Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขาด , then ขาด, ขาต .

Budhism Thai-Thai Dict : ขาด, 51 found, display 1-50
  1. นิมิตขาด : (ในคำว่าสีมามีนิมิตขาด) สีมามีนิมิตแนวเดียว ชักแนวบรรจบไม่ถึงกัน; ตามนัยอรรถกถาว่า ทักนิมิต ไม่ครบรอบถึงจุดเดิมที่เริมต้น
  2. ใจจืด : ขาดเมตตา เช่น พ่อแม่ มีกำลังพอที่จะเลี้ยงดูลูกได้ก็ไม่เลี้ยงดูลูกให้สมควรแก่สถานะ เป็นต้น, ไม่เอื้อเฟื้อแก่ใคร
  3. ใจดำ : ขาดกรุณา คือตนมีกำลังสามารถจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ก็ไม่ช่วย เช่น เห็นคนตกน้ำแล้วไม่ช่วยเป็นต้น
  4. กรรม ๑๒ : กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า ๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน ๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา ๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล
  5. คณปูรกะ : ภิกษุผู้เป็นที่ควรจำนวน ในคณะนั้นๆ เช่น สังฆกรรมที่ต้องมีภิกษุ ๔ รูป หรือยิ่งขึ้นไป เป็นผู้ทำยังขาดอยู่เพียงจำนวนใดจำนวนหนึ่ง มีภิกษุอื่นมาสมบท ทำให้ครบองค์สงฆ์ ในสังฆกรรมนั้นๆ ภิกษุที่มาสมทบนั้น เรียกว่า คณปูรกะ
  6. จิตตสันดาน : การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต; ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)
  7. ญาณวิปปยุต : ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้, ขาดความรู้
  8. ทิฏฐิ : ความเห็น, ทฤษฎี; ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑.สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง ๒.อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ; อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ ๑.อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒.อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓.นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น; ในภาษาไทยมักหมายถึงการดื้อดึงในความเห็น (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ)
  9. ปมาทะ : ความประมาท, ความเลินเล่อ, ความเผลอ, ความขาดสติ, ความปล่อยปละละเลย เทียบ อัปปมาทะ
  10. ประพฤติในคณะอันพร่อง : เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งมานัต ๔ ประการ หมายถึงประพฤติมานัตในถิ่นเช่นอาวาสที่ปกตัตตภิกษุไม่ครบจำนวนสงฆ์ คือหย่อน ๔ รูป
  11. ปลงบริขาร : มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น (ใช้สำหรับภิกษุผู้จะถึงมรณภาพเพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)
  12. ปักขคณนา : “การนับปักษ์”, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  13. ปักษคณนา : การนับปักษ์, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  14. ปาราชิก : เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน
  15. มรรค : ทาง, หนทาง 1.มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ 2.มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑
  16. มหาวิกัฏ : ยา ๔ อย่าง คือ มูตร คูถ เถ้า ดิน ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน
  17. มหาอุทายี : พระเถระผู้ใหญ่องค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระญาติ จึงออกบวชและได้สำเร็จอรหัตตผล ท่านเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง มีเรื่องเกี่ยวกับการที่ท่านแสดงธรรมบ้าง สนทนาธรรมบ้าง ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง คราวหนึ่งพระอานนท์เห็นท่านนั่งแสดงธรรมอยู่ มีคฤหัสถ์ล้อมฟังอยู่เป็นชุมนุมใหญ่ จึงได้กราบทูลเล่าถวายพระพุทธเจ้า เป็นข้อปรารภให้พระองค์ทรงแสดง ธรรมเทศกธรรม หรือหรือองค์คุณของธรรมกถึก ๕ ประการ คือ ๑.แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ๒.อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓.มีจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๔.ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
  18. มูลเฉท : ตัดรากเหง้า, หมายถึงอาบัติปาราชิก ซึ่งผู้ต้องขาดจากความเป็นภิกษุและภิกษุณี
  19. ไม่มีสังวาส : ไม่มีธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย, ขาดสิทธิอันชอบธรรม ที่จะถือเอาประโยชน์แห่งความเป็นภิกษุ, ขาดจากความเป็นภิกษุ, อยู่ร่วมกับสงฆ์ไม่ได้
  20. รัตติเฉท : กาลขาดราตรี หมายถึงเหตุขาดราตรีแห่งมานัต หรือปริวาส; สำหรับมานัต มี ๔ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ อูเน คเณ จรณํ ประพฤติในคณะอันพร่อง ๑ ; สำหรับปริวาส มี ๓ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ เมื่อขาดราตรีในวันใด ก็นับวันนั้นเข้าในจำนวนวันที่จะต้องอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตไม่ได้; ดูความหมายที่คำนั้นๆ
