Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลัว , then กลว, กลัว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลัว, 180 found, display 1-50
  1. กลัว : [กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น กลัวเสือ กลัวไฟไหม้.
  2. กลัวน้ำ : น. โรคพิษสุนัขบ้า เรียกว่า โรคกลัวน้ำ.
  3. กลัวลาน : ก. กลัวจนตั้งสติไม่อยู่.
  4. เกรงกลัว : ก. กลัว.
  5. สะพรึงกลัว : ว. น่าพรั่นพรึง ใช้ว่า น่าสะพรึงกลัว เช่น เห็นร่างดำทะมึน น่าสะพรึง กลัว.
  6. กระดก ๒ : (โบ; กลอน) ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลวว แก่มรณภยานตราย. (ม. คําหลวง ชูชก).
  7. แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).
  8. แยง ๒ : ก. เยง, กลัว, เกรง.
  9. หวั่นกลัว, หวั่นเกรง : ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง.
  10. หวาดกลัว, หวาดเกรง : ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.
  11. เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
  12. ขนหย็อง : น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนก ที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
  13. ขี้หดตดหาย : (ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจน ขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก.
  14. ภีตะ : ก. กลัว. (ป., ส.).
  15. ระลง : (กลอน) ก. ครั่นคร้าม, กลัว.
  16. ลานตา. : ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน.
  17. วาบ : ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้ว หายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ; วับ.
  18. สยอน : [สะหฺยอน] ก. หวาดเสียว, กลัว.
  19. หนาวใจ : ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว.
  20. หัวหด : ก. กลัวมาก, ขยาด, เช่น ได้ยินแค่ชื่อก็หัวหดแล้ว. ว. ใช้ประกอบ กับคำ กลัว ในความว่า กลัวจนหัวหด หมายความว่า กลัวมาก.
  21. กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
  22. กระโชก : ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว, ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
  23. กระวาน ๒ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. (สมุทรโฆษ).
  24. กระหึม, กระหึ่ม : ว. เสียงดังหึ่มอย่างน่ากลัว เช่น พายุพัดกระหึ่ม, เสียงก้องกังวาน เช่น เสียงดนตรีดังกระหึ่ม.
  25. กระอึกกระอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัว หรือประหม่าเป็นต้น, อึกอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า.
  26. กริ่งเกรง : ก. ระแวงกลัวไป.
  27. กล้า ๒ : [กฺล้า] ก. ไม่กลัว, ไม่ครั่นคร้าม. ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า, แรง เช่น เวทนากล้า.
  28. กล้าได้กล้าเสีย : ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
  29. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  30. กษัตรี : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).
  31. กำราบ : [-หฺราบ] ก. ทําให้เข็ดหลาบ, ทําให้กลัว, ทําให้สิ้นพยศ, ทําให้สิ้นฤทธิ์.
  32. กุกะ : ว. ขรุขระ เช่น ทั้งน้ำใจก็ดื้อดันดุกุกะไม่คิดกลัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  33. เก่งกาจ : ก. กล้าหาญไม่กลัวอะไร.
  34. เกรง : [เกฺรง] ว. นึกกลัวไปเอง, นึกวิตกไปเอง, เช่น เกรงว่าเขาจะเดือดร้อน.
  35. เกี่ยง : ก. อาการที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมทําเพราะกลัวจะเสียเปรียบกันเป็นต้น.
  36. แก่น : น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสําคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.
  37. ขนพอง : น. ขนตั้งชันฟูขึ้น เกิดจากความตกใจหรือความกลัวเป็นต้น.
  38. ขนลุกขนชัน, ขนลุกขนพอง : น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะความขยะแขยง หรือตกใจกลัวเป็นต้น.
  39. ขนหัวลุก : (สำ) ว. อาการที่ตกใจหรือกลัวมากเป็นต้นจนรู้สึก คล้ายกับผมตั้งชันขึ้น.
  40. ข่มขู่ : ก. ทําให้กลัว, ทําให้เสียขวัญ; (กฎ) ทําให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะพึงกลัว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรมเสื่อมเสียได้.
  41. ขมึงทึง : [ขะหฺมึงทึง] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้ง ไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตา น่ากลัว, ถมึงทึง ก็ว่า.
  42. ขยอง ๑ : [ขะหฺยอง] (ถิ่น-อีสาน) ก. ผยอง, รู้สึกหวาดกลัว.
  43. ขยะแขยง : [ขะหฺยะขะแหฺยง] ก. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจหรือน่าเกลียดน่ากลัวหรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, แขยง ก็ว่า.
  44. ขยาด : [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะ เคยได้รับผลร้ายมาแล้ว.
  45. ขลาด : [ขฺลาด] ว. มักกลัว, ไม่กล้า.
  46. ขู่ : ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
  47. ขู่กรรโชก : ก. ทําให้กลัวโดยแสดงกิริยาอาการจะทําร้าย.
  48. ขู่ขวัญ : ก. ทําให้หวาดกลัว, ทําให้เสียขวัญ.
  49. ขู่เข็ญ : ก. ทําให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่น ต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
  50. เข็ด ๒ : ก. กลัวจนไม่กล้าทําเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว, หลาบจํา, ไม่กล้าสู้, เช่นในคําว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลํา เข็ดเขี้ยว.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-180

(0.0648 sec)