Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เช้า , then ชา, เช้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เช้า, 205 found, display 101-150
  1. หน้าชา : ว. อาการที่รู้สึกอับอายขายหน้าระคนโกรธ แต่ก็ตอบโต้ไม่ได้ เช่น เธอรู้สึกหน้าชาที่ถูกประจาน.
  2. เหน็บชา : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากขาดวิตามินบี ๑ ทําให้มีอาการชา ปลายมือปลายเท้าเป็นต้น.
  3. กระชาเดิม : (โบ) น. ร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและน้ำหอม เป็นต้น.
  4. กะชามาศ : น. ทองที่เกิดในน้ำ. (ปาเลกัว).
  5. เฉื่อยชา : ว. อืดอาด, ไม่รีบร้อน, แฉะแบะ.
  6. ชิงช้าชาลี : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora baenzigeri Forman ในวงศ์ Menispermaceae คล้ายบอระเพ็ด แต่เถาค่อนข้างเกลี้ยง ใช้ทํายาได้.
  7. ชินชา : ว. เคยบ่อย ๆ จนเลิกเอาใจใส่.
  8. เช่า : โดยให้ค่าเช่า; ซื้อวัตถุที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เช่าพระพุทธรูป.
  9. ทวิชากร : [ทะวิ-] (แบบ) น. ฝูงนก. (ส.).
  10. นิสัชชาการ : น. อาการนั่ง. (ป.), ในบทกลอนใช้ว่า นิสัชชนาการ ก็มี เช่น จึงเสด็จนิสัชชนาการนั่งในร่มไม้. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  11. ประคิ่น, ประคิ่นวินชา : ก. ประจง, ค่อย ๆ ทําให้เรียบร้อย, ประคอง.
  12. ปราชาปัตยวิวาหะ : [ปฺราชาปัดตะยะ-] น. การสมรสวิธีหนึ่งที่บิดายกลูกสาวให้เจ้าบ่าว โดยปราศจากการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจ้าบ่าว. (ส.).
  13. รำพัดชา : น. ท่ารําชนิดหนึ่งในพิธีคชกรรม.
  14. เรือชา : น. เรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและน้ำหอมเป็นต้น.
  15. ฦๅชา : (โบ) ก. ลือชา.
  16. ฉ่อย : น. ชื่อเพลงสําหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่า ปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสําคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับ พร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
  17. เมี่ยง ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นชา. [ดู ชา๑(๑)].
  18. ชาคริยานุโยค : [ชาคะริยานุโยก] น. การประกอบความเพียรเพื่อจะชําระใจ ให้หมดจดไม่เห็นแก่นอนมากนัก. (ป.; ส. ชาครฺยา + อนุโยค).
  19. ชาติธรรม : [ชาติทํา] ว. มีความเกิดเป็นธรรมดา. (ส. ชาติธรฺม ว่า หน้าที่ของตระกูล).
  20. ฌาปน- : [ชาปะนะ-] น. การเผาศพ, การปลงศพ. (ป.).
  21. กระฉับกระเฉง : ว. คล่องแคล่ว, กระปรี้กระเปร่าเหมาะแก่การ, ตรงข้ามกับ เงื่องหงอย, เฉื่อยชา.
  22. กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
  23. กระทง ๒ : ว. ใช้ควบกับคํา รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุ ประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สําหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอน ขันว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกําลังแตกเนื้อหนุ่มเป็น เชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.
  24. กระทงลอย : น. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้เครื่องรับมโหรี ทําตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธี จับชาละวัน, กระทงน้อย หรือ บ้าบ่น ก็เรียก.
  25. กะ ๑ : น. เครื่องหมายบอกทํานองสวด เช่น กะมหาชาติคําหลวง, ทํานองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ ผลัดเปลี่ยนกันทํางาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กําหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.
  26. กะดง : ดู ชาปีไหน.
  27. กะติงกะแตง : ก. กุลีกุจอ เช่น พระชาลีก็ลีลาแล่นไปก่อน กะติงกะแตงต้อนรับ. (ม. กาพย์ กุมาร), กะตึงกะแตง ก็ใช้.
