหนู : น. เครื่องมือสำหรับฉลุหรือโกรกไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาวปลายเรียวแหลมที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นรูปขอ สำหรับจับ.
  22. เลื่อยเหล็ก : น. เครื่องมือสำหรับตัดเหล็ก ใบเลื่อยมีลักษณะเป็น แถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายและโคนคันเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็ก ที่โคนคันมีด้ามสำหรับจับ.
  23. เลื่อยอก : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือโกรกไม้ ลักษณะคล้ายเลื่อยชัก แต่ขนาดย่อมและสั้นกว่า.
  24. โล่ ๒ : น. เครื่องปิดป้องศัตราวุธ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําด้วยโลหะหรือหนังดิบ ด้านหลังมีที่จับ, มักใช้คู่กับดาบหรือหอก, โดยปริยายหมายถึงการเอา คนหรือสิ่งอื่นต่างโล่เพื่อกันความเสียหายแก่ตัว; สิ่งที่มีลักษณะคล้าย คลึงโล่สําหรับมอบแก่ผู้ชนะการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
  25. โลกามิส : น. เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).
  26. ไล่นิ้ว : ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีประเภทเครื่องสีเครื่องดีดจากเสียงต่ำ ไปหาสูงหรือจากเสียงสูงไปหาต่ำเพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
  27. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  28. วงเวียน : น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
  29. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  30. วสนะ ๒ : [วะสะ] (แบบ) น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  31. วันทยหัตถ์ : น. ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตํารวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก มิได้ถืออาวุธ.
  32. วันทยาวุธ : น. ท่าเคารพด้วยอาวุธของทหาร ตํารวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบสวมหมวก และถืออาวุธอยู่กับที่.
  33. วากรา : [วากกะรา] (แบบ) น. ตาข่าย; บ่วง, เครื่องดักสัตว์. (ป.; ส. วาคุรา).
  34. ว่าง : ว. เปล่า, ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง, เช่น ห้องว่าง ที่ว่าง ตําแหน่งว่าง, บางทีใช้ควบคู่กับคํา เปล่า เป็น ว่างเปล่า; ไม่มี ภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวันเย็นนี้หมอว่าง ไม่มีคนไข้. น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าวว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง.
  35. วาทย, วาทย์ : [วาทะยะ, วาดทะยะ] น. เครื่องประโคม, เครื่องบรรเลง, เครื่องเป่า. (ส.).
  36. วาลวีชนี : [วาละวีชะนี] น. พัดกับแส้ขนจามรีถือเป็นเครื่อง ราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).
  37. ว่าว ๑ : น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสาย ซุงสําหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.
  38. วาสนะ ๑ : [วาสะ] น. การนุ่งห่ม, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  39. วาสนะ ๒ : [วาสะ] น. การอบ, การทําให้หอม; เครื่องหอม, นํ้าหอม. (ป., ส.).
  40. วาสะ ๒ : น. ผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  41. วาสะ ๓ : น. การอบ; เครื่องหอม, นํ้าหอม. (ป., ส.).
  42. วิฆนะ : [วิคะ] น. การขัดขวาง, เครื่องขัดขวาง, อุปสรรค, ความขัดข้อง. (ส.).
  43. วิด : ก. อาการที่ทําให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วย เครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน, ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา.
  44. วิทยุ : [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตาม อากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียง ตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
  45. วิทยุเฉพาะกิจ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชน ทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ.
  46. วิทยุติดตามตัว : น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.
  47. วิทยุมือถือ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุซึ่งมีน้ำหนักเบา สามารถใช้มือถือในขณะใช้งานได้.
  48. วิทยุสนาม : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ในงาน สนามหรือในราชการทหาร.
  49. วิทยุสาธารณะ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่จัดให้ ประชาชนโดยทั่วไปใช้บริการได้เป็นการสาธารณะ.
  50. วิภูษณะ : [วิพูสะ] น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1581

(0.1124 sec)