Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คริสต์ศาสนา, คริสต์, ศาสนา , then ครสตศาสนา, คริสต์, คริสต์ศาสนา, ศาสน, ศาสนา, สาสนา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คริสต์ศาสนา, 266 found, display 1-50
  1. คริสต์ : [คฺริด] น. ชื่อหนึ่งของพระเยซู ผู้ตั้งศาสนาคริสต์.
  2. ศาสนจักร : [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
  3. ศาสนิกชน : น. บุคคลที่นับถือศาสนา เช่น ศาสนิกชนของ พระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธศาสนิกชน ศาสนิกชนของ คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสต์ศาสนิกชน.
  4. ศาสน, ศาสนา : [สาสะนะ, สาดสะนะ, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือ ของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).
  5. คริสต์ศาสนิกชน : น. ผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนา.
  6. คริสต์ศักราช : น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลัง พุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช).
  7. คริสต์ศตวรรษ : น. รอบ ๑๐๐ ปี นับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู.
  8. เข้าเงียบ : ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา.
  9. เข้ารีต : ว. เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น. น. เรียกผู้เปลี่ยนไปถือคริสต์ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิกว่า ผู้เข้ารีต เช่น ญวนเข้ารีต.
  10. คริสตัง : น. ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก.
  11. คริสเตียน : น. ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์.
  12. คอนแวนต์ : น. สํานักชีในคริสต์ศาสนา, เรียกโรงเรียนซึ่งชีในสํานักนั้น ๆ ตั้งขึ้น และเป็นผู้ดําเนินการสอนว่า โรงเรียนคอนแวนต์. (ฝ. convent).
  13. คาทอลิก : น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็น พระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวช เรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. (อ. Catholic, Roman Catholic).
  14. ชาว : น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรือ อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมี อาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง หรือ นับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
  15. ชีมืด : น. ชีในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ที่ปฏิญาณ ตนว่าจะบวชตลอดชีวิต ต้องอยู่แต่ในสํานักของตน จะออก ไปติดต่อกับบุคคลอื่นแม้แต่ญาติของตนก็ไม่ได้.
  16. ตรีเอกภาพ, ตรีเอกานุภาพ : น. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.
  17. นักบุญ : น. ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ, ผู้ที่ทําความดีไว้มากเมื่อตายแล้ว ได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้สําเร็จในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, ผู้ยินดีใน การบุญ.
  18. บาทหลวง : [บาดหฺลวง] น. นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก.
  19. โบสถ์ : น. สถานที่สําหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวด พระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลม เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคําว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
  20. โปรเตสแตนต์ : [โปฺร-] น. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา ไม่ยกย่องบูชาแม่พระ และนักบุญ ถือว่าศาสนิกชนทุกคนเป็นพระและเป็นตัวแทนของ พระเยซูเท่าเทียมกัน ไม่นิยมประดิษฐานรูปเคารพใด ๆ ไม่มีรูป พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน มีเฉพาะไม้กางเขนเท่านั้นเป็น สัญลักษณ์. (อ. Protestant).
  21. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  22. มิสซา : น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึง พระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทํา พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. (ล. missa; อ. mass).
  23. ไม้กางเขน : น. วัตถุเป็นรูปเหมือนคนยืนกางแขน (?)ทำด้วยไม้หรือโลหะ เป็นต้นเป็นเครื่องหมายคริสต์ศาสนา.
  24. เยซู : น. นามศาสดาของศาสนาคริสต์. (อ. Jesus).
  25. โรมันคาทอลิก : น. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา มีสันตะปาปาเป็นประมุข, นักบวช ในนิกายนี้ เรียกว่า บาทหลวง. (อ. Roman Catholic).
  26. ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
  27. สันตะปาปา : น. ผู้เป็นประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก, โป๊ป ก็เรียก.
  28. เอกอัครสมณทูต : [เอกอักคฺระ] น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปา ทรงแต่งตั้งไปประจําสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทน ทางการทูต รวมทั้งทําหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชน นิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับ เอกอัครราชทูต. (อ. nuncio).
  29. เลิกพระศาสนา : ก. ยกย่องพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง.
  30. สัตถุศาสนา : น. คําสั่งสอนของพระศาสดา คือพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศาสฺตฺฤ).
  31. ศาสนิกชน : ดู ศาสน, ศาสนา.
  32. ศาสนูปถัมภก : ดู ศาสน, ศาสนา.
  33. คตินิยม : น. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกัน ที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทาง ศาสนา คตินิยมทางการเมือง. (อ. ideology).
  34. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
  35. ชาติ ๒, ชาติ ๒ : [ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมือง ของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกันหรืออยู่ในปกครองรัฐบาล เดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.
  36. เทศน์, เทศนา : [เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทาง ศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์ เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
  37. มนุษยศาสตร์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทาง จิตใจและงานของคนมีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย+ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
  38. ล้างโลก : ก. ทำลายโลก เช่นสงครามล้างโลก; (ศาสนา) ทำให้โลก หมดความชั่วเช่น ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก.
  39. ศาสนกิจ : น. งานทางศาสนาที่ภิกษุสามเณรเป็นต้นปฏิบัติ เช่น การทำวัตรสวดมนต์และการเผยแผ่ศาสนาเป็นศาสนกิจของสงฆ์.
  40. ศาสนธรรม : น. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติ ตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.
  41. ศาสนบุคคล : น. นักบวชในศาสนา เช่น ภิกษุสามเณรเป็น ศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา.
  42. ศาสนพิธี : น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธี อุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา.
  43. ศาสนวัตถุ : น. วัตถุที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา มักเป็นสิ่งที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรูปเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา.
  44. ศาสนสถาน : น. สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็น ศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม.
  45. ศาสนสมบัติ : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาทั้งที่เป็นสังหา ริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มี ๒ อย่าง คือ ศาสนสมบัติกลาง และศาสนสมบัติของวัด.
  46. ศาสนศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยศาสนาต่าง ๆ.
  47. ศาสนสมบัติกลาง : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ ยุบเลิกวัดแล้ว.
  48. กมัณฑลุ : [กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกน้ำเต้า, เต้าน้ำ, หม้อน้ำ, ภาชนะใส่น้ำเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจําของนักบวชนอก พระพุทธศาสนา ทําด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะ ใส่น้ำ คือ เต้าน้ำ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
  49. กลอนสวด : น. กลอนที่อ่านเป็นทํานองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่ง มักเป็นเรื่องในศาสนา.
  50. กะดี : น. โรงที่ประชุมทําพิธีฝ่ายศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็น เช่น กะดีเจ้าเซ็นแขกเต้น ตีอก. (นิ. ประธม). (เทียบ ฮินดี คัดดี ว่า พระแท่น).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-266

(0.1298 sec)