Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข่าวด่วน, ด่วน, ข่าว , then ขาว, ข่าว, ขาวดวน, ข่าวด่วน, ดวน, ด่วน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข่าวด่วน, 838 found, display 1-50
  1. ข่าว : น. คําบอกเล่าเรื่องราวซึ่งโดยปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือ เป็นที่สนใจ, คําบอกกล่าว, คําเล่าลือ.
  2. ด่วน : ว. รีบเร่ง, รวดเร็ว.
  3. ข่าวกรอง : น. ข่าวที่ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วว่าเป็นข่าวที่เชื่อถือได้.
  4. ข่าวพาดหัว : น. ข่าวสําคัญที่นํามาพิมพ์เป็นหัวเรื่องในหน้าแรกของ หนังสือพิมพ์ด้วยอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดความสนใจ.
  5. ข่าวยกเมฆ : น. ข่าวที่ไม่มีมูล, ข่าวเหลวไหล.
  6. ข่าวล่า : น. ข่าวที่ได้มาใหม่.
  7. ข่าวลือ : น. ข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน.
  8. ข่าวคราว : น. คําบอกเล่าเรื่องทุกข์สุข.
  9. ข่ำเขียว : (กลอน) ว. รีบ, ด่วน, เร่ง.
  10. มนิมนา, มนีมนา : [มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน. (ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).
  11. เร็ว, เร็ว ๆ : ว. ไว เช่น กินเร็ว หายเร็ว ๆ, รีบ เช่น เร็วเข้า เร็ว ๆ หน่อย, ด่วน, ไม่ ชักช้า, เช่น ขอให้มาโดยเร็ว.
  12. ตกข่าว : ก. ไม่รู้ข่าวที่คนอื่น ๆ รู้.
  13. ตรวจข่าว : ก. พิจารณาข่าวว่าควรอนุญาตให้พิมพ์ได้หรือไม่, พิจารณาข่าวที่ ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์แล้ว.
  14. แถลงข่าว : ก. ให้ข่าวเป็นทางการ.
  15. นักข่าว : น. ผู้สื่อข่าว, ผู้รายงานข่าว, ผู้เขียนข่าว, ผู้บอกข่าว, (ใช้เฉพาะ ทางสื่อสารมวลชน), ผู้ส่งข่าว ก็เรียก.
  16. ป่าวข่าว : ก. กระพือข่าวให้รู้ทั่วกัน.
  17. ผู้สื่อข่าว : น. ผู้รายงานข่าว, ผู้เขียนข่าว, ผู้บอกข่าว, (ใช้เฉพาะทาง สื่อสารมวลชน), ผู้ส่งข่าว หรือ นักข่าว ก็เรียก.
  18. พาดหัวข่าว : ก. เก็บความสําคัญของข่าว นํามาตีพิมพ์เป็นหัวเรื่อง โดยใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ผิดปรกติเพื่อให้เกิดความสนใจ, เรียก ข่าวเช่นนั้นว่า ข่าวพาดหัว.
  19. แพร่ข่าว : ก. กระจายข่าวออกไป.
  20. ย่อยข่าว : ก. หยิบยกเฉพาะประเด็นสำคัญของข่าวมากล่าว.
  21. ราวข่าว : (โบ) น. การส่งข่าวด้วยวิธีรับช่วงกันต่อไป.
  22. เร่งด่วน : ว. รวดเร็วมาก, รวดเร็วยิ่ง, เช่น งานนี้ต้องทำอย่างเร่งด่วน ให้เสร็จภายใน ๑๒ ชั่วโมง ย้ายเร่งด่วนภายใน ๒๔ ชั่วโมง.
  23. ส่งข่าว : ก. บอกข่าว เช่น จะเดินทางเมื่อไรก็ส่งข่าวด้วยนะ.
  24. เหยี่ยวข่าว : (ปาก) น. นักข่าว, คนที่หาข่าวได้รวดเร็วเป็นพิเศษ.
