Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เวลาเย็น, เวลา, เย็น , then เพลา, ยน, เย็น, วลา, เวล, เวลา, เวลาเย็น, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เวลาเย็น, 991 found, display 851-900
  1. หนทาง : น. ทาง, ช่องทาง, เช่น เวลานี้เขาหมดหนทางทำมาหากินแล้ว.
  2. หน่วง : [หฺน่วง] ก. ดึงไว้แต่น้อย ๆ, เหนี่ยวไว้, ทําให้ช้า, เช่น หน่วงเรื่องไว้ หน่วง เวลาไว้ หน่วงตัวไว้. อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามี ประจำเดือนหรือเป็นบิดเป็นต้น.
  3. หน่วยกิต : [-กิด] น. ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนจะพึง ได้รับเมื่อได้ศึกษาตรงตามกําหนดเวลาและสอบผ่านวิชานั้น ๆ, เครดิต ก็เรียก.
  4. หนังกลางวัน ๑ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์ และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
  5. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  6. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  7. หน้าเก่า : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.
  8. หน้าเดิม : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มี แต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.
  9. หน้าปัด : น. แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้น เช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดนํ้า.
  10. หน้าไฟ : น. เวลาที่จุดไฟเผาศพ เช่น พระสวดหน้าไฟ.
  11. หนามยอกอก : (สํา) น. คนหรือเหตุการณ์ที่ทําให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมา ทิ่มแทงอยู่ในอกตลอดเวลา.
  12. หนาว : ว. เย็นจัด, อาการที่รู้สึกเย็นจัด.
  13. หนาวสะท้าน : ว. หนาวสั่นเพราะพิษไข้; รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจทำให้รู้สึก ครั่นคร้ามหรือหวาดกลัวจนตัวสั่นเป็นต้น.
  14. หมดเขต : ก. หมดระยะเวลาที่กําหนดไว้ เช่น สิ้นเดือนนี้หมดเขตส่งภาพ เข้าประกวด.
  15. หมวกกะหลาป๋า : น. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรง สูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้น รัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.
  16. หมาจิ้งจอก : น. ชื่อหมาชนิด Canis aureus ในวงศ์ Canidae ขนตามลําตัว สีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้ง แหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ใน โพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์.
  17. หมาใน : น. ชื่อหมาชนิด Cuon alpinus ในวงศ์ Canidae ขนสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเทา หางสีคลํ้ายาวเป็นพวง อาศัยอยู่ตามป่าทึบ ออกหากินเป็น ฝูงเวลาเช้ามืดและพลบคํ่า ล่าสัตว์อื่นกิน เช่น เก้ง กวาง หมูป่า สัตว์เล็ก ๆ.
  18. หมาไล่เนื้อ : (สำ) น. คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็น นายก็เมตตาเลี้ยงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่งเป็นต้น เปรียบเสมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อแก่สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ใช้ไล่ล่าสัตว์ไม่ได้ เจ้าของก็ไม่เมตตาเลี้ยงดู อีกต่อไป.
  19. หมู่ ๒ : น. ระยะเวลา เช่น หมู่นี้สุขภาพไม่ค่อยดี หมู่นั้นไม่ว่าง.
  20. หมูตั้ง : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้น เล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่น เป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.
  21. หลอกหลอน : ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอก หลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจ ที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมา คอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
  22. หลอน : [หฺลอน] ก. อาการที่ภาพซึ่งน่ากลัวหรือน่าสะเทือนใจคงอยู่ในมโนภาพ เช่น ภาพที่เด็กถูกรถทับตายต่อหน้าต่อตามาหลอนอยู่ตลอดเวลา.
  23. หล่อน้ำมัน : ก. เอาไส้ตะเกียงแช่ในตะเกียงหรือภาชนะที่ขังน้ำมันก๊าดหรือ น้ำมันมะพร้าวไว้เพื่อจุดให้ไส้ติดไฟอยู่ตลอดเวลาเป็นต้น.
  24. หลัง ๑ : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  25. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  26. หลาม ๑ : น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมี เส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ.
  27. หลุดมือ : ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือ ไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลา ไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
  28. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  29. หัวโขน ๑ : น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยาย หมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.
  30. หัวค่ำ : น. เวลาแรกมืด, เวลายังไม่ดึก.
  31. หัวงาน : น. เวลาตั้งต้นทํางาน; เนื้อที่นาตรงเริ่มไถหรือคราด; สถานที่เริ่มต้น ทํางาน; (โบ) หัวหน้างาน.
  32. หัวเงื่อน : น. ปมที่ทำไว้สำหรับกระตุกหรือชักออกเมื่อเวลาแก้, โดยปริยาย หมายถึงข้อความตรงที่จะต้องไขความให้กระจ่าง.
  33. หัวซุน : ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัว ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  34. หัวต่อ : น. ที่ซึ่ง ๒ ส่วนมาติดกัน, ระยะตรงที่เวลา ข้อความ หรือเหตุการณ์ ติดเนื่องกัน.
  35. หัวที : น. เวลาแรก, เวลาที่เริ่มทํา, เวลาลงมือ.
  36. หัวไม่วางหางไม่เว้น : (สํา) ว. รวบหมดทั้งหัวทั้งหาง; อาการที่ทำงานอยู่ ตลอดเวลาโดยไม่มีเวลาหยุดพัก เช่น เขาทำงานหัวไม่วางหางไม่เว้น เขาถูกใช้งานจนหัวไม่วางหางไม่เว้น.
  37. หัวลม : น. ต้นลม, ลมต้นฤดูหนาว; เรียกไข้ที่มักเกิดเพราะถูกอากาศเย็น ต้นฤดูหนาวว่า ไข้หัวลม.
  38. หัวหลักหัวตอ : (สํา) น. บุคคลที่นึกว่าตนเป็นคนสำคัญแต่คนอื่นมองข้าม ไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษา (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอก น้อยใจ), ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ถูกผู้น้อยมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ ปรึกษาหารือก่อน (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ) เช่น เขาเห็นเราเป็นหัวหลักหัวตอไปได้ จะทำอะไรก็ไม่ปรึกษาหารือ.
  39. หากว่า : สัน. ถ้าว่า, แม้ว่า, เช่น ฉันจะไปชายทะเลหากว่ามีเวลาว่าง.
  40. หากินตัวเป็นเกลียว : (สำ) ก. ขยันทำมาหากินจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน.
  41. หางนาค : น. ชื่อนกชนิด Megalurus palustris ในวงศ์ Sylviidae ตัวสีนํ้าตาล มีลาย ตลอดทั่วตัว หางยาว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า หนองนํ้า ทุ่งนา เวลาบินหาง จะกระดกขึ้นลง.
  42. หาว : น. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออก ทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.
  43. หาเหตุ : ก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; ข้ออ้าง เช่น เขาหา เหตุลาหยุดงาน.
  44. หิงห้อย, หิ่งห้อย : น. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae สามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วง ของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลําตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอก สันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.
  45. หิม-, หิมะ : [หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).
  46. หุ่นกระบอก : น. หุ่นชนิดหนึ่ง มีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้างลำตัวทำด้วย ไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอก นั้นเชิด.
  47. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  48. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  49. เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
  50. เห่เรือ : น. ทํานองที่ใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-991

(0.1213 sec)