Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสัมพันธ์, สัมพันธ์, ความ , then ความ, ความสมพนธ, ความสัมพันธ์, สมพนธ, สมฺพนฺธ, สัมพันธ์ .

Budhism Thai-Thai Dict : ความสัมพันธ์, 1081 found, display 1-50
  1. สัมพันธ์ ๑. : เกี่ยวข้อง, ผูกพัน, เนื่องกัน ๒.ในทางอักขรวิธีภาษาบาลี หมายถึงบทที่เชื่อมกับบทอื่น เช่น ตุณฺหสฺส หรือ ตุณฺหิสฺส (= ตุณฺหี + อสฺส)
  2. ความค้ำ : ในประโยคว่า เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน เดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน
  3. ความปรารถนา : ของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง ดู ทุลลภธรรม
  4. ความไม่ประมาท : ดู อัปปมาท
  5. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  6. โยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี
  7. อนัตตลักษณะ : ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
  8. อิทัปปัจจยตา : “ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย”, ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย, กฎที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ”, เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ
  9. กระแสความ : แนวความ
  10. อนุสนธิ : การติดต่อ, การสืบเนื่อง, ความ หรือเรื่องที่ติดต่อหรือสืบเนื่องกันมา
  11. กตเวทิตา : ความเป็นคนกตเวที, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน
  12. กตัญญุตา : ความเป็นคนกตัญญู, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน - gratitude; gratefulness; appreciation.
  13. กตัญญูกตเวทิตา : ความเป็นคนกตัญญูกตเวที - the quality of being a grateful person; gratitude; gratefulness.
  14. กรรมวาจาสมบัติ : ความสมบูรณ์แห่งกรรมวาจา, คำสวดประกาศถูกต้อง ใช้ได้
  15. กรรมสิทธิ์ : ความเป็นเจ้าของทรัพย์, สิทธิที่ได้ตามกฎหมาย
  16. กรุณา : ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์, ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของเขา ดู พรหมวิหาร -compassion, pity.
  17. กังขาวิตรณวิสุทธิ : ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิดนามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ
  18. กัตตุกัมยตาฉันทะ : ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว
  19. กัมมวิปากชา อาพาธา : ความเจ็บไข้ เกิดแต่วิบากของกรรม
  20. กัมมัญญตา : ความควรแก่การงาน, ภาวะที่ใช้การได้ หรือเหมาะแก่การใช้งาน, ความเหมาะงาน
  21. กัมมัสสกตาสัทธา : ความเชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดู สัทธา
  22. กัลยาณมิตตตา : ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว - good friendship; good company; association with the virtuous.
  23. กาม : ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กามมี ๒ คือ ๑.กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ ๒.วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕ - sense desire; desire; sensuality; an object of sensual enjoyment; sensual pleasures.
  24. กามฉันท์ : ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นิวรณ์ข้อ ๑) - sense desire; excitement of sensual pleasure.
  25. กามตัณหา : ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม เป็นอย่างหนึ่งในตัณหา ๓ - sense craving; craving for sensual pleasure.
  26. กามราคะ : ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม - sensual passion; sensual lust; sense-desire; sensuality.
  27. กามสมาจาร : ความประพฤติทางกาย
  28. กามสังวร : ความสำรวมในกาม, การรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลหมกมุ่นใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม) - sexual restraint.
  29. กามุปาทาน : ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด
  30. กาเมสุมิจฉาจาร : ความประพฤติผิดในกิเลสกาทั้งหลาย, ความผิดประเวณี
  31. กายกัมมัญญตา : ความควรแก่การงานแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้อยู่ในภาวะที่จะทำงานได้ดี (ข้อ ๑๔ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  32. กายปัสสัทธิ : ความสงบรำงับแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้สงบเย็น (ข้อ ๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  33. กายปาคุญญตา : ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือ เจตสิกทั้งหลายให้แคล่วคล่องว่องไว รวดเร็ว (ข้อ ๑๖ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  34. กายมุทุตา : ความอ่อนโยนแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๒ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  35. กายลหุตา : ความเบาแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกาย คือ กองเจตสิกให้เบา (ข้อ ๑๐ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  36. กายวิญญัติ : ความเคลื่อนไหวร่างกายให้รู้ความหมาย เช่น สั่นศีรษะ โบกมือ ขยิบตา ดีดนิ้ว เป็นต้น
  37. กายวิญญาณ : ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย, โผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น
  38. กายสังสัคคะ : ความเกี่ยวข้องด้วยกาย, การเคล้าคลึงร่างกาย, เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๒ ที่ว่าภิกษุมีความกำหนัดถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม, การจับต้องกายหญิงโดยมีจิตกำหนัด
  39. กายุชุกตา : ความซื่อตรงแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลายให้ซื่อตรง (ข้อ ๑๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  40. กาลัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา อันสมควรในการประกอบกิจนั้นๆ เช่น รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เป็นต้น (สัปปุริสธรรม ๗ ข้อ ๕)
  41. กิงกรณีเยสุ ทักขตา : ความเป็นผู้ขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุ สามเณร (นาถกรณธรรมข้อ ๕)
  42. กุกกุจจะ : ความรำคาญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งาม ที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ, ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่นว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง
  43. กุศลบุญจริยา : ความประพฤติที่เป็นบุญ เป็นกุศล, การทำความดีอย่างฉลาด
  44. กุศลวิตก : ความตริตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงามมี ๓ คือ ๑.เนกขัมมวิตก ความตรึกปลอดจากกาม ๒.อพยาบาทวิตก ความตรึกปลอดจากพยาบาท ๓.อวิหิงสาวิตก ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน
  45. โกธะ : ความโกรธ, เคือง, ขุ่นเคือง
  46. โกศล : ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ ๒.อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓.อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
  47. โกสัชชะ : ความเกียจคร้าน
  48. โกสัลละ : ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ ๒.อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓.อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
  49. ขณิกาปีติ : ความอิ่มใจชั่วขณะ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกเสียวแปลบๆ เป็นขณะๆ เหมือนฟ้าแลบ (ปีติ ๕ ข้อ ๒)
  50. ขมา : ความอดโทษ, การยกโทษให้
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1081

(0.0876 sec)