Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยา , then กรยา, กิริย, กิริยา .

ETipitaka Pali-Thai Dict : กิริยา, 105 found, display 1-50
  1. กิริยา กฺริยา : (อิต.) การทำ, ความทำ, อาการ (ท่าทาง), กิริยา กริยา คำแสดงอาการของนามหรือสัพพนาม เป็นคำพูดส่วน หนึ่งในบาลีไวยากรณ์. วิ. กตฺตพฺพาติ กิริยา กฺริยา วา, กรณํ วา กิริยา กฺริยา วา. ไทยใช้ กริยา. ส. กฺริยา.
  2. กิริยาจิตฺต : นป. จิตที่เป็นเพียงกิริยาคือไม่จัดลงไปแน่นอนว่า ดีหรือชั่ว, จิตที่ไม่มีผล
  3. กิริย : นป., กริยา, กิริยา อิต. กิริยา, กรรม, การกระทำ
  4. กิริย กฺริย : (นปุ.) การทำ, ความทำ, อาการ (ท่าทาง), กิริยา, กริยา. วิ. กรณียํ กิริยํ. กิริยา วา กิริยํ. กรฺ ธาตุ ริริย ปัจ. ลบ รฺรฺ ของปัจ. รูปฯ ๕๘๕ ศัพท์หลัง ลบ อ ที่ ก และลบ อิ ตัวต้นของ ปัจ. หรือลง อิย ปัจ.
  5. กามาวจรกิริยา : อิต. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายกามาวจร
  6. มหากิริยา : (อิต.) มหากิริยา ชื่อของการกระทำของพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านทำอะไร ก็ทำด้วยจิตบริสุทธิ์ ไม่มีโลภ โกรธหลง ไม่ยึดเอาเป็นบุญเป็นบาป จึงเรียกว่า มหากิริยา.
  7. ลีลา : อิต. การเยื้องกราย, กิริยา, มรรยาท, วิลาส, ความสวยงาม
  8. อิริยา : (อิต.) ความเป็นไป, ฯลฯ. ความเคลื่อนไหว, กิริยา, ท่าทาง. อิริยฺ ธาตุ อ ปัจ. ส. อีรฺยา.
  9. จิรกิริยา : อิต. การกระทำให้ชักช้า, ความเฉื่อยชา
  10. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา : อิต. การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
  11. ปุญฺญกิริยา : อิต. ดู ปุญฺญกมฺม
  12. สจฺฉิกิริยา : อิต. ดู สจฺฉิกรณ
  13. อุปกิริยา : อิต. เครื่องมือ, เครื่องอุปกรณ์
  14. กฺริยา : อิต. ดู กิริยา
  15. กาลกิริยา : (อิต.) การทำซึ่งความตาย, ความตาย, วิ. กาโล อตีตาทิ, ตสฺส กิริยา กาลกิริยา. ไทยใช้ กาลกิริยา เป็น กริยา ว่า ตาย.
  16. อิติ : (กิริยาอาขยาด) ย่อมเป็นไป. อิ ธาตุ ติ วิภัติ.
  17. กติกฺขตฺต : (อัพ. นิบาต) สิ้นครั้งเท่าไร, สิ้น คราวเท่าไร, สิ้นวาระเท่าไร, สิ้นกี่ครั้ง. กติ + กฺขตฺตํ ปัจ. ในอรรถ วาร. เป็น อัจจันตสังโยคะ โมคฯ ณาทิกัณฑ์ ๑๑๕. กี่ครั้ง, กี่คราว, กี่หน. เป็นกิริยาวิเสสนะ.
  18. กมฺมกรณ : (นปุ.) โทษชาตเป็นเครื่องทำซึ่ง กรรม, การทำซึ่งกรรม, การทำกรรม, การลงโทษ, กรรมกรณ์ (เครื่องสำหรับ ลงอาชญา). กรรมกรณ์ไทยใช้เป็นกิริยา ว่าลงโทษ. ส. กรฺมกรณ.