  21. โลกิยวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ
  22. วิปปวาส : อยู่ปราศ เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท การขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาส; สำหรับผู้ประพฤติมานัต วิปปวาส หมายถึง อยู่ในถิ่น (จะเป็นวัดหรือที่มิใช่วัดเช่นป่าเป็นต้นก็ตาม) ที่ไม่มีสงฆ์อยู่เป็นเพื่อน คืออยู่ปราศจากสงฆ์, สำหรับผู้อยู่ปริวาส หมายถึง อยู่ในถิ่นปราศจากปกตัตตภิกษุ (มีปกตัตตภิกษุอยู่เป็นเพื่อนรูปเดียวก็ใช้ได้) ดู รัตติเฉท
  23. วิภวตัณหา : ความอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่จนเกลียดชังไม่ปรารถนา, ความทะยานที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ (ข้อ ๓ ในตัณหา ๓)
  24. วิรัติ : ความเว้น, งดเว้น; เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว; วิรติ ๓ คือ ๑.สัมปัตตวิรัติ เว้นได้ซึ่งสิ่งที่ประจวบเข้า ๒.สมาทานวิรัติ เว้นด้วยการสมาทาน ๓.สมุจเฉทวิรัติ เว้นได้โดยเด็ดขาด
  25. วุฏฐานสมมติ : มติอนุญาตให้ออกจากความเป็นสิกขมานาเพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณี, นางสิกขมานาผู้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี ถึงวิกาลโภชนา เวรมณี โดยมิได้ขาด ครบเวลา ๒ ปีแล้ว จึงมีสิทธิขอวุฏฐานสมมติ เพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป
  26. สมุจเฉทปหาน : การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค
  27. สมุจเฉทวิมุตติ : หลุดพ้นด้วยตัดขาด ได้แก่ พ้นจากกิเลสด้วยอริมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดขึ้นอีก เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๓ ในวิมุตติ ๕)
  28. สมุจเฉทวิรัติ : การเว้นด้วยตัดขาด หมายถึงการเว้นความชั่วได้เด็ดขาดของพระอริยเจ้า เพราะไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่วนั้น ๆ (ข้อ ๓ ในวิรัติ ๓)
  29. สหวาส : อยู่ร่วม เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาสหมายถึงการอยู่ร่วมในชายคาเดียวกับ ปกตัตตภิกษุ ดู รัตติเฉท
  30. สิกขมานา : นางผู้กำลังศึกษา, สามเณรีผู้มีอายุถึง ๑๘ ปีแล้ว อีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติ คือ ตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี จนถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลย ตลอดเวลา ๒ ปีเต็ม (ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทานตั้งแต่ต้นไปใหม่อีก ๒ ปี) ครบ ๒ ปี ภิกษุณีสงฆ์จึงทำพิธีอุปสมบทให้ ขณะที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการอย่างเคร่งครัดนี้ เรียกว่า นางสิกขมานา
  31. สีมาวิบัติ : ความเสียโดยสีมา, เสียเพราะเขตชุมนุม (ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์), สีมาใช้ไม่ได้ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้นวิบัติคือเสียหรือใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) ไปด้วย, คัมภีร์ปริวารแสดงเหตุให้กรรมเสียโดยสีมา ๑๑ อย่าง เช่น ๑.สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด (เกิน ๓ โยชน์) ๒.สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด (จุไม่พอภิกษุ ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน) ๓.สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔.สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต ๕.สมมติสีมาไม่มีนิมิต ฯลฯ, สังฆกรรมที่ทำในที่เช่นนี้ก็เท่ากับทำในที่มิใช่สีมานั่นเอง จึงย่อมใช้ไม่ได้ ดู วิบัติ(ของสังฆกรรม)
  32. อกรณียะ : กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ๓) ฆ่ามนุษย์ ๔) อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน (สำหรับภิกษุณี มี ๘) ดู อนุศาสน์
  33. องค์แห่งธรรมกถึก ๕ : คือ ๑) แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้สับสน หรือขาดความ ๒) ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓) สอนเขาด้วยเมตตา ตั้งจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๔) ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕) ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตน ไม่เสียดสี ข่มขี่ผู้อื่น
  34. อเตกิจฉา : แก้ไขไม่ได้, เยียวยาไม่ได้ หมายถึงอาบัติมีโทษหนักถึงที่สุด ต้องแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ อาบัติปาราชิก คู่กับ สเตกิจฉา
