Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เฝ้าบ้าน, เฝ้า, บ้าน , then บาน, บ้าน, ป้าน, ฝา, เฝ้า, เฝ้าบ้าน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เฝ้าบ้าน, 804 found, display 401-450
  1. เล็ก : ว. มีขนาดย่อมกว่าเมื่อเทียบกัน เช่น ละมุดเล็กกว่าส้มโอ กล้วยไข่ เล็กกว่ากล้วยหอม, มีขนาดไม่โต เช่น บ้านหลังนี้เล็ก, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่สําคัญ, สําคัญน้อยกว่า, เช่น เรื่องเล็ก.
  2. เลขลำดับ : น. จํานวนนับที่บอกรหัสหรือตําแหน่งที่ของสิ่งที่จัดเรียง กันอย่างมีระบบ เช่น บ้านเลขที่ ๑๕๐ รถประจําทางสาย ๖๒.
  3. เล็ดลอด : ก. แอบซ่อนไป, ลอบเข้าไปหรือออกมาได้ด้วยความยาก ลําบาก แม้สถานที่นั้นจะมีผู้พิทักษ์รักษาและการป้องกัน เช่น มด เล็ดลอดเข้าไปในถุงน้ำตาลจนได้ ขโมยเล็ดลอดเข้าไปในบ้าน.
  4. เล่นการเมือง : ก. ฝักใฝ่หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับงานบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงไม่ตรงไปตรงมา เพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น ในวงการกีฬาก็มีการเล่นการเมือง นักกีฬาเก่ง ๆ บางคนถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมทีม.
  5. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  6. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  7. เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
  8. เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
  9. เลือก ๑ : ก. คัดสิ่งที่มีจํานวนมากกว่าหนึ่งขึ้นไปเพื่อเอาไว้หรือเอาออกตาม ต้องการ เช่น เลือกผู้ใหญ่บ้าน เลือกหัวหน้าชั้น.
  10. เลือดตากระเด็น : ว. ลำบากหรือยากแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น กว่าจะหาเงินมาซื้อบ้านได้แทบเลือดตากระเด็นทีเดียว.
  11. โล่งโต้ง, โล้งโต้ง : ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขน ห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แล โล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอายฯ (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า.
  12. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  13. ไล่ขับ : ก. วิ่งตามเพื่อให้ทัน เช่น เด็กวิ่งไล่ขับกันมาบนถนน; บังคับ ให้ออกไปให้พ้น เช่น ไล่ขับคนร้ายออกไปจากบ้าน.
  14. ไล่ล่า : ก. ตามล่า เช่น ผู้ใหญ่บ้านไล่ล่าเสือ.
  15. วนเวียน : ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่ ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหา อยู่หลายรอบ.
  16. วอดวาย : ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ)ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กราย แกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
  17. วอน : (ปาก) ก. รนหาที่ เช่น วอนตาย; (วรรณ) ร่ำขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทำตามประสงค์, เช่น คำนึงนุชนาฎเนื้อ นวลสมร แม้นแม่มาจักวอน พี่ชี้. (ตะเลงพ่าย).
  18. วังเวง : ก. ลักษณะบรรยากาศที่สงบเยือกเย็นทำให้เกิดความรู้สึกอ้างว้าง ว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยวใจ เช่น เข้าไปในบ้านร้างรู้สึกวังเวง.
  19. วัฒนธรรม : น. สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้านวัฒนธรรมชาวเขา.
  20. วางเพลิง : [เพฺลิง] ก. จุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สมบัติ; โดยปริยายหมายความว่าให้ร้ายคนอื่น.
  21. ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
  22. ว้าเหว่ : ว. รู้สึกอ้างว้าง, เปลี่ยวใจ, เช่น ไปต่างถิ่น พอเย็นลงก็รู้สึก ว้าเหว่ คิดถึงบ้าน.
  23. วิกาล, วิกาล : [วิกาน, วิกานละ] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้า บ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระ วินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหาร ในเวลาวิกาล. (ป.).
  24. วิงวอน : ก. เฝ้าร้องขอ, รํ่าขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทําตาม ประสงค์, เช่น วิงวอนขอชีวิต.
  25. วิด : ก. อาการที่ทําให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วย เครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน, ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา.
  26. วิถีชีวิต : น. ทางดำเนินชีวิต เช่น วิถีชีวิตชาวบ้าน.
  27. วิวาห, วิวาห์, วิวาหะ : [วิวาหะ] น. ''การพาออกไป'' หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
  28. วิเศษณการก : [วิเสสะนะ] (ไว) น. คําที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็น บทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละ บุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากิน ช้อนส้อม เขามาบ้าน.
  29. วุ่น : ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. วุ่นเป็นจุลกฐิน [จุนละกะถิน] (สํา) ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  30. วุ่นวาย : ก. เอาเป็นธุระมากเกินไป เช่น เขาชอบเข้าไปวุ่นวายกับ เรื่องของคนอื่นไม่ต้องเตรียมอะไรมากหรอก อย่าวุ่นวายไปเลย; ไม่สงบ เช่น บ้านเมืองวุ่นวายเกิดจลาจลไปทุกหนทุกแห่ง. น. ความไม่สงบ เช่น เกิดวุ่นวายไปทั่วบ้านทั่วเมือง.
  31. เวศม์ : น. บ้าน, เรือน, ที่อยู่. (ส.).
  32. แวด : ก. เฝ้า, ระวัง, รักษา.
  33. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  34. แวะ : ก. หยุดชั่วคราวระหว่างทาง เช่น แวะตลาดก่อนกลับบ้าน แวะรับส่ง คนโดยสาร.
  35. ไว้ใจ : ก. มอบความเชื่อความมั่นใจให้, วางใจ, เช่น ไว้ใจให้เก็บรักษาเงิน ไว้ใจให้ดูแลบ้าน, ไว้วางใจ ก็ว่า.
  36. ไว้ฝีมือ : ว. อาการที่แสดงความสามารถในด้านศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการฝากฝีมือไว้อย่างเต็มที่ เช่น ออกแบบบ้านอย่างไว้ฝีมือ วาดภาพอย่างไว้ฝีมือ.
  37. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  38. ศรี ๑ : [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่นศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็น การยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัยวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).
  39. ศาลากลางย่าน : น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
  40. ศาสนจักร : [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
  41. ศึกสงคราม : น. สงคราม เช่น ประเทศเพื่อนบ้านเกิดศึกสงคราม.
  42. ศึกเสือเหนือใต้ : (สำ) น. สงคราม เช่น ฝึกทหารไว้ให้พร้อมรบ ยามมีศึกเสือเหนือใต้จะได้ป้องกันบ้านเมือง.
  43. เศร้าสร้อย : ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึง หรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า. เ
  44. สงบ : [สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์ สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการ ไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจร ผู้ร้าย.
  45. สงบเงียบ : ก. ปราศจากเสียงรบกวน เช่น เด็ก ๆ ไม่อยู่บ้าน ทำให้บ้าน สงบเงียบ.
  46. สงบราบคาบ : ก. เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้าง กระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ.
  47. สถานการณ์ : น. เหตุการณ์ที่กําลังเป็นไป เช่น สถานการณ์บ้านเมือง เป็นปรกติดี.
  48. สนทนา : [สนทะ] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนา ปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).
  49. สภาวการณ์ : น. เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น บ้านเมืองตก อยู่ในสภาวการณ์เดือดร้อนเพราะภัยธรรมชาติ.
  50. สมบัติ ๑ : น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-804

(0.0959 sec)