Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เวลา , then เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Budhism Thai-Thai Dict : เวลา, 143 found, display 51-100
  1. เดือน : ดวงจันทร์, ส่วนของปี คือปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง (อย่างจันทรคติ); การที่นับเวลาเป็นเดือนและเรียกเวลาที่นับนั้นว่าเดือนก็เพราะกำหนดเอาข้างขึ้นข้างแรมของเดือน คือดวงจันทร์เป็นหลักมาตั้งแต่ตั้งเดิม ดูชื่อเดือนที่ มาตรา
  2. ตรุษ : นักษัตรฤกษ์เมื่อเวลาสิ้นปี
  3. ต่อหนังสือค่ำ : วิธีที่ใช้สอนให้จำ ในยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ โดยอาจารย์สอนให้ว่าทีละคำหรือทีละวรรค ศิษย์ก็ว่าตามว่าซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อให้จำได้ เมื่อศิษย์จำได้แล้ว อาจารย์ก็สอนต่อไปทุกๆ วัน วันละมากหรือน้อยแล้วแต่ความสามารถของศิษย์ นี่เรียกว่า ต่อหนังสือ และมักต่อในเวลาค่ำ จึงเรียกว่าต่อหนังสือค่ำ
  4. ติรัจฉานกถา : ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน, เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้ โจรกถา สนทนาเรื่องโจรว่าโจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้นๆ ปล้นที่นี่ได้เท่านี้ๆ เป็นต้น (ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยกย่อยได้ ๓๓ อย่าง)
  5. ทักขิโณทก : น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน
  6. ทักษิโณทก : น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน, น้ำกรวด, คือเอาน้ำหลั่งเป็นเครื่อง หมายของการให้แทนสิ่งของที่ให้ เช่น ที่ดิน ศาลา กุฎี บุญกุศล เป็นต้น ซึ่งใหญ่โตเกินกว่าที่จะยกไหว หรือไม่มีรูปที่จะยกขึ้นได้
  7. ทัพพมัลลบุตร : พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา มีความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร เวลาปลงผม พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล พอปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัต ท่านรับภาระเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ในตำแหน่งเสนาสนปัญญาปกะ (ผู้ดูแลจัดสถานที่พักอาศัยของพระ) และภัตตุเทสก์ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดา เสนาสนปัญญาปกะ
  8. ทิวาวิหาร : การพักผ่อนในเวลากลางวัน
  9. ทุกขลักษณะ : เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑.ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒.ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓.เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔.แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข
  10. เทโวโรหณะ : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  11. นอนร่วม : นอนในที่มุงที่บังอันเดียวกัน แลเห็นกันได้ในเวลานอน
  12. นิตยกาล : ตลอดเวลา, ตลอดกาลเป็นนิตย์
  13. บอกศักราช : เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาลเวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์ และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลภาษาไทย การบอกอย่างเก่า บอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต คือบอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา๕พันปี แต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ.เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน ทั้งบาลีและคำแปล บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่น ใช้กันดื่นทั่วไป
  14. ปฏิกัสสนา : กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติคือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสขึ้นใหม่อีก ในเวลาใดเวลาหนึ่งตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน ทำให้เธอต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตตั้งแต่เริ่มต้นไปใหม่ ; สงฆ์จตุวรรคให้ปฏิกัสสนาได้ ดู อันตราบัติ
  15. ประเทศบัญญัติ : บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่งเดือน เว้นแต่สมัย
  16. ปรัมปรโภชน์ : โภชนะทีหลัง คือ ภิกษุรับนิมนต์ในที่แหงหนึ่งด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ไปฉันในที่นิมนต์นั้น ไปฉันเสียในที่อื่นที่เขานิมนต์ทีหลังซึ่งพ้องเวลากัน
