Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คราวเคราะห์, เคราะห์, คราว , then คราว, คราวคราห, คราวเคราะห์, คราวา, คราห, เคราะห์ .

Budhism Thai-Thai Dict : คราวเคราะห์, 61 found, display 1-50
  1. คราวใหญ่ : คราวที่ภิกษุอยู่มากด้วยกัน บิณฑบาตไม่พอฉัน (ฉันเป็นหมู่ได้ ไม่ต้องปาจิตตีย์)
  2. อเหตุกทิฏฐิ : ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)
  3. ยาม : คราว, เวลา, ส่วนแห่งวันคืน
  4. ยุค : คราว, สมัย
  5. ฤดู : คราว, สมัย, ส่วนของปีซึ่งแบ่งเป็น ๓ คราวขึ้นไป เช่น ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ดู มาตรา
  6. สมัย : คราว, เวลา; ลัทธิ; การประชุม; การตรัสรู้
  7. กาละ : เวลา, คราว, ครั้ง, หน
  8. ดาวเคราะห์ : ดู ดาวพระเคราะห์
  9. ดาวพระเคราะห์ : ในทางโหราศาสตร์ หมายถึงดาวทั้ง ๙ ที่เรียกว่า นพเคราะห์ คืออาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ; แต่ในทางดาราศาสตร์เรียก ดาวเคราะห์ หมายถึงดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๙ ดวง คือ พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ มฤตยู (ยูเรนัส) เกตุ หรือพระสมุทร (เนปจูน) พระยม (พลูโต)
  10. นพเคราะห์ : ดู ดาวพระเคราะห์
  11. สโมธานปริวาส : ปริวาสแบบประมวลเข้าด้วยกัน คือ ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต่างคราว มีจำนวนวันปิดต่างกันบ้าง ไม่ต่างบ้าง ปรารถนาจะออกจากอาบัตินั้น จึงอยู่ปริวาสโดยประมวลอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันจำแนกเป็น ๓ อย่างคือ ๑.โอธานสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่ง แต่ปิดไว้นานเท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาส ๕ วัน ๒.อัคฆสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งและปิดไว้นานไม่เท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว ปิดไว้ ๓ วัน ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกันอยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด (คือ ๗ วัน) ๓.มิสสกสโมธาน สำหรับอาบัติที่ต่างวัตถุกัน (เช่น กายสังสัคคะก็มี ทุฏฐุลลวาจาก็มี สัญจริตตะก็มี) มีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสรวมเป็นคราวเดียว
  12. อัคฆสโมธาน : การประมวลโดยค่า, เป็นชื่อปริวาสที่ภิกษุผู้ปวารณาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งต้องหลายคราว มีจำนวนวันปิดไม่เท่ากัน ประมวลอาบัติและวันเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว คราวหนึ่งปิดไว้ ๓ วัน คราวหนึ่งปิดไว้ ๕ วัน คราวหนึ่งปิดไว้ ๗ วัน อยู่ปริวาสเท่าจำนวนมากที่สุด คือ ๗ วัน ดู สโมธานปริวาส
  13. โอธานสโมธาน : ชื่อปริวาสประเภทสโมธานปริวาสอย่างหนึ่ง ใช้สำหรับอาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องหลายคราว แต่มีจำนวนวันที่ปิดไว้เท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ให้ขอปริวาสรวมอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันเพื่ออยู่เพียง ๕ วันเท่านั้น; (แต่ตามนัยอรรถกถาท่านแก้ว่า สำหรับอันตราบัติมีวันปิดที่ประมวลเข้ากับอาบัติเดิม) ดู สโมธานปริวาส
  14. จีวรการสมัย : คราวที่พระทำจีวร, เวลาที่กำลังทำจีวร
  15. เทศกาล : คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณี เพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษสงกรานต์ เข้าพรรษา สารท เป็นต้น
  16. ฤกษ์ : คราวหรือเวลาซึ่งถือว่าเหมาะเป็นชัยมงคล
  17. กาลทาน : ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้
  18. คัคคภิกษุ : ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล เคยเป็นบ้า และได้ต้องอาบัติหลายอย่างในระหว่างเวลานั้น ภายหลังหายเป็นบ้าแล้ว ได้มีผู้โจทว่า เธอต้องอาบัตินั้นๆ ในคราวที่เป็นบ้าไม่รู้จบ พระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วย อมูฬหวินัย เป็นครั้งแรก