  28. กาเฟอีน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทพิวรีน มีสูตรเคมี C8H10O2N4 ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีในใบชา เมล็ดกาแฟ เป็นยาเสพติดอย่างอ่อน มีฤทธิ์อย่างแรงต่อหัวใจ ใช้ในการแพทย์. (ฝ. caf้ine).
  29. กี๋ : น. ฐานสําหรับรองสิ่งของหรือสำหรับนั่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ มีรูปต่าง ๆ กัน เช่น กี๋รองแจกัน กี๋รองกระถางต้นไม้; ภาชนะมีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่เครื่องน้าชาแบบจีน เช่น กี๋ญวน.
  30. เก๊กฮวย : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Chrysanthemum วงศ์ Compositae ชนิด C. indicum L.ดอกเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม, เบญจมาศสวน ก็เรียก, และชนิด C. morifolium Ramat. พันธุ์ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, เบญจมาศหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ดอกตากแห้งชง กับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลใช้ดื่มแก้กระหาย.
  31. ข่า ๓ : น. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคําหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  32. ค่าภาคหลวง : (กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาต ให้ทําการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชําระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.
  33. ค่าฤชาธรรมเนียม : [-รึชา-] (กฎ) น. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดําเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสาร และบังคับคดี และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย.
  34. ค่าหด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Engelhardtia spicata Blume ในวงศ์ Juglandaceae เนื้อไม้ใช้ทําหีบชาหรือก้านไม้ขีดไฟ.
  35. คำหลวง : น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
  36. โคเคน : น. สารอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H21O4N ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว มีปรากฏในใบของต้นโคคา (Erythroxylum coca Lam.) ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาเสพติด. (อ. cocaine).
  37. เงื่องหงอย : ว. ซึมเซาไม่ชื่นบาน, เซื่อง ๆ, เฉื่อยชา.
  38. จีโบ : น. หมวกโบราณชนิดหนึ่ง ทําด้วยขนสัตว์ ข้าง ๆ ยาวลงมาปกหูกัน ความหนาว เวลาไม่ใช้ม้วนขึ้น. (ประชุมพงศ. ภาค ๕๐); ชื่อเครื่อง ถ้วยชาชุดชนิดหนึ่ง. (รูปภาพ หมวกจีโบ)
  39. ใจเฉื่อย : ว. มีอารมณ์เฉื่อยชา, ไม่กระตือรือร้น.
  40. แฉะ : ก. เปียกหรือชุ่มน้ำอยู่เสมอ เช่น ถนนแฉะ ตาแฉะ, เปียกหรือชุ่มน้ำเกินไป เช่น ข้าวแฉะ; ไม่รีบร้อน, เฉื่อยชา, เช่น ทํางานแฉะ.
  41. แฉะแบะ : ว. อาการที่นั่งเฉื่อยชาอยู่นาน ๆ, เฉื่อยชา, แบะแฉะ ก็ว่า.
  42. ชง ๑ : ก. เทนํ้าร้อนลงบนใบชาหรือยาเป็นต้นเพื่อให้รสออก.
  43. ช้างใหญ่ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชิงชายา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาวคอนาค ดาวแพะ หรือ ดาวเชิงชายะ ก็เรียก.
  44. ชาดก : [ชาดก] น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติก่อน ๆ ตามที่ กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป. ชาตก).
  45. ชาน ๒ : น. เรียกพื้นเรือนนอกชายคาว่า นอกชาน, พื้นที่นอกตัวเรือน ตัวเมืองหรือตัวกําแพง เป็นต้น ออกไป เช่น ชานเมือง ชานกําแพง ชานเขื่อน.
  46. ชามาดร, ชามาดา, ชามาตุ : [–ดอน] น. ลูกเขย. (ป. ชามาตุ; ส. ชามาตฺฤ).
  47. ชาย ๔ : ว. เห็นจะ, ค่อนข้าง, เช่น ชายจะเบากว่าพ่อชาลี. (ม. ร่ายยาว).
  48. ชาล, ชาล : [ชาน, ชาละ] (แบบ) น. ตาข่าย, ร่างแห; ใยแมงมุม. (ป., ส.).
  49. ชาวเล : น. ชาวนํ้า
  50. ชุด ๓ : น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-205

(0.0386 sec)