เกลือเบสิก : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยอนุมูลกรดเข้าไปแทนที่ หมู่ไฮดรอกซิล (OH) ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของเบสไม่หมด เช่น เลดไฮดรอกซีคลอไรด์ [Pb(OH)Cl], เกลือด่าง ก็ว่า. (อ. basic salt).
จาดตะกั่ว : น. สารประกอบชนิดหนึ่งของธาตุตะกั่ว เป็นสารสี สีขาว มีสูตร 2PbCO3Pb(OH)2 ใช้เป็นองค์ประกอบของสีทาบางประเภท. (อ. white lead).
เบส : (เคมี) น. สารเคมีซึ่งทําปฏิกิริยากับกรด แล้วให้ผลเป็นเกลือหรือ เกลือกับนํ้าเท่านั้น, สารเคมีที่มีสมบัติรับโปรตอนมาจากสารอื่น ได้, สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายอิเล็กตรอนคู่หนึ่งให้แก่สารอื่นได้, สารเคมีซึ่งเมื่อละลายนํ้าแล้วให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-), สารละลายที่เปลี่ยนสีลิตมัสสีแดงเป็นสีนํ้าเงินได้. (อ. base).
ไมกา : น. แร่ประเภทซิลิเกต มีหลายชนิด ชนิดที่สําคัญที่สุด ได้แก่ แร่มัสโคไวต์ มีสูตร KAl3Si3O10(OH)2 และแร่โฟลโกไพต์ มีสูตร KMg3AlSi3O10(OH)2 ลักษณะผิวเป็นมันวาว ลอกออกได้เป็นแผ่นบางโปร่งแสง ทนความร้อนได้ดี ใช้ประโยชน์เป็นฉนวนความร้อนทําอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น, แร่กลีบหิน ก็เรียก. (อ. mica).
อนุมูล : น. หมู่ธาตุซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฏิกิริยาเคมีแล้ว ทั้งหมู่จะเข้าทํา ปฏิกิริยาด้วยกันโดยไม่แตกแยกออกจากกัน เช่น อนุมูล ไฮดรอกซิล (-OH) อนุมูลไนเทรต (-NO3). (อ. radical, radicle).