Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กล่อง , then กลอง, กล่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กล่อง, 94 found, display 1-50
  1. กล่อง : [กฺล่อง] น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
  2. กล่องเสียง : น. อวัยวะสำคัญในการเปล่งเสียงพูด ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของหลอดลม.
  3. กุบ : น. ซองหนังชนิดหนึ่ง เมื่อตัดทองคําใบชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สอดในกระดาษแก้วหนาแผ่นเล็กซ้อนกันเป็นตั้งแล้วใส่ใน ซองหนังนั้น ตีซองแผ่ทองคำให้บางออกไป; ชาวภาคพายัพบางถิ่น และพวกเงี้ยวเรียกหมวกชนิดต่าง ๆ ว่า กุบ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) กลัก, กล่อง.
  4. กระเชา : น. ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch. ในวงศ์ Ulmaceae ขึ้นอยู่ทั่วไป ผลแบน บางเป็นปีกโดยรอบ เนื้อไม้สดสีเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก ทําเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ, บางทีเรียก กระเจา, พายัพและปักษ์ใต้เรียก กระเจ้า ขจาว หรือ ขเจา.
  5. กระเดือก ๑ : น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลำคอเหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย เรียกว่า ลูกกระเดือก.
  6. กระบม : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม)
  7. กระโบม ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
  8. กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
  9. กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  10. กลอง ๒ : [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับ เพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รํากริช.
  11. กลัก : [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของ เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
  12. กะวะ ๒ : น. ชื่อนกเงือกชนิด Buceros bicornis ในวงศ์ Bucerotidae โคนปากด้านบนมีลักษณะโหนกคล้ายกล่องขนาดใหญ่ คอสีขาว ปีกสีดําพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางสีขาวพาดดํา, กก หรือ กาฮัง ก็เรียก.
  13. โกร่ง ๑ : [โกฺร่ง] น. เครื่องบดยารูปคล้ายครกหรือถ้วย มีสากสําหรับบดให้ละเอียด, ลักษณนามว่า ใบ; ภาชนะรูปอย่างกล่องมีลิ้น ใช้ตามบ่อนเบี้ยสําหรับใส่อีแปะ.
  14. คอหอย : น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปาก ลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. (อ. pharynx).
  15. ตลับ ๑ : [ตะหฺลับ] น. ภาชนะอย่างหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของเช่นขี้ผึ้งสีปากหรือยา โดยมาก มีรูปกลม ๆ ขนาดไม่ใหญ่นัก มีฝาปิด. (เทียบมลายู ตลป ว่า กล่องเล็ก ๆ สําหรับ ใส่หมาก).
  16. ท่อลม : น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่างที่อยู่ระหว่างกล่องเสียง กับหลอดลม. (อ. trachea; windpipe).
  17. ปลาดำปลาแดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ไม้ดำไม้แดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  18. ไม้ดำไม้แดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และสีขาว เจ้ามือกำไม้ ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลงในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  19. รถตู้ : น. ตู้รถไฟที่ใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้นภายในโล่ง มักปิดทึบทั้ง ๔ ด้าน; รถยนต์ขนาดกลาง รูปร่างคล้ายกล่อง มักมีประตูเปิดปิดด้านเดียว บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ ๑๒–๑๕ คน.
  20. ลายไพรยักคิ้ว : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานไซ ข้อง กระบุง กล่องข้าว เป็นต้น ใช้ตอก ๓ เส้นเสมอไป ส่วนตอกซังจะ ใช้น้อยหรือมากหรือถี่ห่างอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเป็นจำนวนคู่ สาน โดยขึ้นตอกสาน ๓ เส้นขัดตอกซัง เว้นตอกซังไว้ ๒ เส้น แล้วเอา ตอกสานเส้นกลางไพล่กลับข้ามตอกซัง ๓ เส้น ยกตอกซัง ๓ เส้น ต่อไปจึงไขว้ตอกสาน ๒ เส้นที่เหลือด้วยวิธีเดียวกัน สานไพล่ไป ไพล่มาเช่นนี้ตลอด, ลายไพรกาว ก็เรียก.
