Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิจ , then กจ, กิจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิจ, 70 found, display 1-50
  1. กิจ, กิจ - : [กิด, กิดจะ-] น. ธุระ, งาน. (ป. กิจฺจ).
  2. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  3. การย์ : [กาน] (แบบ) น. หน้าที่, กิจ, ธุระ, งาน. (ส.).
  4. การัณย์ : [การัน] น. กรณีย์, กิจ, เช่น ชี้แจงแถลงเรื่องการัณย์ ส่งคชสำคัญ ทั้งหมอแลควาญมาถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
  5. เฉพาะกิจ : ว. เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น หน่วยปราบปรามเฉพาะกิจ.
  6. ราชกิจจานุเบกษา : น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับ ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  7. ศาสนกิจ : น. งานทางศาสนาที่ภิกษุสามเณรเป็นต้นปฏิบัติ เช่น การทำวัตรสวดมนต์และการเผยแผ่ศาสนาเป็นศาสนกิจของสงฆ์.
  8. กามกิจ : น. การร่วมประเวณี.
  9. ปัจโจปการกิจ : (แบบ) น. การที่บุคคลทําตอบแทนอุปการะของผู้อื่น. (ป. ปจฺโจปการ + กิจฺจ).
  10. วิทยุเฉพาะกิจ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชน ทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ.
  11. กรณีย-, กรณีย์, กรณียะ : [กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทํา, อันพึงทํา. (ป.).
  12. กรัณย์ : [กะรัน] น. กิจ. ว. อันพึงทํา เช่น ราชกรัณย์. (ป. กรณีย).
  13. กิจจะ : (กลอน) น. กิจ เช่น กอบกิจจะคุ้มขัง. (ชุมนุมตํารากลอน). (ป.).
  14. : พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็น ตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตํารวจ จอร์จ.
  15. กรณียกิจ : น. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทํา.
  16. กรรมกรณ์ : [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
  17. กฤษฎา ๑ : [กฺริดสะดา] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กฤด) ว. ที่ทําแล้ว เช่น เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทํามาแล้ว). (ตะเลงพ่าย).
  18. กลา : [กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคํานับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
  19. กองทัพน้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหารหลายกองพล มีจํานวนไม่แน่นอน เป็นการจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแม่ทัพน้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
  20. กามโรค : น. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกัน โดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง.
  21. กามวิตถาร : [กามวิดถาน] น. การประกอบกามกิจที่ผิดปรกติวิสัย เช่น รักร่วมเพศ, การทรมานตนหรือผู้อื่นก่อนหรือในระหว่างร่วมเพศ. ว. ผิดปรกติทางเพศเช่นนั้น.
  22. การพา : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลว หรือแก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป. การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่ อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
  23. กิจวัตร : น. กิจที่ทําเป็นประจํา.
  24. คอมมานโด : น. ทหารหรือตํารวจในกลุ่มที่ได้คัดเลือกเป็นพิเศษ เพื่อฝึกการต่อสู้ ประชิดตัว การโจมตีโฉบฉวย จู่โจม และยุทธวิธีข่มขวัญอื่น ๆ, หน่วยรบเฉพาะกิจ. (อ. commando).
  25. คำเผดียงสงฆ์ : น. ญัตติ, คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจ ของสงฆ์ร่วมกัน.
  26. คุรุกรรม : น. กิจหรือหน้าที่แห่งครู.
  27. งมเข็มในมหาสมุทร : (สํา) ก. ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก.
  28. งาน ๑ : น. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการ เป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่.
  29. งานการ : น. กิจการที่ทํา.
  30. จตุรงคประดับ : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจพระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อ ตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้ง กระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
  31. ชว : [ชะวะ] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
  32. ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
  33. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  34. ทรุด : [ซุด] ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกําลัง ต้านทานไม่พอ เช่น กําแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกําลัง ทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิมว่า ไข้ทรุด.
  35. ทำวัตร : ก. กระทํากิจที่พึงกระทําตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่น ไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทําวัตรพระ ก็ว่า; ทําสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
  36. ทุกรกิริยา : น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียร เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  37. ธรรมการย์ : น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
  38. ธุดงควัตร : [ทุดงคะวัด] น. กิจอันภิกษุผู้ถือธุดงค์ควรทํา.
  39. ธุร-, ธุระ : [ทุระ] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทํา, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).
  40. นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
  41. นันทนาการ : [นันทะ] น. กิจกรรมที่ทําตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความ สนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด, การสราญใจ. (อ. recreation).
  42. บรรพชา : [บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทําได้ยาก, ถ้า ใช้เข้าคู่กับคํา อุปสมบท บรรพชาหมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. ก. บวช เช่น บรรพชา เป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).
  43. บุพกิจ : น. กิจที่จะต้องทําก่อน. (ป. ปุพฺพกิจฺจ).
  44. ปัพพาชนียกรรม : [-ชะนียะ-] น. กิจของสงฆ์ทําในการขับไล่ภิกษุ; การขับไล่ออก จากหมู่. (ส. ปฺรวฺราชนียกรฺม; ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
  45. เปิดบริสุทธิ์ : ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจ โดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำ หน้าที่นี้.
  46. พึง : ว. คําช่วยกริยาอื่น หมายความยอมตาม แปลว่า ควร เช่น พึงไป ว่าควรไป, หมายความจําเป็น แปลว่า ต้อง เช่น กิจที่สงฆ์จะพึงทํา ว่า กิจที่สงฆ์จะต้องทํา.
  47. มนู : น. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกัน เป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออก กฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คํา มนู จึงหมายถึงกฎหมาย ก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).
  48. มือสั้นตีนสั้น : (สํา) ก. ขาดกําลังที่จะช่วยให้กิจการสําเร็จด้วยดี.
  49. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  50. ยาเสพติดให้โทษ : (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้า สู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่ม ขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดย ทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือ ให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่.
  51. [1-50] | 51-70

(0.0625 sec)