Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กอน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กอน, 81 found, display 1-50
  1. ก่อน : ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
  2. กร ๑ : [กอน] น. ผู้ทํา, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น กรรมกร เกษตรกร. (ป.).
  3. กร ๒ : [กอน] น. มือ (มักใช้ในบทประพันธ์); แขน เช่น เจ้างามกรอ่อน ดังงวงเอราวัณ. (กลบท). (ป., ส.).
  4. กร ๓ : [กอน] น. แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร. (ป.).
  5. จามีกร : [-กอน] น. ทอง, เครื่องทอง. (ป., ส.).
  6. ต่อกร : [-กอน] (ปาก) ก. สู้กัน.
  7. ธารพระกร : [กอน] (ราชา) น. ไม้เท้า.
  8. นิกร : [กอน] น. หมู่, พวก. (ป.).
  9. มธุกร : [-กอน] น. ผู้ทํานํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.).
  10. ศูกร : [กอน] น. หมู. (ส.; ป. สูกร).
  11. สงกร : [กอน] (แบบ) น. การปะปน, การคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร).
  12. สังกร : [กอน] น. ความปะปน, ความคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร).
  13. อากร : [กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียก เก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.
  14. อุษณกร : [กอน] น. ''ผู้กระทําความร้อน'' หมายถึง พระอาทิตย์.
  15. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  16. กชกร : [กดชะกอน] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น กชกรต่างแต่งตั้ง ศิรสา. (หริภุญชัย).
  17. กรรมกร : [กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).
  18. กรรมกรณ์ : [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
  19. กรรมเวร : [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปาง ก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมใน อดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวร แท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
  20. กลอุปกรณ์ : [กนอุปะกอน, กนอุบปะกอน] น. อุปกรณ์เชิงกลที่ ออกแบบหรือผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  21. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  22. กสิกร : [กะสิกอน] น. ผู้ทําไร่ไถนา.
  23. กันทรากร : [-ทะรากอน] (แบบ) น. ภูเขา. (ป., ส.).
  24. เกษตรกร : [กะเสดตฺระกอน] น. ผู้ทําเกษตรกรรม. (ส.).
  25. เก่า : ว. ก่อน เช่น ครูคนเก่า กรรมเก่า; ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คํานี้เมื่อใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คําที่นํามาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชํานาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.
  26. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  27. คุณากร : [คุนากอน] น. บ่อเกิดแห่งความดี, ที่รวมแห่งความดี. (ป. คุณ + อากร).
  28. ดัสกร : [ดัดสะกอน] (แบบ) น. ข้าศึก. (ส. ตสฺกร; ป. ตกฺกร ว่า โจร, ขโมย).
  29. ดูกร : [ดูกะระ, ดูกอน], ดูก่อน, ดูรา คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วย ให้สนใจฟัง.
  30. เดิม : ว. แรก เช่น แต่เดิม, เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม, ก่อน เช่น เหมือนเดิม. (ข. เฎีม ว่า ต้น).
  31. ทรัพยากร : [ซับพะยากอน] น. สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์.
  32. ทัฬหิกรณ์ : [ทันหิกอน] น. เครื่องทําให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชัก มาอ้างเพื่อให้คําพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
  33. ทินกร : [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.).
  34. โทษกรณ์ : [โทดสะกอน] (กลอน) น. โทษ, อาชญา, เช่น รู้สึกซึ่ง โทษกรณ์ ตนผิด. (นิทราชาคริต).
  35. ธาตวากร : [ทาตะวากอน] (แบบ) น. บ่อแร่. (ส.).
  36. นามกร : [นามมะกอน] (แบบ) น. ชื่อ, นาม.
  37. บงกชกร : [-กดชะกอน] (กลอน) น. มือมีรูปอย่างดอกบัวตูม, กระพุ่มมือ, มือ เช่น กระพุ่มบงกชกร. (เพชรมงกุฎ).
  38. บรรพ- ๒, บรรพ์ : [บันพะ-, บัน] ว. ก่อน, ทีแรก, เบื้องต้น; ตะวันออก. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).
  39. บัญญัติไตรยางศ์ : น. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกําหนดส่วนสัมพันธ์ของ เลข ๓ จํานวนเพื่อหาจํานวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไป หาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนําเลขทั้ง ๓ จํานวนที่กําหนดให้และที่ให้ หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น.
  40. บาทมูลิกากร : [บาดทะมูลิกากอน] น. หมู่คนที่อยู่แทบบาทมูล คือ ข้าราชการในพระองค์. (ป.).
  41. บุคลากร : [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ บริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.
  42. บุพ-, บุพพ- : [บุบพะ-] ว. ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว). บุพกรรม น. กรรมที่ทําไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).
  43. บุราณ : ว. เก่า, ก่อน, เช่น คําบุราณท่านว่าไว้เป็นครู. (สังข์ทอง). (ป., ส. ปุราณ).
  44. บุษกร : [บุดสะกอน] น. ดอกบัวสีนํ้าเงิน, บัว; ชื่อช้างตระกูลปทุมหัตถี ในพรหมพงศ์. (ส. ปุษฺกร).
  45. เบื้องต้น : ว. ก่อน, แรก.
  46. ปกรณ์ : [ปะกอน] น. คัมภีร์, ตํารา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).
  47. ประติมากร : [ปฺระติมากอน] น. ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก.
  48. ไปรษณียากร : [ไปฺรสะนียากอน] น. ดวงตราไปรษณียากร, แสตมป์ ก็เรียก; (กฎ) ค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียสำหรับส่งไปรษณียภัณฑ์ทาง ไปรษณีย์.
  49. พงศกร : [สะกอน] น. ผู้ตั้งวงศ์, บรรพบุรุษ. (ส.).
  50. พยากรณ์ : [พะยากอน] ก. ทํานายหรือคาดการณ์โดยอาศัยหลักวิชา. น. ชื่อคัมภีร์ โหราศาสตร์ว่าด้วยการทํานาย. (ป., ส. วฺยากรณ).
  51. [1-50] | 51-81

(0.0095 sec)