  35. อนาคามิมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือ ความเป็นพระอนาคามี, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง ๕ (คือ ละได้เด็ดขาดอีก ๒ อย่าง ได้แก่ กามราคะ และปฏิฆะ เพิ่มจาก ๓ อย่างที่พระโสดาบันละได้แล้ว)
  36. อนาโรจนา : การไม่บอก คือ ไม่บอกประจานตัวแก่ภิกษุทั้งหลายภายในเขต ๒ เลฑฑุบาตจากเครื่องล้อมหรือจากอุปจารแห่งอาวาส ให้รู้ทั่วกันว่าตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส กำลังอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์; เป็นเหตุอย่างหนึ่งของการขาดราตรีแห่งมานัตต์หรือปริวาส ผู้ประพฤติมานัตต์ ต้องบอกทุกวัน แต่ผู้อยู่ปริวาส ไม่ต้องบอกทุกวัน ปกตัตตภิกษุรูปใดยังไม่ได้รับบอก เธอบอกแก่ภิกษุรูปนั้นครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ต้องบอกอีกตลอดกาลที่อยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสนั้นแต่ต้องบอกในท้ายอุโบสถ ท้ายปวารณาเมื่อถึงวันนั้นๆ และภิกษุใดได้รับบอกแล้ว ออกจากอาวาสหรืออนาวาสนั้นไป เมื่อกลับมาใหม่ต้องได้รับบอกอีก ดู รัตติเฉท
  37. อภัพบุคคล : บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม เช่น คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้ คนที่ขาดคุณสมบัติ ไม่อาจให้อุปสมบทได้ เป็นต้น
  38. อรหัต : ความเป็นพระอรหันต์, ชื่อมรรคผลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งตัดกิเลสในสันดานได้เด็ดขาด; เขียนอย่างคำเดิมเป็น อรหัตต์
  39. อรหัตตวิโมกข์ : ความพ้นจากกิเลสด้วยอรหัต หรือเพราะสำเร็จอรหัต คือ หลุดพ้นขั้นละกิเลสได้สิ้นเชิงและเด็ดขาด สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  40. อริยวงศ์ : ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย, อริยประเพณี มี ๔ คือ ๑) สันโดษด้วยจีวร ๒) สันโดษด้วยบิณฑบาต ๓) สันโดษด้วยเสนาสนะ ๔) ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล
  41. อวินิพโภครูป : “รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้”, รูปที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป อย่างขาดมิได้เลยในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง กล่าวคือในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง แม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดก็จะต้องมีรูปธรรมชุดนี้อยู่เป็นอย่างน้อย, คุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่เป็นประจำในวัตถุ, มี ๘ อย่าง คือ ปฐวี (ภาวะแผ่ขยายหรือรองรับ) อาโป (ภาวะเอิบอาบเกาะกุม) เตโช (ภาวะร้อน) วาโย (ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง) วัณณะ (สี) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) โอชา (อาหารรูป); ใน ๘ อย่างนี้ ๔ อย่างแรกเป็นมหาภูตรูป หรือธาต ๔, ๔ อย่างหลังเป็นอุปาทายรูป
  42. อสุภ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  43. อสุภะ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  44. อันติมวัตถุ : วัตถุมีในที่สุด หมายถึง อาบัติปาราชิก ซึ่งทำให้ภิกษุและภิกษุณีผู้ต้อง มีโทษถึงที่สุดคือ ขาดจากภาวะของตน
  45. อัปปมาท : ความไม่ประมาท, ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อยปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจรญ, ความมีสติรอบคอบ
  46. อาญาสิทธิ์ : อำนาจเด็ดขาด คือสิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงครามเป็นต้น
  47. อาลยสมุคฺฆาโต : ความถอนขึ้นด้วยดี ซึ่งอาลัย, การถอนอาลัยคือตัณหาได้เด็ดขาด (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)
  48. อุจเฉททิฏฐิ : ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๒)
  49. อุโบสถ : 1) การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐานคือตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช เม อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ; อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ 2) การอยู่จำ, การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ 3) วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ 4) สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคารหรืออุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียกว่าโบสถ์
  50. อุโบสถศีล : ศีลที่รักษาเป็นอุโบนถหรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)
  51. [1-50]

(0.0202 sec)