  19. กรณีย : (นปุ.) กิจอัน...พึงทำ. กรรม...อันพึง ทำ, กิจที่ควรทำ, กิจที่พึงทำ, กิจที่ต้องทำ, กิจจำเป็น, กรัณย์. กรฺ กรเณ, อนีโย, นสฺส ณตฺตํ. ที่เป็นกิริยา ก็เป็น กรณีย เหมือนกัน.
  20. กฺริยาจิตฺต : (นปุ.) กริยาจิต กิริยาจิต หมายถึง การทำของพระอรหันต์.
  21. กามินี : อิต. กิริยาทำให้ใคร่, มารยาหญิง
  22. กายวิญฺญตฺติ : อิต. กิริยาให้รู้ชัดด้วยการไหวกาย, การแสดงออกทางกาย, การบอกกล่าว, การชี้แจง
  23. กิจฺจ : (นปุ.) กรรมอัน...พึงทำ, กรรมอัน...ย่อม ทำ. วิ. กตฺตพฺพนฺติ กิจฺจํ. กริยเตติ วา กิจฺจํ. กรฺ กรเณ, ริจฺโจ. ที่ใช้เป็นกิริยาเป็น กิริยาคุมพากย์ได้.
  24. กิตก : (ปุ.) ศัพท์อันเรี่ยรายด้วยกิตปัจจัย, กิตก์ ชื่อของศัพท์ที่ท่านประกอบด้วย ปัจจัยหมู่หนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องหมายของนาม ศัพท์และกิริยาศัพท์ที่ต่าง ๆ กัน. จากบาลี ไวยากรณ์กิตก์. วิ. กิตปจฺจเยน กิรตีติ กิตโก. กิบทหน้า กิรฺธาตุ ในความเรี่ยราย รปัจ. ลบที่สุดธาตุ แปลง อิ ที่ กิ ตัว ธาตุเป็น อ และลบตัวเอง (รปัจ.).
  25. กิริยตา : อิต. ความเป็นกิริยา (อาการ), สภาพของกรรมที่สร้างขึ้น, การกระทำ
  26. กุกฺกุรวติก : ค. ผู้ประพฤติวัตรเหมือนอย่างสุนัข, ผู้มีกิริยาอาการเยี่ยงสุนัข
  27. กุตฺต : นป. สิ่งที่ถูกทำขึ้น; ความประพฤติ; อากัปกิริยา, กิริยาอาการที่มีเสน่ห์
  28. กุหก : (ปุ.) คนผู้ยังคนให้พิศวง, คนที่ทำคนให้ พิศวง, คนผู้ยังโลกให่พิศวง, คนหลอกลวง, คนโกหก. ก สกัด. โกหกไทยใช้เป็นกิริยาว่า พูดปด พูดเท็จ. สฺ. กุหก.
  29. เกฏุภ : (นปุ.) เกฏุภศาสตร์ ศาสตร์ว่าด้วยกิริยา และเป็นชื่อของศาสตร์ที่แสดงลักษณะของ โครงฉันท์ กาพย์ วิ. กิฎนฺติ กวโย โกสลฺลํ พนฺธเนสุ เอเตนาติ เกฎุภํ. กิฏฺ คติยํ, อโภ, อิสฺเส, อสฺสุจ. อถวา, กิฏฺปุพฺโพ, อภฺ ปูรเณ, อ.
  30. โกณฑญฺญ : (ปุ.) โกณฑัญญะ ชื่อหัวหน้า เบญจวรรคีย์ผู้ไปเฝ้าปฏิบัติพระมหาบุรุษ ขณะทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา เมื่อพระมหาบุรุษตรัสรู้แล้ว ได้ฟังปฐมเทสนา ได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลเป็นองค์แรก วิ. กุณฺฑนิยา อปจฺจํ โกณฺฑญฺโญ. กุณฺฑนิยา วา ปุตฺโต โกณฺฑญฺโญ. ณฺยปัจ. ลบ อี ที่ นี เหลือเป็น นฺ ลบ ณฺ รวมเป็น นยฺ แปลง นฺย เป็น ญ ซ้อน ญฺ หรือแปลง นฺย เป็น ญฺญ พฤทธิ์ อุ เป็น โอ หรือ รัสสะ อี เป็น อิ แล้วลบ อิ ลบ ณฺ เหลือเป็น นฺย แล้ว แปลงดังกล่าวแล้ว รูปฯ ๓๕๔-๕.