  19. ฆฏิการพรหม : พระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวเสด็จออกบรรพชา (มติของพระอรรถกถาจารย์)
  20. โฆสิตาราม : ชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง เช่น คราวที่ภิกษุชาวโกสัมพีแตกกัน เป็นต้น
  21. จีวรกาลสมัย : สมัยหรือคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร; งวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่มิได้กรานกฐิน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึง เพ็ญเดือน ๑๒ (คือเดือนเดียว), อีกงวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่ได้กรานกฐินแล้ว ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ไปจนหมดฤดูหนาวคือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ (รวม ๕ เดือน)
  22. จูฬสุทธันตปริวาส : สุทธันตปริวาสอย่างเล็ก หมายความว่า ปริวาสที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกัน จำจำนวนอาบัติและวันที่ปิดได้บ้าง อยู่ปริวาสไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์
  23. ติสสเถระ : ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภายหลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย
  24. เทโวโรหณะ : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  25. ธรรมสังคาหกะ : พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ผู้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยในคราวปฐมสังคายนา
  26. บาลี : 1.“ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึก รักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ 2.คัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิมที่เป็นพระพุทธวจนะ อันพระสังคีติกาจารย์รวบรวมได้ คือ คัมภีร์พระไตรปิฎกที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนาพระพุทธพจน, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก
  27. เพลิงทิพย์ : ไฟเทวดา, ไฟที่เป็นของเทวดา, เพลิงคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
  28. โพธิ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  29. โพธิพฤกษ์ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  30. มหากัปปินะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจาแล้ว บังเกิดปีติศรัทธา สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง ๓๐๐ โยชน์มาเฝ้าพระพุทธเจ้า สดับธรรมกถา บรรลุพระอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท ส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน พระนาง ทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว รับบรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรีไปอยู่ในสำนักภิกษุณี ฝ่ายมหากัปปินเถระชอบอยู่สงบสงัดและมักอุทานว่า สุขจริงหนอ ท่านสามารถแสดงธรรมให้ศิษย์บรรลุอรหัตตผลได้พร้อมคราวเดียวถึง ๑,๐๐๐ องค์ พระบรมศาสดายกย่องท่านว่าท่านเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ
  31. มหาสุทธันตปริวาส : สุทธันตปริวาส ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกันจนจำจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ไม่ได้เลย อยู่ปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ โดยกะเอาตั้งแต่บวชมาถึงเวลาใดยังไม่เคยต้องสังฆาทิเสสเลยเป็นช่วงแรก แล้วถอยหลังจากปัจจุบันไปจนตลอดเวลาที่ไม่ได้ต้องอีกช่วงหนึ่ง กำหนดเอาระหว่างช่วงทั้ง ๒ นี้
  32. มหาอุทายี : พระเถระผู้ใหญ่องค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระญาติ จึงออกบวชและได้สำเร็จอรหัตตผล ท่านเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง มีเรื่องเกี่ยวกับการที่ท่านแสดงธรรมบ้าง สนทนาธรรมบ้าง ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง คราวหนึ่งพระอานนท์เห็นท่านนั่งแสดงธรรมอยู่ มีคฤหัสถ์ล้อมฟังอยู่เป็นชุมนุมใหญ่ จึงได้กราบทูลเล่าถวายพระพุทธเจ้า เป็นข้อปรารภให้พระองค์ทรงแสดง ธรรมเทศกธรรม หรือหรือองค์คุณของธรรมกถึก ๕ ประการ คือ ๑.แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ๒.อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓.มีจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๔.ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