  17. ปลงบริขาร : มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น (ใช้สำหรับภิกษุผู้จะถึงมรณภาพเพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)
  18. ปัจฉาภัต : ทีหลังฉัน, เวลาหลังอาหาร หมายถึงเวลาเที่ยงไปแล้ว
  19. ปัจฉิมโพธิกาล : โพธิกาลช่วงหลัง, ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจตอนท้ายคือ ช่วงใกล้จนถึงปรินิพพาน กำหนดคร่าวๆ ตามมหาปรินิพพานสูตรตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขารถึงปรินิพพาน
  20. ปัณณัติติวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐานละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดินใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่นนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่นเป็นต้น
  21. ปุริมพรรษา : พรรษาต้น เริ่มแต่วันแรมค่ำหนึ่งเดือนแปด ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป เป็นเวลา ๓ เดือน คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
  22. ปุเรภัต : ก่อนภัต, ก่อนอาหาร หมายถึง เวลาก่อนฉันของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อพูดอย่างกว้าง หมายถึง ก่อนหมดเวลาฉัน คือ เวลาเช้าจนถึงเที่ยง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ภิกษุฉันอาหารได้
  23. ผ้าอาบน้ำฝน : ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบนำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘; เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฏก; คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวร เป็นผ้าอาบน้ำฝน
  24. พรรษา : ฤดูฝน, ปี, ปีของระยะเวลาที่บวช
  25. พระชนม์ : อายุ, การเกิด, ระยะเวลาที่เกิดมา
  26. พุทธกิจ : กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ, การงานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำพุทธกิจประจำวัน ๕ พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวัน มี ๕ อย่าง คือ ๑.ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต ๒.สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓.ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ ๔.อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา ๕.ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ จวนสว่าง ทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่ (สรุปท้ายว่า เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีผู้ประเสริฐทรงยังกิจ ๕ ประการนี้ให้หมดจด)
  27. พุทธกิจ ๔๕ พรรษา : ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกต
  28. พุทธันดร : ช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระพุทธศาสนา คือช่วงเวลาที่ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสูญสิ้นแล้ว และพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ยังไม่อุบัติ
  29. พุทธุปบาทกาล : กาลเป็นที่อุบัติของพระพุทธเจ้า, เวลาที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก
  30. ภวังคจิต : จิตที่เป็นองค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
  31. ภัทเทกรัตตสูตร : ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือ คนที่เวลาวันคืนหนึ่งๆ มีแต่ความดีงามความเจริญก้าวหน้า ได้แก่ ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีต ไม่เพ้อหวังอนาคต ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไป มีความเพียรพยายาม ทำกิจที่ควรทำเสียแต่วันนี้ ไม่รอวันพรุ่ง
  32. มหาวิโลกนะ : “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่”, ขอตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี๕อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ ๑.กาล คืออายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี) ๒.ทีปะ คือทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป ๓.เทสะ คือประเทศ หมายถึงดินแดนจะอุบัติในมัธยมประเทศ และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงบังเกิด ๔.กุละ คือ ตระกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุลหรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา ๕.ชเนตติอายุปริจเฉท คือมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)