  25. ใจเร็วด่วนได้ : (สำ) ว. อยากได้เร็ว ๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ.
  26. ปฏิเสธข่าว : ก. แสดงยืนยันว่าไม่เป็นไปตามนั้น.
  27. ประโคมข่าว : ก. ป่าวประกาศให้ครึกโครม.
  28. ปัจจุบันทันด่วน : ว. กะทันหัน.
  29. รยะ : ว. เร็ว, พลัน, ไว, ด่วน. (ป., ส.).
  30. ร่าน ๒ : ก. อยาก, ใคร่, (มักใช้ในทางกามารมณ์); รีบ, ด่วน.
  31. รีบรุด : ก. ไปหรือมาอย่างรีบด่วน เช่น เขารีบรุดไปพบหมอ ตำรวจรีบ รุดมาที่เกิดเหตุ. ว. ด่วน, ทันที, เช่น เขาเดินอย่างรีบรุด.
  32. กระบอก ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการ รีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  33. กระพอก ๒ : ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).
  34. กระพือ : ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว.
  35. กวาดล้าง : ก. กําจัดให้หมดไป เช่น กวาดล้างอันธพาล กวาดล้างโจรผู้ร้าย. [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย). [กฺว้าน] น. ตึก ใช้ควบกันว่า ตึกกว้าน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่อยู่ซึ่งปลูกไว้คล้ายโรงนา พื้นอยู่กับดิน. [กฺว้าน] น. เครื่องสําหรับฉุดดึงและยกของหนัก. ก. ฉุดด้วยกว้าน, ขันกว้าน ก็เรียก; รวบรวมจากที่ต่าง ๆ มาไว้เป็นจํานวนมาก เช่น กว้านสินค้ามากักตุนไว้. [กฺว๊าน] (ถิ่น-พายัพ) น. บึง; น้ำตอนลึก, น้ำตอนที่ไหลวน. [กฺว้าว] ดู ขว้าว.[กฺวาว-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria candollei Grah. var. mirifica (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่ โคนต้นและตามราก ใช้ทํายาได้. [กะวิน] (โบ) ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งน้ำ). (ทมิฬ แปลว่า งาม). [กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
  36. กวาน, กว่าน : [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย).
  37. กะทันหัน : ว. ทันใด, ปัจจุบันทันด่วน, จวนแจ.
  38. กิดาการ : น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ. (ตะเลงพ่าย). (ป. กิตฺติ + อาการ).
  39. กุ ๑ : ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นโดยไม่มีมูล.
  40. เกริ่น ๑ : [เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนํา ในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิง ให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่นนกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
  41. เกรียวกราว : ว. เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, โดยปริยายหมายความว่า ที่รู้และพูดกันทั่วไป เช่น เป็นข่าวเกรียวกราว.
  42. ขาว ๒ : น. เทียนขาว. (ดู เทียนขาว ที่ เทียน๓).
  43. ข่าวสด : น. ข่าวใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น.
  44. ขุก ๑ : ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลําบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
  45. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  46. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  47. เข้าหู : ก. มาให้ได้ยิน (ใช้สําหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้ เข้าหูฉันบ่อย ๆ. ว. น่าฟัง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดไม่เข้าหู.
  48. ไข ๒ : ก. กวดสิ่งที่ยังหลวมอยู่ให้แน่นหรือทําสิ่งที่แน่นอยู่ให้หลวม เช่น ไข ตะปูควง ไขนอต, หมุน เช่น ไขลาน ไขกระจก; บอก, อธิบาย, ขยาย, เช่น ไขความ ไขข่าว ไขปัญหา.
  49. คลายคล้าย, คล้ายคล้าย : ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลาย จระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลําดับ).
  50. คาบ ๒ : ก. เอาปากหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างปากงับหนีบไว้, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คาบข่าวไปบอก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-838

(0.1858 sec)