  33. เมฆิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ คราวหนึ่ง ได้เห็นสวนมะม่วงริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา น่ารื่นรมย์ จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญที่นั่น พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟัง ท่านไปบำเพ็ญเพียร ถูกอกุศลวิตกต่างๆ รบกวนในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม ๕ ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุตติ เป็นต้น ที่พระศาสดาทรงแสดงจึงได้สำเร็จพระอรหัต
  34. ยัญ : การเซ่น, การบูชา, การบวงสรวงชนิดหนึ่งของพราหมณ์ เช่น ฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้าเพื่อให้ตนพ้นเคราะห์ร้าย เป็นต้น
  35. โยม : คำที่พระสงฆ์ใช้เรียกคฤหัสถ์ที่เป็นบิดามารดาของตน หรือที่เป็นผู้ใหญ่คราวบิดามารดา บางทีใช่ขยายออกไป เรียกผู้มีศรัทธา ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนา โดยทั่วไปก็มี; คำใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระสงฆ์; สรรพนามบุรุษที่ ๑ สำหรับบิดามารดาพูดกะพระสงฆ์ (บางทีผู้ใหญ่คราวบิดามารดา หรือ ผู้เกื้อกูลคุ้นเคยก็ใช้)
  36. รากขวัญ : ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า; ตำนานกล่าวว่า ในบรรดาพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น พระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก พระรากขวัญเบื้องซ้าย ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ (เจดีย์ที่ฆฏิการพรหมสร้างขึ้นไว้ก่อนแล้ว ให้เป็นที่บรรจุพระภูษาเครื่องทรงในฆราวาสที่พระโพธิสัตว์สละในคราวเสด็จออกบรรพชา) ณ พรหมโลก
  37. ราศรี : 1.ชื่อมาตราวัดจักรราศีคือ ๓๐ องศาเป็น ๑ ราศรี และ ๑๒ ราศรีเป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน) ; ราศี ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ (แกะ), พฤษภ (วัว), เมถุน (คนคู่), กรกฏ (ปู), สิงห์ (ราชสีห์), กันย์ (หญิงสาว) ตุล (คันชั่ง), พฤศจิก (แมลงป่อง), ธนู (ธนู), มกร (มังกร), กุมภ์ (หม้อน้ำ), มีน (ปลา ๒ ตัว) 2.อาการที่รุ่งเรือง, ลักษณะที่ดีงาม 3.กอง เชน บุญราศี ว่ากองบุญ
  38. ราหุล : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ คราวพระพุทธเจ้าเสด็จนครกบิลพัสดุ์ ราหุลกุมารเข้าเฝ้าทูลขอทายาทสมบัติตามคำแนะนำของพระมารดา พระพุทธเจ้าจะประทานอริยทรัพย์ จึงให้พระสารีบุตรบวชราหุลเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา อรรถกถาว่าพระราหุลปรินิพพานในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก่อนพุทธปรินิพพาน และก่อนการปรินิพพานของพระสารีบุตร
  39. วัตถุวิบัติ : วิบัติโดยวัตถุ คือ บุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสังฆกรรมเสีย ใช้ไม่ได้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้อุปสมบทอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือมีเรื่องที่เป็นความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดา หรือเป็นปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน หรือไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ หรือเป็นสตรีดังนี้เป็นต้น
  40. วัตถุสมบัติ : ความถึงพร้อมแห่งวัตถุ, ความสมบูรณ์โดยบุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำสังฆกรรมนั้นๆ มีคุณสมบัติถูกต้อง ทำให้สังฆกรรมใช้ได้ไม่บกพร่องในด้านนี้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้ขอบวชเป็นชายมีอายุครบ ๒๐ ปี ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอน ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเช่นฆ่าบิดามารดา ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก เช่น ปาราชิก เมื่อบวชคราวก่อน ดังนี้เป็นต้น