  33. มหาสุทธันตปริวาส : สุทธันตปริวาส ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกันจนจำจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ไม่ได้เลย อยู่ปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ โดยกะเอาตั้งแต่บวชมาถึงเวลาใดยังไม่เคยต้องสังฆาทิเสสเลยเป็นช่วงแรก แล้วถอยหลังจากปัจจุบันไปจนตลอดเวลาที่ไม่ได้ต้องอีกช่วงหนึ่ง กำหนดเอาระหว่างช่วงทั้ง ๒ นี้
  34. มัชฌิมโพธิกาล : ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้าตอนกลางระหว่างปฐมโพธิกาลกับปัจฉิมโพธิกาล นับคร่าวๆ ตั้งแต่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธไปแล้ว ถึงปลงพระชนมายุสังขาร
  35. มัธยม : มีในท่ามกลาง; ระดับกลาง; เที่ยงวัน หมายถึงเวลาเที่ยงที่ปรากฏตามเงาแดด ถ้าเป็นเวลาที่คิดเฉลี่ยกันแล้วเรียกว่า สมผุส
  36. โมริยกษัตริย์ : กษัตริย์ผู้ครองเมืองปิปผลิวัน ส่งทูตมาไม่ทันเวลาแจกพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้แต่พระอังคารไปสร้างอังคารสตูป ที่เมืองของตน
  37. ยส : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  38. ยสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  39. ยาคู : ข้าวต้ม, เป็นอาหารเบาสำหรับฉันรองท้องก่อนถึงเวลาฉันอาหารหนักเป็นของเหลว ดื่มได้ ซดได้ ไม่ใช่ของฉันให้อิ่ม เช่น ภิกษุดื่มยาคูก่อนแล้วไปบิณฑบาต ยาคูสามัญอย่างนี้ ที่จริงจะแปลว่าข้าวต้มหาถูกแท้ไม่ แต่แปลกันมาอย่างนั้นพอให้เข้าใจง่ายๆ ข้าวต้มที่ฉันเป็นอาหารมื้อหนึ่งได้อย่างที่ฉันกันอยู่โดยมากมีชื่อเรียกต่างออกไปอีกอย่างหนึ่งว่า ดู โภชชยาคู
  40. ยาวชีวิก : ของที่ให้ฉันได้ไม่จำกัดเวลาตลอดชีวิต ดู กาลิก
  41. ร่ม : สำหรับพระภิกษุ ห้ามใช้ร่มที่กาววาว เช่น ร่มปักด้วยไหมสีต่างๆ และร่มที่มีระบายเป็นเฟือง ควรใช้ของเรียบๆ ซึ่งทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัดและอุปจาระแห่งวัด ห้ามกั้นร่มเข้าบ้านหรือกั้นเดินตามถนนหนทางในละแวกบ้าน เว้นแต่เจ็บไข้ ถูกแดดถูกฝนอาพาธจะกำเริบ เช่น ปวดศีรษะ ตลอดจน (ตามที่อรรถกถาผ่อนให้) กั้นเพื่อกันจีวรเปียกฝนตก กั้นเพื่อป้องกันภัย กั้นเพื่อรักษาตัวเช่นในเวลาแดดจัด
  42. ราตรี : กลางคืน, เวลามืดค่ำ
  43. ฤกษ์ : คราวหรือเวลาซึ่งถือว่าเหมาะเป็นชัยมงคล
  44. ลุมพินีวัน : ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้เรียก รุมมินเด อยู่ที่ปาเดเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือ ประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง) ดู สังเวชนียสถาน
  45. วักกลิ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถีเรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ดังนี้เป็นต้น และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธีจนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุต คือ หลุดพ้นด้วยศรัทธา
  46. วัน : ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน การที่เรียกว่า วัน นั้นเพราะแต่โบราณถือเอากำหนดพระอาทิตย์ ซึ่งเรียกตะวันขึ้นจนถึงตะวันตกเป็นกำหนด จึงเรียกว่าวัน คือมาจากคำว่าตะวันนั่นเอง
  47. วาระ : ครั้งคราว, เวลาที่กำหนดสำหรับผลัดเปลี่ยน
  48. วาสนา : อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
  49. วิกาล : ผิดเวลา, ในวิกาลโภชนสิกขาบท (ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล) หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ส่วนในอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ ในภิกขุนีวิภังค์ (ห้ามภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาวิกาล เอาที่นอนปูลาดนั่งนอนทับโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเจ้าบ้าน) หมายถึงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ในสิงคาลกสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สุตตันตปิฎก กล่าวถึงการเที่ยวซอกแซกในเวลาวิกาลว่าเป็นอบายมุขนั้น ก็หมายถึงเวลาค่ำ
  50. วิกาลโภชน์ : การกินอาหารในเวลาวิกาล, การฉันอาหารผิดเวลา ดู วิกาล
  51. 1-50 | [51-100] | 101-143

(0.0263 sec)