Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กฎ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กฎ, 819 found, display 1-50
  1. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  2. กฎกระทรวง : (กฎ) น. บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออก โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกําหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี.
  3. กฎข้อบังคับ : (กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกําหนดขึ้น ไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ.
  4. กฎทบวง : (กฎ) น. ข้อบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัย อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเช่นเดียวกับกฎกระทรวง.
  5. กฎมนเทียรบาล : (กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสํานัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.
  6. กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  7. กฎยุทธวินัย : (กฎ; เลิก) น. ชื่อย่อของกฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธวินัย.
  8. กฎธรรมชาติ : น. กฎในเรื่องธรรมชาติ.
  9. กฎมณเฑียรบาล, กฎมณเทียรบาล : (โบ) น. กฎมนเทียรบาล.
  10. กฎศีลธรรม : น. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและ ไม่ถูกต้องทางศีลธรรม.
  11. กฎเสนาบดี : (เลิก) ดู กฎกระทรวง.
  12. กฎแห่งกรรม : น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรม ที่ผู้กระทําจักต้องได้รับ.
  13. กฎเกณฑ์ : น. ข้อกําหนดที่วางไว้เป็นหลัก, หลักเกณฑ์.
  14. กฎธรรมดา : น. ข้อกําหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดา วิสัยของมนุษย์และสังคม.
  15. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  16. ประกฤติ : [-กฺริด, -กฺริติ] (แบบ) น. มูลเดิม, ที่เกิด, รากเหง้า; ความเป็นไป ตามธรรมดา, ความเป็นไปตามปรกติ, ลักษณะ; กฎ, เกณฑ์, แบบเดิม. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  17. วิธี : น. ทํานองหรือหนทางที่จะทํา เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอน คณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี; กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).
  18. อาชญัปติ, อาชญัปติ์ : [อาดยับติ, อาดยับ] น. ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, ใช้ว่า อาญัปติ์ ก็มี เช่น รัตนาญัปติ์. (ส. อาชฺ?ปฺติ; ป. อาณตฺติ).
  19. อาณัติ : [อานัด] น. ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย; การมอบหมายให้ดูแล ปกครอง เช่น อาณาเขตในอาณัติ ดินแดนในอาณัติ. (ป. อาณตฺติ).
  20. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  21. กฎบัตร : (กฎ) น. ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกําหนด อํานาจหน้าที่ขององค์การ.
  22. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  23. กฎหมายปกครอง : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการ ดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครอง กับเอกชน. (อ. administrative law).
  24. กฎหมายปิดปาก : (กฎ) น. หลักกฎหมายที่ไม่ยอมให้อ้าง หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ตามพฤติการณ์ ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นจะเป็นจริง หรือไม่ก็ตาม. (อ. estoppel).
  25. กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
  26. กฎหมายแพ่ง : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคล ตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิดทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
  27. กฎหมายมหาชน : (กฎ) น.กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ ในดินแดนของรัฐนั้น เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา. (อ. public law).
  28. กฎหมายระหว่างประเทศ : (กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติ ที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความ เกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคม ระหว่างประเทศ, เดิมเรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).
  29. กฎหมายรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมาย มหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทาง การเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของ รัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย. (อ. constitutional law).
  30. กฎหมายอาญา : (กฎ) น. กฎหมายที่กําหนดลักษณะของการกระทํา ที่ถือว่าเป็นความผิด และกําหนดบทลงโทษทางอาญาสําหรับ ความผิดนั้น. (อ. criminal law).
  31. กฎหมายเอกชน : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการ อย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและ หน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
  32. กติกาสัญญา : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศ. (อ. pact).
  33. กรมธรรม์ประกันภัย : (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของ ผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
  34. กรรมสิทธิ์รวม : (กฎ) น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนร่วมกัน ในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง.
  35. กระทำโดยเจตนา : (กฎ) ก. กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็ง เห็นผลของการกระทำนั้น.
  36. กระทำโดยประมาท : (กฎ) ก. กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความ ระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่.
  37. กระบวนการยุติธรรม : (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหาร งานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาลกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.
  38. การทะเบียนราษฎร : (กฎ) น. งานทะเบียนต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียน ประวัติราษฎร.
  39. การประกอบโรคศิลปะ : (กฎ) น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือ มุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และ สาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ.
  40. กิ่งอำเภอ : (กฎ) น. ท้องที่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง แยกมาจากอำเภอที่มีเขตท้องที่กว้างขวางแต่จำนวนประชากรไม่มาก หรือที่ที่มีชุมชนมากแต่ท้องที่ไม่กว้างขวางพอที่จะตั้งขึ้นเป็นอำเภอ มีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง.
  41. แก้ต่าง : (กฎ) ก. ว่าความแทนจําเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนโจทก์.
  42. แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
  43. ข่มขืนกระทำชำเรา : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานขืนใจกระทําการ ร่วมประเวณีกับหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือใช้กําลังประทุษร้ายหญิงซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือ ทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น.
  44. ข่มขืนใจ : (กฎ) ก. บังคับให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา โดยไม่สมัครใจ แต่จําต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๙.
  45. ข้อกฎหมาย : (กฎ) น. ข้อความที่เกี่ยวกับการใช้บังคับหรือการตีความกฎหมาย.
  46. ข้อจำกัด : (กฎ) น. สิ่งที่กำหนดขอบเขตสิทธิหรืออำนาจไว้โดยเฉพาะ.
  47. ขอบทาง : (กฎ) น. แนวริมของทางเดินรถ.
  48. ข้อบังคับ : (กฎ) ดู กฎข้อบังคับ.
  49. ข้อบัญญัติ : (กฎ) น. กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้น เพื่อใช้บังคับในเขตขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้อ บัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา.
  50. ขายตามคำพรรณนา : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขาย ทรัพย์สินตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ขายได้บรรยายไว้อย่างละเอียด.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-819

(0.0543 sec)