  31. ขจร : (วิ.) ไปในอากาศ, ฯลฯ. ขจร(ขะจอน) กำจร ไทยใช้เป็นคำกิริยาในความว่า ฟุ้งไป กระจายไป ระบือไป ดังไป.
  32. จตุกฺขตฺตุ : (อัพ. นิบาต.) สิ้นสี่ครั้ง, สิ้นสี่คราว, สิ้นสี่หน. กฺขตฺตุ ปัจ. ลงในอรรถแห่งวาร ศัพท์ สัมพันธ์ว่า อัจจันตสังโยคะ วิ. จตฺตาโร วาเร จตุกฺขตฺตู กัจฯ ๖๔๖ รูปฯ ๔๐๓. สี่ครั้ง, สี่คราว, สี่หน. สัมพันธ์ เป็นกิริยาวิเสสนะ.
  33. จปุจปุ : (วิ.) จับๆ (จั๊บๆ). เสียงที่เกิดจากการเคี้ยวอาหารโดยมิได้หุบปาก ทาง พุทธศาสนาถือว่าเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ สุ ภาพชนไม่ควรทำ.
  34. จริยา : (อิต.) ความประพฤติ, กิริยาที่ควร ประพฤติ, จริยา, จรรยา. วิ. จรณํ จริยา. จริตพฺพนฺติ วา จริยา. จรฺ จรเณ, โณฺย, อิอาคโม. รูปฯ ๖๔๔. ส. จรฺยา.
  35. จุติ : (อิต.) การเคลื่อน, การแตกดับ, การตาย, ความเคลื่อน, ฯลฯ. วิ. จวนํ จุติ. จุ จวเน, ติ. จุติ ไทยใช้เป็นกิริยาว่า ตาย. ส. จฺยุติ.
  36. เจตนา : (อิต.) ธรรมชาติผู้คิด, ความคิด, ความคิดอ่าน, ความนึก, ความตริ, ความดำริ, ความมุ่งหมาย, ความพอใจ. วิ. จินฺตนา เจตนา. เจตยตีติ วา เจตนา. จิตฺ สํเจตเน, ยุ. ไทยใช้ เจตนาเป็นกิริยา ในความหมาย ว่า จงใจ ตั้งใจ มุ่งหมาย ส. เจตนา.
  37. โจปนวาจา : (อิต.) คำพูดอันยังผู้ฟังให้ไหว, โจปนวาจา คือ กิริยาอาการพิเศษที่เป็นไป ในคำพูด ซึ่งทำให้ผู้ฟังรู้ความประสงค์ ของผู้พูด.
  38. โจริกา : (อิต.) กิริยาแห่งขโมย, กิริยาอันเป็น ของแห่งโจร, วิชาอันเป็นของแห่งโจร, การทำของโจร. วิ. โจรสฺส กมฺมํ โจริกา. ณิกปัจ.
  39. ฉายาโจรกมฺม : (นปุ.) การทำอันเป็นเค้าของ โจร, ฉายาโจรกรรมคือกิริยาที่ทำทรัพย์ ของผู้อื่นให้เสียหายและเป็นสินใช้ตกอยู่ แก่ตน มี ๒ อย่างคือ ผลาญ ทำลายล้างหรือ ทำอันตรายทรัพย์สมบัติของเขา ๑ หยิบฉวย ๑.
  40. ติกฺขตฺตุ : (อัพ. นิบาต) สิ้นสามครั้ง, สิ้นสาม คราว, สิ้นสามหน. ติ+กฺขตฺตํ ปัจ. รูปฯ ๔๐๓. แปลเป็น กิริยาวิเสสว่า สามครั้ง, สามคราว, สามหน.
