Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เชาวน์ปัญญา, เชาวน์, ปัญญา , then ชาวนปญญา, เชาวน์, เชาวน์ปัญญา, บัญญา, เบญญา, ปญญา, ปญฺญา, ปัญญะ, ปัญญา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เชาวน์ปัญญา, 121 found, display 51-100
  1. ทุก ๑, ทุก ๆ : ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจํานวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็น หน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมี ปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน.
  2. ธรรมกาย : น. กายคือธรรม ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ; พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ตามคติมหายาน เชื่อว่า ได้แก่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. ธมฺมกาย).
  3. ธรรมจักษุ : น. ดวงตาคือปัญญาที่รู้เห็นธรรม. (ส.).
  4. ธรรมปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
  5. ธีร, ธีระ : [ทีระ] น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, ไหวพริบ, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป.); มั่นคง, แข็งแรง. (ส.).
  6. นักปราชญ์ : น. ผู้รู้, ผู้มีปัญญา.
  7. น้ำยา ๒ : (ปาก) น. ความสามารถในทางใดทางหนึ่ง (มักใช้ในทาง ตําหนิ) เช่น ไม่มีนํ้ายา หรือ หมดนํ้ายา หมายความว่า ไม่มีสติปัญญา ความสามารถ หรือ หมดความสามารถ.
  8. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  9. บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
  10. ปฏิภาณ, ปฏิภาณ- : [ปะติพาน, ปะติพานะ-, ปะติพานนะ-] น. เชาวน์ไวในการกล่าวแก้ หรือโต้ตอบเป็นต้นได้ฉับพลันทันทีและแยบคาย. (ป.).
  11. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  12. ปฏิสัมภิทา : (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา. (ป.).
  13. ประเทือง : ก. ทําให้ดีขึ้น เช่น ประเทืองผิว, ทําให้รุ่งเรืองขึ้น เช่น ประเทืองปัญญา.
  14. ปราชญ์ : [ปฺราด] น. ผู้มีปัญญารอบรู้. (ส. ปฺราชฺ?).
  15. ปรีชา : [ปฺรี-] น. ปัญญาสามารถ, ความรอบรู้จัดเจน. (ส. ปริชฺ?า; ป. ปริญฺ?า).
  16. ปัญญาอ่อน : น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทําให้เด็กมีความสามารถ จํากัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ ควรเป็น. ว. มีระดับสติปัญญาด้อยหรือต่ำกว่าปรกติ.
  17. เปรื่อง : [เปฺรื่อง] ก. เชี่ยวชาญ, ปรุโปร่ง, แตกฉาน, เช่น ปัญญาเปรื่อง สมองเปรื่อง. ว. เสียงดังอย่างเสียงถ้วยชามกระทบกันหรือตกแตก.
  18. พิษสุราเรื้อรัง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งสมองและประสาทเสื่อม เนื่องจากดื่มสุรามากเป็นเวลานาน มีอาการมือสั่น เดินเซ สติปัญญาเสื่อม บางครั้งชักแบบลมบ้าหมู.
  19. พุทธคุณ : น. คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุด มี ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ. (ป.).
  20. พุทธิ : [พุดทิ] น. ปัญญา, ความฉลาด. (ป.).
  21. โพธิญาณ : น. พระปัญญาที่ทําให้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
  22. ฟุ้งเฟื่อง : ก. ขจรไป, แพร่หลาย, (ใช้แก่เกียรติคุณ), เฟื่องฟุ้ง ก็ว่า. ว. เชี่ยวชาญ, ชํานิชํานาญ, (ใช้แก่สติปัญญา), เฟื่องฟุ้ง ก็ว่า.
  23. เฟื่องฟุ้ง : ก. ขจรไป, แพร่หลาย, (ใช้แก่เกียรติคุณ), ฟุ้งเฟื่อง ก็ว่า. ว. เชี่ยวชาญ, ชํานิชํานาญ, (ใช้แก่สติปัญญา), ฟุ้งเฟื่อง ก็ว่า.
  24. มืดแปดด้าน : ก. นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออก ได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด.
  25. เมธา : น. ปัญญา, ความรู้, ความฉลาดรอบคอบ. (ป., ส.).
  26. ยโส : ก. เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ มีกําลัง มีทรัพย์ ฯลฯ.
