Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คณ .

Eng-Thai Lexitron Dict : คณ, 1 found, display 1-1
  1. Faculty of Architecture : (N) ; คณสถาปัตยกรรมศาสตร์

Thai-Eng Lexitron Dict : คณ, not found

Royal Institute Thai-Thai Dict : คณ, more than 5 found, display 1-5
  1. คณ-, คณ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  2. คณนะ, คณนา : [คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).
  3. คณบดี : [คะนะบอดี] น. หัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยหรือในสถาบัน ที่เทียบเท่า. (ป., ส. คณ + ปติ).
  4. คณาจารย์ : [คะนาจาน] น. คณะอาจารย์. (ส. คณ + อาจารฺย).
  5. คณาจารย์ : ดู คณ-, คณะ.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : คณ, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : คณ, 7 found, display 1-7
  1. คณปูรกะ : ภิกษุผู้เป็นที่ควรจำนวน ในคณะนั้นๆ เช่น สังฆกรรมที่ต้องมีภิกษุ ๔ รูป หรือยิ่งขึ้นไป เป็นผู้ทำยังขาดอยู่เพียงจำนวนใดจำนวนหนึ่ง มีภิกษุอื่นมาสมบท ทำให้ครบองค์สงฆ์ ในสังฆกรรมนั้นๆ ภิกษุที่มาสมทบนั้น เรียกว่า คณปูรกะ
  2. คณญัตติกรรม : การประกาศให้สงฆ์ทราบแทนคณะคือพวกฝ่ายตน ได้แก่ การที่ภิกษุรูปหนึ่งในนามแห่งภิกษุฝ่ายหนึ่ง สวดประกาศขออนุมัติเป็นผู้แสดงแทนซึ่งอาบัติของฝ่ายตนและของตนเองด้วยติณวัตถารกวิธี (อีกฝ่ายหนึ่งก็พึงทำเหมือนกันอย่างนั้น) ; เป็นขั้นตอนหนึ่งแห่งการระงับอธิกรณ์ ด้วยติณวัตถารกวินัย
  3. คณโภชน์ : ฉันเป็นหมู่ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์ออกชื่อโภชนะ แล้วฉัน; อีกนัยหนึ่งว่า นั่งล้อมโภชนะฉัน หรือฉันเข้าวง
  4. จำพรรษา : อยู่ประจำวัด ๓ เดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น) หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง); วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา, วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา ; คำอธิษฐานพรรษา ว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ; ทุติยมฺปี อิมสฺมึ....; ตติยมฺปิ อิมสฺมึ....แปลว่า ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้ (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้) ; อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ ๑.เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒.จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ๓.ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ ๔.เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน (ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้วหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)
  5. ปลิโพธ : เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพระวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่ ๒.กุลปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก ๓.ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔.คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕.กรรมปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖.อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ ๗.ญาติปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘.อาพาธปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง ๙.คันถปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐.อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)
  6. สังฆอุโบสถ : อุโบสถของสงฆ์ คือ การทำอุโบสถของสงฆ์ที่ครบองค์กำหนด คือมีภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป สวดปาฏิโมกข์ได้ตามปกติ (ถ้ามีภิกษุอยู่ ๒-๓ รูป ต้องทำ คณอุโบสถ คือ อุโบสถของคณะ ซึ่งเป็น ปาริสุทธิอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยบอกความบริสุทธิ์ของกันและกัน ถ้ามีภิกษุรูปเดียว ต้องทำ บุคคลอุโบสถ คือ อุโบสถของบุคคลซึ่งเป็น อธิษฐานอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยการอธิษฐานกำหนดใจว่าวันนั้นเป็นวันอุโบสถ) ดู อุโบสถ
  7. อุโบสถ : 1) การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐานคือตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช เม อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ; อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ 2) การอยู่จำ, การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ 3) วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ 4) สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคารหรืออุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียกว่าโบสถ์

ETipitaka Pali-Thai Dict : คณ, more than 5 found, display 1-5
  1. คณ : (ปุ.) การนับ, การคำนวณ, หมวด, หมู่, ฝูง, พวก, ปนะชุม, หมู่แห่งภิกษุ, คณะ (กลุ่มชนกลุ่มหนึ่งๆ หรือแผนกหนึ่งๆของ มหาวิทยาลัย). วิ. คณียติ อวยเวน สหาติ คโณ. คณฺ สํขฺยาเณ, อ.
  2. คณปูรก : (วิ.) ผู้ยังหมู่ให้เต็ฒ, ผู้ยังหมู่ให้ครบ จำนวณ, ผู้ยังหมู่ให้ครบจำนวณตามกฏ.
  3. คณพนฺธน : นป. ความผูกพันกันเป็นหมู่, การร่วมมือกัน
  4. คณพนฺธิก : ค. ซึ่งพัวพันด้วยหมู่คณ
  5. คณโภชน : (นปุ.) โภชนะเป็นคณะ, การฉันเป็น หมู่. ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรับนิมนต์ ออกชื่อโภชนะ คือทายกทายิกา นิมนต์ โดยออกชื่ออาหาร เช่นกล่าวว่า นิมนต์ฉันแกงไก่ แล้วภิกษุไปฉัน เรียกว่าคณะโภชนะ (ฉันเป็นคณะ). โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๒ ไตร. ๒/๓๑๓.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : คณ, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : คณ, 3 found, display 1-3
  1. คุณ : คุโณ
  2. โค : โค, โคโณ, คาวี, อสุโภ, พลิวทฺโท
  3. โหร : เนมิตฺตโก, มุหุตฺติโก, คณโก

(0.0401 sec)