Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้อความ , then ขอความ, ข้อความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้อความ, 174 found, display 1-50
  1. ข้อความ : น. เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง.
  2. ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
  3. การสื่อสาร : น. วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือเป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีก สถานที่หนึ่ง.
  4. กิจจา : [กิด-] (กลอน) น. เรื่องราว, ข้อความ.
  5. ขึ้นชื่อว่า : ใช้เป็นคําประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้น ข้อความ เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
  6. เขิน ๓, เขิน ๆ : ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความ ตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
  7. บกพร่อง : ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความ บกพร่อง, หย่อนความสามารถ เช่น ทํางานบกพร่อง.
  8. เยิ่นเย้อ : ว. ยืดยาด, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, (โดยมากใช้แก่คําพูดหรือ ข้อความ) เช่น พูดจาเยิ่นเย้อ ข้อความเยิ่นเย้อ.
  9. เว้นวรรค : ก. เว้นช่วงของคำ ข้อความ หรือประโยคเป็นระยะ ๆ.
  10. ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
  11. สอบทาน : ก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับ หรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น.
  12. หมายเหตุ : น. คำอธิบาย ข้อความ หรือข้อมูลเพิ่มเติม.
  13. หัวต่อ : น. ที่ซึ่ง ๒ ส่วนมาติดกัน, ระยะตรงที่เวลา ข้อความ หรือเหตุการณ์ ติดเนื่องกัน.
  14. กระโตกกระตาก : ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง.
  15. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  16. กระทู้ ๑ : น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลาย เป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็น เค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
  17. กระทู้ ๒ : น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ เป็นหนังสือ. (อ. question).
  18. กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
  19. กระแสพระราชดำรัส : [-ราดชะ-] (ราชา) น. ข้อความที่พระเจ้า แผ่นดินตรัส.
  20. กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
  21. กลอนสด : น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบัน โดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
  22. กลอนสวด : น. กลอนที่อ่านเป็นทํานองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่ง มักเป็นเรื่องในศาสนา.
  23. ก็แหละ : นิ. คําขึ้นต้นใหม่ต่อข้อความเดิม เช่น ก็แหละการที่ บุคคลจะมีความเจริญได้นั้น จะต้องมีคุณธรรม.
  24. กัณฑ์ : [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
  25. กิตติกรรมประกาศ : น. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและ แสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements).
  26. กุญแจรหัส : น. กุญแจที่ใช้ระบบสัญลักษณ์; สมุดประมวลรหัส เพื่อใช้เข้ารหัสและถอดรหัส บรรจุข้อความที่เข้ารหัสไว้ด้านหนึ่ง และข้อความที่ถอดรหัสแล้วไว้อีกด้านหนึ่ง.
  27. เกษียน : [กะเสียน] น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคําสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน. ก. เขียน. ว. เล็กน้อย. (แผลงมาจาก เขียน).
  28. เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
  29. ขมวด : [ขะหฺมวด] ก. บิดม้วนแล้วขอดให้เป็นปม, โดยปริยายหมายความว่า ย่นย่อข้อความทิ้งท้ายไว้ให้คิด. น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวด อย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด.
  30. ข้อกฎหมาย : (กฎ) น. ข้อความที่เกี่ยวกับการใช้บังคับหรือการตีความกฎหมาย.
  31. ข้อกำหนด : น. ข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติหรือดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  32. ข้อคัดย่อ : น. ข้อความที่ย่อแต่ใจความสําคัญ, บทคัดย่อ ก็ว่า. (อ. abstract).
  33. ข้อเท็จจริง : น. ข้อความหรือเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริง; (กฎ) ข้อความหรือเหตุการณ์ที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นจริง (แตกต่างกับ ข้อกฎหมาย).
  34. ข้อยกเว้น : น. ข้อความที่ไม่เกี่ยวด้วยเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์เป็นต้น ที่กำหนดไว้.
  35. ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ : (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบ ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อน เจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้น ก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
  36. ข่าวสาร : น. ข้อความที่ส่งมาให้รู้เรื่องกัน.
  37. ขำ ๒ : น. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกาย เข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).
  38. ขีดฆ่า : (กฎ) ก. ขีดเส้นตัดข้อความในเอกสารออกและลงลายมือ ชื่อกำกับเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อความนั้น; ตามประมวล รัษฎากร หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยขีด เส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าไว้ด้วย.
  39. เข้ารหัส : ก. เปลี่ยนสารธรรมดาให้เป็นสารลับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตําแหน่งอักษร ของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทนซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้กุญแจรหัสเท่านั้น.
  40. ควง : ก. แกว่งหรือทําให้หมุนไปโดยรอบ เช่น ควงกระบอง ควงดาบ ควงจาน, เดินเข้าคู่คลอเคลียกันไป เรียกว่า เดินควงกัน; รวมหรือโยงเข้าในกลุ่ม เดียวกัน เช่น เครื่องหมายปีกกาใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัด เข้าด้วยกัน; โดยปริยายหมายถึงคบหาสนิทสนมในเชิงคู่รัก เช่น คู่นี้ควงกัน มาหลายปีแล้ว; เข้าคู่ไปด้วยกัน เช่น ควงกันไปเที่ยว. น. เรียกตะปูที่มีเกลียวว่า ตะปูควง, เรียกเครื่องมือที่ใช้ไขตะปูควงว่า ไขควง; เครื่องมือสำหรับอัด ใบลานเป็นต้นให้แน่น; บริเวณ เช่น ในควงไม้ศรีมหาโพธิ์.
  41. คัด ๑ : ก. เลือก, แยกสิ่งที่รวมกันอยู่, เช่น คัดออก คัดเอาไว้, งัดให้เผยอหรือ เคลื่อนที่ เช่น คัดไม้ซุง, ใช้พายหรือแจวงัดนํ้าออกจากตัว, ตรงข้ามกับ วาดเรือ; ลอกข้อความหรือลวดลายออกมาจากต้นฉบับ เช่น เอาหนังสือนี้ ไปคัด. (อะหม คัด ว่า แยก, ทําให้แยก).
  42. คัดลายมือ : ก. ลอกข้อความออกมาเขียนด้วยตัวบรรจง.
  43. คัดสำเนา : ก. ลอกข้อความเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ.
  44. ค้าน : ก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้ง ไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทําลาย, เช่น เครื่องบนกระบาล ผุค้าน. (คําฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย).
  45. คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
  46. คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
  47. คู่ฉบับ : (กฎ) น. หนังสือหรือเอกสารที่ทําขึ้นเป็นต้นฉบับตั้งแต่ ๒ ฉบับขึ้นไป มีข้อความตรงกัน โดยฉบับหนึ่งเป็นคู่ฉบับของ อีกฉบับหนึ่ง.
  48. คู่ฉีก : (กฎ) น. ตั๋วแลกเงินเป็นสํารับ ซึ่งออกเป็น ๒ ฉบับหรือกว่านั้น มีข้อความตรงกันทุกฉบับ มีหมายเลขลําดับลงไว้ในตัวตราสารนั้นเอง และถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินฉบับเดียว.
  49. เครื่องหมายวรรคตอน : น. เครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในการ เขียนข้อความ เช่น จุลภาค (,) มหัพภาค (.) ปรัศนี (?).
  50. เคลือบคลุม : ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, ไม่ชัด, เช่น ข้อความเคลือบคลุม.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-174

(0.0581 sec)