  41. เถยฺยา : (อิต.) กิริยาแห่งความเป็นขโมย, เจตนาแห่งความเป็นขโมย.
  42. ทุกฺกต : (นปุ.) กรรมอัน...ทำชั่วแล้ว, การทำ ชั่ว, ฯลฯ. วิ. นินฺทิตํ กรณ มสฺส ทุกกตํ. คำแปลแรก ต ปัจ. กิริยากิตก์ คำแปล หลังๆ เป็น ต ปัจ. ลง ภาวะ.
  43. ทุกฺกรกริยา : (อิต.) การกระทำอันบุคคลทำ ได้โดยยาก, การทำกิจที่บุคคลทำได้โดย ยาก, การทำกิจที่ทำได้โดยยาก, การทำ ความเพียรที่ทำได้โดยยาก, ทุกกรกิริยา คือการทรมานร่างกายให้ลำบากโดย ประการต่างๆ.
  44. ทุกฺข : (วิ.) ยาก, ลำบาก, ชั่ว, เดือดร้อน, ไม่ สบาย, ทุกข์. ทุกฺข ตกฺกิริยายํ, อ.
  45. ทุสฺสนา : (อิต.) กิริยาที่น่าชัง, กิริยาอันน่าชัง, ความไม่พอใจ, ความประทุษร้าย. ทุสฺ โทสนอปฺปิติเยสุ. ยุ. ซ้อน สฺ อา อิต.
  46. นปุสก : (ปุ.) บัณเฑาะก์ (กะเทย), กะเทย (คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง หรือ คนที่มีจิตใจกิริยาอาการตรงกันข้ามกับเพศของตน). คนมิใช่ชายมิใช่หญิง, คนมิใช่ หญิงมิใช่ชาย. วิ. อิตฺถีภาวปุมภาวรหิโต ปุคฺคโล, โส หิ ปุริโส วย สาติสยํ ปจฺจา- มิตฺเต น ปุเสติ อภิมทฺทนํ กาตํ น สกฺโกตีติ นปุสโก (ข่มขี่ข้าศึกไม่ได้). นปุพฺโพ. ปุสฺอภิมทฺทเน, ณฺวุ, นิคฺคหิตาคโม, เกจิ ปน น ปุมา น อิตฺถีติ นปุสโกติ ลจนตฺถํ วทนฺติ.
  47. นวกฺขตฺต : (อัพ. นิบาต) สิ้นเก้าครั้ง, สิ้นเก้า คราว, สิ้นเห้าหน. นวศัพท์ กฺขตฺตํ ปัจ. ลงใน ทุติยาวิภัติ แทน วาร ศัพท์ กัจฯ รูปฯ และโมคฯ. ถ้าแปลเป็น กิริยาวิเสสนะ แปลว่า เก้าครั้ง เก้าคราว เก้าหน.
  48. นิยม : (ปุ.) การกำหนด, การหมายไว้, การจำ ศีล, ความกำหนด, ความแน่นอน, ความพร้อมกัน, ความประพฤติ, ความชอบ, ความนับถือ, วัตร, พรต, พรตที่ประพฤติ ตามกาล. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, อ. คำนิยม ไทยใช้เป็นกิริยา ในความหมายว่า ชมชอบ ชื่นชม ยินดี ยอมรับ นับถือ. ส. นิยม.
  49. นิยาม : (ปุ.) การกำหนด, ความกำหนด, เหตุ เป็นเครื่องกำหนด, ทาง, หนทาง, มรรค, แบบ, อย่าง, วิธี, ทำนอง. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, โณ. ไทยใช้นิยามเป็นกิริยาใน ความหมายว่า กำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอน หรือให้ความหมายอย่าง กะทัดรัด.
  50. นีหาร : ป. การนำออก, การขับไล่; ลักษณะ, วิธี, อาการกิริยา
  51. [1-50] | 51-100 | 101-105

(0.0147 sec)