  41. วาระ : ครั้งคราว, เวลาที่กำหนดสำหรับผลัดเปลี่ยน
  42. วิสุทธิอุโบสถ : อุโบสถที่ประกอบด้วยความบริสุทธิ์ หรืออุโบสถที่ทำโดยที่ประชุมสงฆ์ซึ่งมีความบริสุทธิ์ หมายถึง การทำอุโบสถซึ่งที่ประชุมมีแต่พระอรหันต์ล้วนๆ เช่น กล่าวถึงการประชุมพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป คราวจาตุรงคสันนิบาต ว่าทำวิสุทธิอุโบสถ
  43. เวร : ความแค้นเคือง, ความปองร้ายกัน, ความแก้เผ็ด, ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย; ในภาษาไทยใช้อีกความหมายหนึ่งด้วยว่าคราว, รอบ, การผลักกันเป็นคราวๆ, ตรงกับ วาร หรือวาระ ในภาษาบาลี
  44. ศรีอารยเมตไตรย : พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๕ แห่งภัทรกัปนี้ ดู พระพุทธเจ้า
  45. ศิวาราตรี : พิธีลอยบาปของพราหมณ์ ทำในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นประจำปี วิธีทำคือ ลงอาบน้ำในแม่น้ำ สระเกล้า ชำระร่างกายให้สะอาดหมดจด เท่านี้ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้ว เป็นอันสิ้นบาปกันคราวหนึ่ง ถึงปีก็ทำใหม่ (คำสันสกฤตเดิมเป็นศิวราตริ แปลว่า ราตรีของพระศิวะ พจนานุกรมสันสกฤตว่า ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓)
  46. สมผุส : เป็นคำเฉพาะในโหราศาสตร์ หมายถึงการคำนวณชนิดหนึ่ง เกี่ยวกับโลกและดาวนพเคราะห์เล็งร่วมกัน และ ดู มัธยม
  47. สมานาสนิกะ : ผู้ร่วมอาสนะกัน หมายถึง ภิกษุผู้มีพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันแก่หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓ พรรษา นั่งร่วมอาสนะเสมอกันได้ เทียบ อสมานาสนิกะ
  48. สังฆการี : เจ้าหน้าที่ผู้ทำการสงฆ์, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง, เจ้าหน้าที่ผู้เป็นพนักงานในการพิธีสงฆ์ มีมาแต่โบราณสมัยอยุธยาสังกัดในกรมสังฆการี ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันกับกรมธรรมการเรียกรวมว่ากรมธรรมการสังฆการี เดิมเรียกว่า สังกะรีหรือสังการี เปลี่ยนเรียกสังฆการีในรัชกาลที่ ๔ ต่อมาเมื่อตั้งกระทรวงธรรมการใน พ.ศ.๒๔๓๒ กรมธรรมการสังฆการีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของกระทรวงนั้น จนถึง พ.ศ.๒๔๕๔ กรมสังฆการีจึงแยกเป็นกรมต่างหากกันกับกรมธรรมการ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๗๖ กรมสังฆการีถูกยุบลงเป็นกองสังกัดในกรมธรรมการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาอีกใน พ.ศ.๒๔๘๔ กรมธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมศาสนา และในคราวท้ายสุด พ.ศ.๒๕๑๕ กองสังฆการีได้ถูกยุบเลิกไป และมีกองศาสนูปถัมภ์ขึ้นมาแทน ปัจจุบันจึงไม่มีสังฆการี; บางสมัยสังฆการีมีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง มิใช่เป็นเพียงเจ้าพนักงานในราชพิธีเท่านั้น แต่ทำหน้าที่ชำระอธิกรณ์พิจารณาโทษแก่พระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทประพฤติผิดธรรมวินัยด้วย
  49. สาเกต : ชื่อมหานครแห่งหนึ่ง อยู่ในแคว้นโกศล ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์ ธนัญชัยเศรษฐี บิดาของนางวิสาขาได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้เข้าตั้งถิ่นฐานและสร้างขึ้น เมื่อคราวที่ท่านเศรษฐีอพยพจากเมืองราชคฤห์มาอยู่ในแคว้นโกศลตามคำเชิญชวนของพระองค์
  50. สาคละ : ชื่อนครหลวงของแคว้น มัททะ และต่อมาภายหลังพุทธกาลได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามิลินท์กษัตริย์นักปราชญ์ที่ได้โต้วาทะกับพระนาคเสน, ปัจจุบัน อยู่ในแคว้นปัญจาบ; แคว้นมัททะนั้นบางคราวถูกเข้าใจสับสนกับแคว้น มัจจะ ทำให้สาคละพลอยถูกเรียกเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัจฉะไปก็มี
  51. [1-50] | 51-61

(0.0296 sec)