Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระแทก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระแทก, 45 found, display 1-45
  1. กระแทก : ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติ แสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.
  2. กระแทกกระทั้น : ว. กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ.
  3. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  4. กระทบกระแทก : ว. อาการที่กล่าวเปรย ๆ ให้กระทบไปถึงผู้ใด ผู้หนึ่งอย่างแรง.
  5. กระโชก : ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว, ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
  6. -กระทั้น : ใช้เข้าคู่กับคํา กระแทก เป็น กระแทกกระทั้น.
  7. กรรแทก : [กัน-] ก. กระแทก, เขียนเป็น กันแทก ก็มี เช่น หัวล้านชาวไร่ ไล่ปาม เข้าขวิดติดตาม กันแทกก็หัวไถดินฯ. (สมุทรโฆษ).
  8. กระโชกกระชั้น : ว. อาการพูดกระแทกเสียงถี่ ๆ.
  9. กระโชกกระชาก : ว. อาการพูดอย่างตวาดหรืออย่างกระแทกเสียง.
  10. กระโชกโฮกฮาก : ว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่ง ไม่น่าฟัง, โฮกฮาก ก็ว่า.
  11. กระเดื่อง ๑ : น. ส่วนหนึ่งของครกกระเดื่อง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัว มีสากสำหรับตำข้าวที่อยู่ในครก เมื่อเหยียบปลายข้างหางแล้วถีบ ลงหลุม หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง; (รูปภาพ กระเดื่อง) เรียกเครื่องจักรนาฬิกาชิ้นหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเดื่อง.
  12. กระตุ้น : ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้า กระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
  13. กระทอก : ก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กําแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. (ขุนช้างขุนแผน). (เทียบมลายู กระตอก ว่า ตอก).
  14. กระทืบ : ก. ยกเท้ากระแทกลงไป.
  15. กระทุ้ง : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
  16. กะตุ๊ก, กะตูก : ก. ร้องกระแทกเสียงที่ริมหูคนอื่นว่า ''กะตุ๊ก'' จนหูอื้อ เป็นการล้อกันเล่น เรียกว่า กะตูกที่หู.
  17. กันชน : น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและ ด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ว่า ประเทศกันชน.
  18. การนำ : (ไฟฟ้า) น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนํา หรือฉนวน; (ความร้อน) การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุ โดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจาก โมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก.
  19. โกรง : [โกฺรง] ว. เสียงกระแทกดังโครม ๆ เช่น กระทุ้งเส้ากราวโกรง. (สุบิน).
  20. ขะแถก : (ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  21. ขะแยะ : ก. ตําเบา ๆ, ตําแซะ ๆ; เอาไหล่กระแทกเข้าไป.
  22. เข่าลอย : น. ท่าต่อสู้ของกีฬามวยไทยโดยกระโดดให้ตัวลอยแล้ว ใช้เข่ากระแทกคู่ต่อสู้.
  23. คร่ำ ๑ : [คฺรํ่า] ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทําหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  24. งาแซง : น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า ประตูค่ายเป็นต้น.
  25. จ้ำเบ้า : ว. อาการที่ก้นกระแทกพื้นลุกไม่ขึ้น เช่น หกล้มจํ้าเบ้า.
  26. ช้ำ : ว. น่วมระบมเพราะถูกกระทบกระแทกอย่างแรงหรือ บ่อย ๆ เช่น, มะม่วงชํ้า, เป็นรอยจํ้า ๆ อย่างรอย ฟกชํ้าดําเขียว.
  27. ซ้น : ก. อาการที่ข้อมือข้อเท้าเป็นต้นถูกกระแทกโดยแรงทําให้เคลื่อนเลย ที่เดิมเข้าไป.
  28. แดกดัน : ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดเพราะความไม่พอใจ.
  29. โดน ๑ : ก. กระทบกระทั่ง, กระทบกระแทก, สัมผัสถูกต้อง; ถูก เช่น โดนตี.
  30. ตบเท้า : ก. อาการเดินกระแทกตีนกับพื้นแรง ๆ ของทหารหรือตํารวจ เป็นต้นเรียกว่า เดินตบเท้า.
  31. ตะเพรา : [-เพฺรา] น. ไม้ขอสําหรับเกี่ยวให้เรือเข้าหรือคํ้าไม่ให้เรือชนกัน เรียกว่า ขอตะเพรา; ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าวเป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกัน กระแทกเรียกว่า ลูกตะเพรา.
  32. ถีบ : ก. งอเข่าแล้วใช้ฝ่าเท้ากระแทกออกไป, งอเข่าแล้วใช้ฝ่าเท้าดันไป โดยแรง เช่น ถีบรถ ถีบจักร; ดัน เช่น ว่าวถีบสูง.
  33. ทิ่ม : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว ๆ หรือแหลม ๆ กระแทกโดยแรง เช่น เอามีดทิ่มพุง เอานิ้วทิ่มตา.
  34. น้ำคร่ำ : น. ของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอด เป็นต้น เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  35. โน : ก. นูนขึ้นเพราะถูกกระทบกระแทกเป็นต้น (มักใช้แก่หัวหรือหน้า) เช่น หัวโน หน้าโน.
  36. ประชดประชัน : ก. พูดหรือทําเป็นเชิงกระทบกระแทกแดกดัน.
  37. ปรัน : [ปฺรัน] ก. เอาของใหญ่กระแทกหรือดันเข้าไปในของเล็ก (มักใช้เป็นคําด่า).
  38. โป ๒ : ว. โนหรือนูนขึ้นเพราะถูกกระทบกระแทก.
  39. ฟกช้ำดำเขียว : ว. บวมชํ้าตามร่างกายเพราะถูกกระทบ กระแทกอย่างแรง.
  40. ยอ ๒ : ก. กล่าวคําเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบ ให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่ วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้ง ไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.
  41. ระเบิดขวด : น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารเคมีบางอย่างในขวดแก้วหนา เมื่อ ถูกกระทบกระแทกอย่างแรงจะระเบิด.
  42. ลงส้น : ก. อาการที่เดินกระแทกส้นเท้าแสดงความไม่พอใจเป็นต้น.
  43. ล้มตึง : ก. ล้มหงายหลังกระแทกพื้น.
  44. ลูกตะเพรา : น. ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าว เป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกันกระแทก.
  45. โหม่ง ๑ : [โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดย ปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.
  46. [1-45]

(0.0146 sec)