  21. ลิ้น : น. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลง ในลําคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวก เช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดย ปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่ เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่อง อาหาร; อุปกรณ์สําหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
  22. ลูกกระเดือก : น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลาง ลําคอเหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย.
  23. หีบห่อ : น. สิ่งของที่บรรจุกล่องหรือมีสิ่งอื่นห่อหุ้มไว้.
  24. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  25. กลองเพล : [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณ บอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
  26. กลองโยน : ดู ทะแยกลองโยน.
  27. ทะแยกลองโยน : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแย มาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียน วิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดย กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยน เข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำ กัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.
  28. ไม่มีปี่มีกลอง, ไม่มีปี่มีขลุ่ย : (สํา) ก. ไม่มีเค้า เช่น การที่เจ็บนั้นก็ไม่มีปี่มีกลอง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๗).
  29. ค้อนกลอง : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Capparis grandis L.f. ในวงศ์ Capparidaceae ลําต้นมีหนาม ผลกลมใหญ่ ผิวค่อนข้างขรุขระ สุกสีแดง.
  30. ฝาหุ้มกลอง : น. ฝาด้านสกัดของเรือนฝากระดาน.
  31. ราบเป็นหน้ากลอง : (สํา) ว. ราบเรียบ, หมดเสี้ยนหนาม.
  32. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง : (สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับ โทษผู้อื่น, รําชั่วโทษพากย์ ก็ว่า.
  33. หุ้มกลอง : [-กฺลอง] น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของโบสถ์ วิหาร, ถ้าเป็นด้าน หัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน เรียกว่า ด้านสกัด.
  34. เครื่องห้า ๒ : น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนัง ในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบ ด้วย เครื่องทําลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
  35. ตะลุง ๑ : น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
  36. เบญจดุริยางค์ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบา ใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขน ชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทํา จังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตํานานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).
  37. ปี่พาทย์ : น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยที่มีปี่ ฆ้อง กลอง ตะโพน ผสมกัน มีขนาดวงอยู่ ๓ ขนาด คือ ปี่พาทย์เครื่อง ๕ ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์ เครื่องใหญ่, พิณพาทย์ ก็เรียก.
  38. เภริ, เภรี : น. กลอง เช่น อินทเภรี ชัยเภรี, บางทีใช้เป็น ไภรี หรือ ไภริน ก็มี. (ป.).
  39. ไภริน, ไภรี : น. เภรี, กลอง.
  40. หนังตะลุง : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงา ให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง ''และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์.
  41. กรลุมพาง : [กระ] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรใน ใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  42. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  43. กระลุมพาง : น. กลองหน้าเดียว, โบราณเขียนเป็น กรลุมพาง ก็มี.
  44. กล้อง ๑ : [กฺล้อง] น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่างที่มี ลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง; เครื่องที่มีรูปร่างต่าง ๆ ประกอบด้วยเลนส์สําหรับถ่ายภาพหรือขยายภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) หลอด เช่น กล้องเกียง ว่า หลอดตะเกียง.
  45. กล้อง ๒ : [กฺล้อง] ว. เรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ว่า ข้าวกล้อง. ก. ตำข้าวเปลือกให้เปลือกหลุด; เกลา, โกลน; โดยปริยายใช้ว่า ทุบ, ถอง.
  46. โกร่ง ๔ : [โกฺร่ง] น. เกราะยาว เช่น พิณพาทย์ฆ้องกลองดังทั้งเกราะโกร่ง. (อิเหนา).
  47. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  48. คฤโฆษ : [คะรึโคด] (กลอน) ก. กึกก้อง, ดังลั่น, เช่น คฤโฆษกลองฆ้องเคล้า คลี่ดูริย. (ยวนพ่าย).
  49. เครื่องคู่ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้า คู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
  50. ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
  51. [1-50] | 51-94

(0.0631 sec)