  27. ยิ่งใหญ่ : ว. มีอำนาจมาก เช่น นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่, มีสติปัญญาความ สามารถสูง เช่น กวีผู้ยิ่งใหญ่, สำคัญ เช่น ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่.
  28. ยุคมืด : น. ช่วงแรกของสมัยกลางในประวัติศาสตร์ยุโรป ประมาณ ๖๐๐ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๕๐๑๖๕๐ เป็นยุคที่ประชาชนมีแต่ความ มืดมนหมดหวังในชีวิต เพราะถูกพวกตาดมองโกลทำลายล้าง และ ไม่มีความเจริญทางสติปัญญาเพราะศาสนาไม่เปิดโอกาสให้คิดอย่าง เสรี, โดยปริยายหมายถึงยุคที่ประชาชนหมดหวังในชีวิต.
  29. เรือง, เรือง ๆ : ว. มีแสงน้อย ๆ อย่างแมงคาเรืองหรือหิ่งห้อย เช่น จุดเทียนมีแสงเรือง เห็นแสงไฟเรือง ๆ; แตกฉาน เช่น เรืองปัญญา; โด่งดัง เช่น เรืองเดช เรืองยศ เรืองนาม เรืองอำนาจ.
  30. ลับสมอง : ก. ฝึกฝนใช้สติปัญญา.
  31. ล้ำ : ก. ล่วงเข้าไปเกินเขตที่กำหนด เช่น ล้ำเขตแดน ล้ำแดนข้าศึก. ว. ยิ่ง, ล้น, เช่น สูงล้ำ ปัญญาล้ำ.
  32. ลึกล้ำ : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง เช่น ปัญญาลึกล้ำ จิตมนุษย์ สุดลึกล้ำ, ล้ำลึก ก็ว่า.
  33. เล็งญาณ : ก. พิจารณาเห็นแจ้งด้วยปัญญาที่เกิดจากสมาธิ.
  34. วัชรธาตุมณฑล : [ทาตุมนทน, ทาดมนทน] น. สัญลักษณ์ในทาง ปัญญาอันคมกล้าที่สามารถตัดอวิชชาได้.
  35. วัดผล : ก. ทดสอบเพื่อวัดเชาวน์ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ บุคลิกภาพ เป็นต้น โดยใช้วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การเรียนรู้ ในสาขาวิชาต่าง ๆ จำเป็นจะต้องวัดผลอย่างสม่ำเสมอ.
  36. วิจักขณ์, วิจักษณ์ : ว. ที่รู้แจ้ง, ที่เห็นแจ้ง, ฉลาด, มีสติปัญญา, เชี่ยวชาญ, ชํานาญ. (ป. วิจกฺขณ; ส. วิจกฺษณ).
  37. วิจารณญาณ : [วิจาระนะยาน] น. ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผล ที่ถูกต้องได้.
  38. วิทวัส : [วิดทะวัด] น. ผู้รู้, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา. (ส.; ป. วิทฺวา).
  39. วิทู : น. ผู้ฉลาด, ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา, ผู้ชํานาญ. (ป.).
  40. วิทูร ๑ : ว. ฉลาด, คงแก่เรียน, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป., ส. วิทุร).
  41. วิปัสสนา : [วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็น แจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).
  42. ศิษฏ์ : ว. ฝึกแล้ว, คงแก่เรียน, อบรมแล้ว, มีปัญญา, มีความรู้. (ส.).
  43. สนตะพาย : ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทําตามด้วยความจําใจ ความหลง หรือ ความโง่เขลาเบาปัญญา.
  44. สมอง : [สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็น คนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.
  45. สมาธิ : [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้ จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).
  46. สรรเพชุดาญาณ : น. ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของ พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าน; ป. สพฺ??ฺญุต?าณ).
  47. สร้อย ๓ : [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา สุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัย ราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.
  48. หน้าแหง : [-แหฺง] น. หน้าแสดงความเก้อหรือจนปัญญา.
  49. หนูติดจั่น : (สํา) ว. จนปัญญา, หาทางออกไม่ได้.
  50. หมด : ก. สิ้น เช่น หมดลม หมดกิเลส หมดปัญญา, ไม่มี เช่น เงินหมด ฝนหมด, จบ เช่น หมดรายการ. ว. ไม่มีอะไรเหลือ เช่น กินหมด ใช้หมด.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-121

(0.0623 sec)